คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จ

พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสอุตรดิตถ์

          ในปี พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็น รัชกาลที่ 5 ของราชวงศ์จักรี ประชาชนถวายพระนามพระองค์ท่านอีกพระนามหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าหลวง  เมื่อขึ้นเสวยราชสมบัติแล้ว ทรงทํานุบํารุงประเทศในด้านต่างๆ เช่นเลิกทาสให้เปลี่ยนเป็นลูกจ้าง ทางด้านพุทธศาสนา ทรงเอาพระทัยใส่เป็นอย่างมาก ทรงสร้างพระอารามวัดเบญจมบพิตร เมื่อทรงสร้างพระอารามดังกล่าวเสร็จแล้ว ทรงคิดหาพระประธานไปไว้ในพระอุโบสถของวัดนี้ ทรงพอพระทัยพระพุทธชินราชเมืองพิษณุโลกมาก จึงโปรดเกล้า ฯ ใช้ช่างมาหล่อจําลองพระพุทธชินราชไปเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ในปี พ.ศ. 2443 เป็นปีที่เททองหล่อพระพุทธชินราชจําลองเมืองพิษณุโลก พระองค์ท่านได้เสด็จมาเมืองพิษณุโลกเพื่อกระทําพิธีเททอง หล่อพระพุทธรูปดังกล่าว เมื่อเสร็จพิธีเททองหล่อเสร็จแล้ว ได้ทรงมีพระราชประสงค์จะใคร่เสด็จ  หาดท่าอิฐ พระแท่นศิลาอาสน์ เมืองลับแล และวัดพระฝาง (คือวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ) เทศาภิบาลพิษณุโลกได้มีคําสั่งให้เมืองพิชัย อุตรดิตถ์เตรียมจัดพลับพลารับเสด็จ โดยเฉพาะที่อุตรดิตถ์นั้นได้เตรียมตั้งพลับพลารับเสด็จอย่างใหญ่โต ได้ตั้งพลับพลารับเสด็จที่โรงเรียนสตรีประจําจังหวัด (ปัจจุบันคือโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์) เวลานั้นเป็นป่า เป็นหนองน้ำ บรรดาราษฎรข้าราชการและพ่อค้าหาดท่าอิฐ ต่างช่วยกันถางป่า ถมหนองน้ำ การตั้งพลับพลารับเสด็จได้กระทําอย่างถาวร โดยเลื่อยไม้ทําเป็นมุขห้องโถงใหญ่ ห้องบรรทม มีรั้วกั้นอาณาเขต ภายในรั้วข้างพลับพลาทําเป็นสระน้ำ ปลูกบัว ปลูกดอกไม้ สระน้ำปล่อยปลาปล่อยเต่า เพื่อเป็น ที่สําราญของพระมเหสี สนมกํานัล และราชโอรสราชธิดา ตลอดถึงพระบรมวงศานุวงศ์ที่ตามเสด็จด้วย เวลานั้นทางจะไปลับแลมีหลวงศรีพนมมาศเป็นนายอําเภอลับแล ได้เกณฑ์ราษฎรแผ้วถางทางจนถึงอําเภอลับแล และจัดตั้งพลับพลารับเสด็จด้วย ทางไปพระแท่นศิลาอาสน์ มีการสร้างปะรํารับเสด็จชั่วคราวไว้

           พลับพลาใหญ่ที่ท่าโพธิ์ได้จัดทําแพน้ำเพื่อเทียบเรือพระที่นั่ง จากแพน้ำทําบันไดขึ้นจากท่าตลิ่งไปสู่พลับพลา สองฟากทางเดินประดับด้วยกระถางต้นไม้ ดอกไม้ ตั้งแต่แพเทียบเรือพระที่นั่งไปจนถึงพลับพลา

           วันที่พระองค์ท่านเสด็จถึงอุตรดิตถ์ ได้มีประชาชน ข้าราชการ พ่อค้า เฝ้ารอรับเสด็จอยู่ก่อนอย่างเนืองแน่น เพราะชาวอุตรดิตถ์ไม่เคยเห็นพระองค์ท่านเลย พลับพลารับเสด็จได้ประดับธงช้างเผือกดูสง่างามมาก ประชาชนเฝ้ารับเสด็จเนืองแน่นทั้งบริเวณทางเดินและตามริมน้ำ

