คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

จิตรกรรมฝาผนัง

วัดจันทบุรี

     วัดจันทบุรี ตั้งอยู่บนบึงโง้งใกล้แม่น้ำป่าสัก เป็นบึงขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายเกือกม้า ชาวบ้านจึงเรียกว่าบึงโง้ง อยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ซึ่งในบริเวณวัดเคยเป็นตัวเมืองสระบุรีเก่ามาก่อน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายอีสาน จึงย้ายที่ตั้งเมืองไปอยู่ตำบลปากเพรียวจนถึงปัจจุบัน  อุโบสถวัดจันทบุรี เป็นโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมศิลปากร และเป็นอุโบสถที่เก่าแก่สมัยรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 มีลักษณะรูปแบบก่ออิฐถือปูน หลังคาจั่วไม่มีช่อฟ้าใบระกา  หน้าบันลายปูนปั้นประดับเครื่องถ้วย ภายในอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงภาพพุทธประวัติ ชาดกต่างๆ เพื่อบอกเล่าคำสอนทางพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติตอนออกบวช มารผจญ ฯลฯ

     วัดจันทบุรี เป็นชื่อพ้องกับ “จันทบุรีศรีศัตนาค” หรือ นครเวียงจันทร์ และยังพ้องกับชื่อเจ้านายลาวคือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าจันทบุรี พระเจ้าลูกเธอในรัชกาลที่ 1 และเป็นพระอัครมเหสีในรัชกาลที่ 2 ประกอบกับการอพยพจากเวียงจันทร์เข้าสู่สระบุรี ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งสันนิฐานว่าเป็นวัดที่สร้างโดยผู้คนที่มาจากเวียงจันทร์

     ภายในวัดประกอบด้วยอุโบสถ ที่มีอายุเก่าแก่สร้างขึ้นแบบสถาปัตยกรรมไทยนิยมในรัชกาลที่ 3  ภายนอกหน้าบันก่อด้วยอิฐฉาบด้วยปูนมีลวดลายปูนปั้นรูปดอกไม้ มีพระพุทธปฏิมาปางสมาธิ ส่วนภายในประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพพุทธประวัติ ตอนมารผจญ ภาพทศชาติชาดก ประดับด้วยภาพม่านลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง ภาพลายหน้ากระดานทางนอนประจำยามก้ามปู ภาพลายดอกไม้ร่วง

     ภาพเทพชุมนุมนั่งประนมหัตถ์หันหน้าเข้าสักการะพระพุทธรูปประธาน และยังมีภาพวิถีชีวิตผู้คนมีการแต่งกาย คล้ายชาวลาวยวน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่กับกลุ่มลาวเวียงจันทร์ หากผู้ใดต้องการศึกษาเรื่องราวการอพยพย้ายถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์วัดแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในหลักฐานชิ้นสำคัญที่ถ่ายทอดผ่านจิตรกรรมฝาผนังได้อย่างงดงาม   

จัดทำโดย Muse Mobile

470 views

0

แบ่งปัน