คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ผาเสด็จ

พักในความทรงจำ

ผาเสด็จพัก...สถานีผาเสด็จในความทรงจำ

     ผาเสด็จ ถือได้ว่าเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ด้านคมนาคมทางบก ใน ร.5 เป็นอย่างมากพระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้กรมรถไฟดำเนินการก่อสร้างรถไฟต่อจากอยุธยาไปนครราชสีมา โดยเส้นทางนี้จะผ่านจังหวัดสระบุรี อำเภอแก่งคอย ถือได้ว่าเป็นเส้นทางเข้าสู่ภาคอีสานและเป็นทางรถไฟสายแรก โดยรถไฟสายแรกคือ สายพระมหานคร-นครราชสีมา

     เนื่องจากเส้นทางคมนาคมสมัยก่อนเป็นทางเดินเท้าในป่าทึบและคดเคี้ยว  ซึ่งใช้เวลานานในการเดินทาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงให้มีการสร้างทางรถไฟ ตัดผ่าเข้าดงพญาเย็นทะลุสู่ภาคอีสาน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เป็นภูเขาทำให้การก่อสร้างเกิดความยากลำบาก เนื่องจากมีภูเขาขวางกั้นการดำเนินงานจึงต้องทำการระเบิดภูเขาหลายแห่ง แต่มีภูเขาแห่งหนึ่งมีหินก้องใหญ่โตมหึมาที่วิศวกรชาวฝรั่งเศสพยายามจะระเบิดอยู่หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้นำตราแผ่นดินไปประทับลงโคนต้นไม้ใหญ่ ถือเป็นการเอาเคล็ด การระเบิดภูเขาจึงดำเนินต่อไปโดยไร้อุปสรรค ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2439 (รศ.115) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯโดยรถไฟจากที่ประทับแรมไปยังจุดสิ้นสุดทางรถไฟในขณะนั้น (คือบริเวณ ตำบลหินลับ) ทั้ง2 พระองค์เสด็จลงจากรถไฟและดำเนินต่อไปตามทางที่ยังสร้างไม่เสร็จ ข้ามลำห้วยอีก 2 แห่งจนไปถึงที่ที่มีศิลาใหญ่ พระองค์ทรงจารึกอักษรพระนาม จ.ป.ร.และ ส.ผ.หมายถึงพระนามสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี และลงเลข 115 ซึ่งเป็นปีที่พระองค์เสด็จ และได้พระราชทานนามศิลาแห่งนี้ว่า “ผาเสด็จพัก” 

 

     ผาเสด็จแห่งนี้มีจุดท่องเที่ยวสำคัญ 2 ส่วน คือบริเวณศาลหลวงพ่อผาเสด็จ อยู่ห่างจากสถานีรถไฟประมาณ 300 เมตรสามารถเข้าไปกราบสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล ถัดมาใกล้กันจะเป็นที่ตั้งของศาลาราชภักดี เป็นศาลาพักร้อนหลังใหญ่ตรงข้ามนั้นจะมีรถไฟจำลองให้นักท่องเที่ยวได้ถ่ายรูปบันทึกภาพความทรงจำ อีกส่วนคือบริเวณสถานีรถไฟขนาดใหญ่ซึ่งมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ไว้อย่างสวยงาม  นอกจากนี้ยังมีไฮไลท์ที่สำคัญ คือส่วนของศิลาหินก้องใหญ่ตั้งอยู่ริมทางรถไฟ เป็นที่ที่ ร.5 ทรงได้จารึกพระปรมาภิไธยไว้ที่หน้าผาแห่งนี้ เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่งที่พระองค์ทรงให้ความสนใจถึงการคมนาคมในสมัยก่อนจนได้มีการสร้างทางรถไฟ และพระองค์ได้เสด็จมาที่ผาแห่งนี้จึงถือว่าเป็นแลนมาร์คที่สำคัญของจังหวัดสระบุรีเลยก็ว่าได้

จัดทำโดย Muse Mobile

3,402 views

0

แบ่งปัน