คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดแก่งคอย

     จังหวัดสระบุรีไม่ได้มีเพียงป่าเขาลำเนาไพรอย่างที่ใคร ๆ เขาว่ากัน แต่ยังมีพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่สำคัญอยู่ไม่น้อยทีเดียว วันนี้ผู้เขียนนำเสนอวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่ซึ่งเคยเป็นพื้นที่ประสบภัยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มาแล้ว “วัดแก่งคอย” นั่นเองค่ะ แค่ชื่อวัดก็บ่งบอกถึงพิกัดได้ชัดเจนอยู่แล้ว วัดแก่งคอยตั้งอยู่ในชุมชนแก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรีค่ะ ว่ากันว่าแต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่า “วัดแร้งคอย” เนื่องมาจากสมัยที่ชาวบ้านเข้ามาบุกเบิกพื้นที่ทำกินในบริเวณนี้ใหม่ ๆ มีการตัดไม้ทำลายป่าไปไม่น้อย คงเหลือไว้แต่เพียงต้นไม้ใหญ่ไม่กี่ต้นริมแม่น้ำป่าสักด้านหลังวัด คาดว่าน่าจะเป็นต้นไม้ใหญ่มีอายุมากเป็นร้อยปี ชาวบ้านจึงไม่กล้าตัด  ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้กลายมาเป็นที่อยู่ของ อีแร้ง หรือนกอีแร้ง ที่มาคอยหาอาหารและอยู่อาศัยในบริเวณนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดแร้งคอย ต่อมาค่อยเปลี่ยนชื่อวัดตามชื่อชุมชนบริเวณนั้นเป็น “วัดแก่งคอย”            

     ภายในวัดมีสถานที่น่าสนใจหลายจุด เริ่มต้นที่ “อนุสาวรีย์ผู้ประสบภัยทางอากาศ สงครามโลกครั้งที่สอง” ที่ชาวบ้านในชุมชนสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงผู้วายชนม์ ในเหตุการณ์ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2488 เครื่องบินรบของกองทัพพันธมิตร B24 ทิ้งระเบิดที่แก่งคอยซึ่งมีทหารญี่ปุ่นมาตั้งฐานทัพอยู่ ส่งผลให้สถานที่ราชการ ตลาด วัด บ้านเรือนประชาชนเสียหาย มีชาวแก่งคอยและทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ญาติพี่น้องของผู้เสียชีวิตได้รวบรวมอัฐิของผู้เสียชีวิตมาไว้ภายในบริเวณวัดและได้ร่วมกันจัดสร้างอนุสาวรีย์ผู้ประสบภัยทางอากาศ สงครามโลกครั้งที่สองแห่งนี้ขึ้นโดยประชาชนชาวแก่งคอยได้ร่วมจัดพิธีรำลึกถึงผู้ประสบภัยทางอากาศ สงครามโลกครั้งที่ 2 ในวันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาถึงปัจจุบัน

     แท่นอนุสาวรีย์ฯจัดทำขึ้นด้วยฐานหินอ่อนสลักตัวอักษรบอกเล่าประวัติศาสตร์ในพื้นที่ ด้านบนติดตั้งลูกระเบิดปรมาณูที่ถูกทิ้งลงมาในคราวสงคราม ระเบิดลูกนี้เป็นระเบิดด้าน เมื่อเหตุการณ์สงบลงชาวบ้านจึงเก็บมารวบรวมไว้กับข้าวของอื่น ๆ จนได้นำมาสร้างเป็นอนุสาวรีย์ฯ ในที่สุด ซ้ายมือของอนุสาวรีย์ฯ มีแท่นหินอ่อนสลักตัวอักษรจีนโบราณ เป็นแท่นที่ระลึกถึงวิญญาณทหารญี่ปุ่น ชื่อว่านายซากุโร กายิโมโตะและคณะอีก 17 นาย ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์การทิ้งระเบิดดังกล่าว

     บริเวณรอบ ๆ มีการปูหญ้าจัดสวนสวยงาม ด้านหน้าอนุสาวรีย์เป็นโมเดลหัวรถไฟแบบเครื่องจักรไอน้ำเขียนข้างตัวรถว่า “ร.ฟ.ล.”  ฉากหลังเป็นงานศิลปะวาดรูปพื้นที่รางรถไฟในอำเภอแก่งคอยขณะที่ถูกทิ้งระเบิดลงมา กำแพงด้านหลังอนุสาวรีย์ฯก็มีงานศิลปะนูนต่ำสีเงิน ทำจำลองพื้นที่ชุมชน ตลาด วัด ฯ ในแก่งคอย 

     ถัดจากบริเวณอนุสาวรีย์ฯ เข้าไปทางด้านซ้ายมือมุ่งหน้าไปยังแม่น้ำป่าสักคือ พระธาตุเจดีย์ศรีป่าสัก เป็นเจดีย์องค์ใหญ่สีขาวตัดขอบทอง ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เปิดให้ประชาชนเข้าไปกราบสักการะได้ ผนังรอบ ๆ ภายในองค์เจดีย์มีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่อง พุทธชาดกและตำนานเทวดาต่าง ๆ สวยงามมากทีเดียว รอบ ๆ ระเบียงคดขององค์พระธาตุเจดีย์ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายปางประจำวันเกิดเรียงรายกันโดยจะมีโอ่งใส่น้ำพร้อมแก้วใบเล็กวางไว้ข้าง ๆ พระพุทธรูปประจำวันเกิดทุกองค์เพื่อให้ประชาชนรดน้ำขอพร

     เบื้องหน้าขององค์พระธาตุเจดีย์เยื้องไปทางด้านซ้ายคือพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธไสยาสน์นิมิตมงคลมุนีศรีแก่งคอย เป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ลักษณะสมบูรณ์สวยงามมาก โดยพระพักตร์หันไปทางด้านแม่น้ำป่าสัก

     แนวเขตของวัดด้านหลังองค์พระธาตุเจดีย์ศรีป่าสักตลอดทั้งแนวเป็นริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก ซึ่งทางวัดได้จัดสร้างบันไดทางเดินลงไปยังชายฝั่งริมน้ำได้โดยสะดวก มีทางลงทั้งสองฝั่งซ้ายขวาขององค์พระธาตุเจดีย์ฯ บันไดฝั่งหนึ่งตกแต่งราวบันไดเป็นองค์พญานาคสององค์คู่กัน อีกฝั่งหนึ่งทำเป็นซุ้มไม้ “ต้นยางแร้งคอย” ตามตำนานที่มาของชื่อวัด บันไดทั้งสองฝั่งไปบรรจบกันที่ด้านล่าง จุดชมวิวคุ้งน้ำป่าสักซึ่งตลอดทั้งบริเวณนี้ถือเป็นเขตอภัยทาน

     วัดแก่งคอยถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญของประเทศไทย ซึ่งได้รับการดูแล การพัฒนาปรับปรุงจากทางวัดและชาวบ้านเป็นอย่างดีอยู่เสมอ เพื่อเป็นเกียรติแก่ชุมชนแก่งคอยและเพื่อรอคอยต้อนรับนักท่องเที่ยว นักแสวงบุญที่มาเยือนได้อย่างภาคภูมิ

              เรียบเรียงโดย

                                                                                                                                 นางสาวชลธิชา  ใจทา

22,839 views

0

แบ่งปัน