คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ศาลาการเปรียญ

วัดไผ่ล้อม

     วัดไผ่ล้อม ตั้งขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปีพ.ศ. 2222 ตั้งอยู่ที่ ตำบล(สิบต๊ะ) สวนดอกไม้ อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ส่วนหลักฐานด้านอื่นไม่มีผู้ใดได้จดบันทึกไว้

     ตามประวัติศาสตร์มนุษยชาติในช่วงนั้นยังไม่มีการจัดแบ่งอาณาเขตอย่างชัดเจน มีเพียงกลุ่มคนที่รวมตัวกันแล้วจัดตั้งเป็นเมืองโดยมีหัวหน้าเมืองเป็นผู้ดูแล เมืองที่แข็งแกร่งกว่า มีกำลังคนเยอะกว่าก็จะยกทัพไปตีเมืองที่อ่อนแอ และกวดต้อนผู้คนเมืองนั้นให้ภัคดีต่อตน เป็นการขยายอาณาเขต จากนั้นก็ตั้งตนเป็นเมืองหลวงมีศูนย์การปกครอง เช่น กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา จึงทำให้เกิดการอยู่ร่วมกันหลายชนเผ่า  และต่างก็นำประเพณี วัฒนธรรม ขึ้นมากำหนดเพื่อให้ได้ปฏิบัติร่วมกัน เช่นผู้ที่นับถือพุทธศาสนาก็จะพากันจัดตั้งสำนักสงฆ์เพื่อที่ได้ปฏิบัติศาสนกิจตามหลักธรรมของพุทธศาสนา  ด้วยเหตุดังที่กล่าวมาพอจะเป็นหลักฐาน กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งวัดไผ่ล้อมได้พอสมควร ภายในวัดประกอบไปด้วย ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารไม้ขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นด้วยไม้และคอนกรีต ภายในเป็นโถงโล่งใช้สำหรับประกอบศาสนกิจ มีทางเข้าออกทางเดียว มีการเจาะช่องประตูและติดประตูเหล็กดัด ผนังโดยรอบบุด้วยแผ่นไม้กระดานครึ่งหนึ่งถัดขึ้นไปเป็นซี่ลูกกรงเหล็กตลอดความยาวผนัง หลังคาเป็นทรงจั่ว 3 ชั้นมุงด้วยกระเบื้องดินเผา หน้าบันประดับด้วยไม้แผ่นเรียบๆไม่มีการตกแต่งใดๆ   หอสวดมนต์สร้างด้วยไม้สัก กุฏิสงฆ์ อีก 5 หลังเป็นอาคารไม้เช่นกัน  และยังมีหอระฆังและวิหารอุโบสถ ต่อมามีการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระประธานในอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ท่านใดได้เวะเวียนไปอย่าลืมไปสักการะขอพร หลวงพ่อพุทธมงคลชัยศิริโชค หลวงปู่ปฐม และพระพุทธรูป(โลหะตัน)เก่าแก่ของทางวัดไผ่ล้อม เสาไห้ สระบุรี ที่ยังคงสภาพสมบูรณ์

     ภายในวิหารยังพบตู้พระธรรมลายรดน้ำหลายตู้ซึ่ง‘‘ลายรดน้ำ" เป็นงานหัตถศิลป์ชั้นสูงอย่างหนึ่งของไทย จัดอยู่ในงาน "ช่างรัก" อันเป็นสาขาหนึ่งของช่างสิบหมู่ ลักษณะของลายรดน้ำเป็นการทำลวดลายหรือภาพปิดด้วยแผ่นทองคำเปลวบนพื้นรักสีดำหรือสีแดง สำหรับตกแต่งสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ หนังหรือไม้ไผ่สาน เป็นต้น มีตั้งแต่ภาชนะขนาดเล็ก เช่น กล่อง กรอบรูป สมุก หมวก โล่ ฯลฯ และขนาดใหญ่ เช่น หีบ โต๊ะ ตู้ ฯลฯ ศิลปะลายรดน้ำของไทยเจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยอยุธยา สืบทอดต่อมาถึงสมัยธนบุรีและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประมาณช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 จนถึงกลางพุทธศตวรรษที่ 23

 จัดทำโดย Muse Mobile

3,226 views

0

แบ่งปัน