คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

จิตรกรรมฝาผนัง

วัดหนองยาวสูง

     วัดหนองยาวสูงเป็นตั้งอยู่บนเขาเล็กๆ ตำบลหนองยาวสูง อำเภอเมือง เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการประกาศจัดตั้งวัดในปี พ.ศ. 2343 อุโบสถก่ออิฐถือปูนขนาดสามห้อง หลังคามุงกระเบื้องไม่มีชั้นลด ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์เป็นไม้จำหลักลงรักปิดทองประดับกระจก รูปทรงของพระอุโบสถและลักษณะจิตรกรรมฝาผนัง รวมทั้งรูปแบบ และเทคนิคการระบายสีในงานจิตรกรรม  สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในรัชกาลที่ 4 – 5  ภายในพระอุโบสถ มีจิตรกรรมไทยประเพณีสกุลชางหลวงเขียนด้วยสีฝุ่นเต็มพื้นที่  ตั้งแต่ขอบล่างของบานหน้าต่างขึ้นไปจนจรดเพดานทั้งสี่ด้าน

     สันนิษฐานว่าภาพเขียนน่าจะเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากปรากฏภาพสตรีในราชสํานักไว้ผมยาวประบ่าแบบยุโรป ภาพทหารแต่งกายแบบยุโรป ฯลฯการเขียนแบบ ผลักระยะใกล้ไกลแบบตะวันตก เช่นภาพของคนจะมีขนาดเล็กกว่าอาคารหน้าบันทิศด้านหน้าเป็นไม้จำหลักเป็นรูปพระอาทิตย์ทรงราชรถ ภายในวงกลมใต้ฉัตรเจ็ดชั้น ล้อมด้วยลายกระหนกประดับด้วยเครื่องลายคราม หน้าบันด้านหลังเป็นไม้จำหลักเป็นรูปพระจันทร์ล้อมด้วยลายกระหนก ประดับด้วยเครื่องลายคราม คล้ายกับหน้าบันวัดสุทัศน์เทพวราราม ผนังด้านหน้ามีประดูทางเข้าหนึ่งช่อง ด้านหลังเป็นผนังทึบ เขียนรูปพระพุทธเจ้าประทับยืนปางประทานอภัย ด้านข้างเป็นพระสาวกบานประตูหน้าต่างเป็นลายรดน้ำรูปวิถีชีวิตชาวบ้านและสัตว์

     ปัจจุบันภาพดังกล่าวค่อนข้างลบเลือนไปภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ที่มีรูปแบบและฝีมือคล้ายกับวัดหนองโนเหนือ จนเชื่อได้ว่าเป็นช่างกลุ่มเดียวกัน เพียงแต่ที่นี่ยังคงสภาพที่สมบูรณ์กว่า ผนังด้านตรงข้ามพระประธานเขียนภาพมารผจญ ด้านล่างซ้ายเป็นนารีผล ด้านล่างขวาเป็นต้นกัลป์ประพฤกษ์ผนังด้านขวาของพระประธานเขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดก ตั้งแต่กัณฑ์ทศพรจนถึงกัณฑ์ชูชก ด้านล่างระหว่างหน้าต่างเขียนภาพฝนแก้วเจ็ดประการ พระรามฆ่าทศกัณฑ์ และเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์  ผนังด้านซ้ายของพระประธานเขียนเรื่องพระเวสสันดรชาดก ตั้งแต่กัณฑ์กุมารถึงนครกัณฑ์ ด้านล่างระหว่างหน้าต่างเขียนภาพพระมาลัยเสด็จโปรดนรก เรื่องจันทโครพเหมือนวัดหนองโนเหนือ แต่สามารถที่จะเขียนได้ในไม่กี่ห้องภาพด้วยผนังนั้นมีขนาดใหญ่กว่า  ที่น่าสนใจก็คือการเขียนภาพให้เต็มพื้นที่ หรือที่เรียกว่าภาพกากปะปนไป สามารถที่จะบอกเล่าเรื่องราววิถีชิวิต การแต่งกาย และประเพณีของชาวยวน เช่นการคลอดบุตร การล่าสัตว์ การเกี้ยวพาราสี ข้าวของเครื่องใช้เมื่อครั้งในอดีตซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา ค่อยๆ แคะและค้นหาออกมาจากภาพหลักเพื่อเป็นสีสัน

จัดทำโดย  Muse Mobile

706 views

0

แบ่งปัน