           ขบวนเรือทหารเรือกลไฟแล่นเข้าเขตท่าโพธิ์ ได้เปิดหวูดดังกังวานเป็นสัญญาณของ เรือนำเรือพระที่นั่ง มีธงช้างเผือกปักที่เรือปลิวไสว ต่อจากนั้นเป็นเรือกลไฟพระที่นั่งทาสีขาวสะอาดแล่นมาตรงกลาง ถัดจากเรือพระที่นั่งเป็นเรือของพระมเหสี พระสนมและพระบรมวงศานุวงศ์ตามเสด็จ เรือพระที่นั่งได้เข้าเทียบแพนอันกว้างใหญ่ ประดับด้วยธงช้างเผือกมีพรมปูตั้งแต่แพจนถึงพลับพลา บรรดาทหารบกทหารเรือได้ตั้งแถวรับเสด็จ พระองค์ท่านได้เสด็จจาก เรือพระที่นั่งเสด็จขึ้นแพน้ำ เสด็จสู่พลับพลา ดําเนินผ่านโต๊ะบูชารับเสด็จ ผ่านพระสงฆ์สวดถวายชัยมงคล ผ่านข้าราชการ พ่อค้าประชาชนสองฟากทางเดินที่เสด็จ พระพักตร์ของพระองค์ท่านเบิกบานยิ้มละมัยที่ได้ทอดพระเนตรพสกนิกรของพระองค์ที่มาคอยรับเสด็จกันอย่างเนื่องแน่น พอเวลาพลบค่ำ พลับพลาที่ประทับสว่างไสวด้วยแสงโคมไฟ มีทหารยืนยามตามประตูรั้วเข้าพลับพลา ทหารมหาดเล็กยืนตามบันไดพลับพลา ประชาชนหลั่งไหลมาดูโคมไฟประดับพลับพลา

           ในวันรุ่งขึ้นเสด็จไปทอดพระเนตรตลาดหาดท่าอิฐ ตามถนนที่จะเสด็จพระราชดําเนิน ทอดพระเนตรตลาดท่าอิฐนั้นปูด้วยผ้าขาวและผ้าแดง ห้างร้านตลาดประดับด้วยธงช้างเผือกกับผ้าระบายหน้าร้านเขียนคําถวายพระพรให้ทรงพระเจริญ กับตั้งเครื่องบูชา ประชาชนชายหญิง รวมทั้งชาวจีนนั่งประนมมือชมบารมีรับเสด็จอย่างเนืองแน่น พระองค์ท่านทรงพอพระราชหฤทัย ชมตลาดหาดท่าอิฐ ทรงมีพระราชดํารัสว่า “ตลาดการค้าที่นี่ใหญ่โต มีห้างทําไม้ของฝรั่งหลายห้าง บ้านเมืองของราษฎรน่าดู สมควรตั้งเป็นเมือง เมื่อเสด็จชมทั่วหาดท่าอิฐแล้ว ได้เสด็จกลับพลับพลาที่ประทับ

           ในวันรุ่งขึ้นได้ทรงแจกเสมา จ.ป.ร. ให้แก่เด็กเล็ก ๆ ทั้งหญิงและชาย พระองค์ท่าน ทรงชอบเด็กเล็ก ๆ มาก มีผู้ปกครองเด็กเล็ก ๆ เป็นจํานวนมากได้พาลูกหลานของตนเพื่อรับแจกจากพระหัตถ์ของพระองค์ พระองค์ให้เด็กรับเอง คือทรงเอาเสมาผูกติดกับปลายไม้ ทรงแกว่งล่อเด็ก ๆ เด็กที่ฉลาดและว่องไวก็จะคว้าได้ก่อนเด็กคนอื่น พระองค์ทรงพระสรวลชมว่า เด็กนั้นฉลาดไหวพริบดี

          วันรุ่งขึ้นเสด็จไปประทับพลับพลาลับแลซึ่งหลวงศรีพนมมาศเป็นผู้จัดทํารับเสด็จ การรับเสด็จของหลวงศรีพนมมาศครั้งนั้นนับว่าทรงโปรดมาก คือหลวงศรีพนมมาศส่งให้ชาวลับแลไปเที่ยวดักจับกระจงมาขังไว้ เวลาถึงกําหนดเสวย ก็เอากระจงมาลาบเป็นอาหารถวาย พระองค์ได้ทรงเสวยลาบเนื้อกระจงของหลวงศรีพนมมาศ พอพระทัยว่ามีรสอร่อยดี จึงสั่งให้หลวงศรีพนมมาศเข้าเฝ้าและทรงถามว่า “เอาเนื้ออะไรมาปรุงอาหารให้ฉันกินวันนี้อร่อยดีมาก หลวงศรีพนมมาศก็กราบทูลว่า “เนื้อที่ลาบถวายใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทนั้นคือเนื้อกระจง ซึ่งชาวลับแลเรียกว่าก่าย” พระองค์ท่านทรงพระสรวลพอพระทัยมาก จึงให้จางวางขอจดตําราวิธีทําลาบเนื้อจากหลวงศรีพนมมาศ  พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรพื้นที่ของลับแล ทรงเห็นน้ำลำห้วย  ผลไม้มีมาก อากาศเย็นสบาย ทรงชมว่าลับแลเหมาะอย่างยิ่งเป็นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยผลไม้ หลัง จากเสด็จลับแลแล้วได้เสด็จต่อไปพระแท่นศิลาอาสน์โดยพาหนะช้างพระที่นั่ง ทรงนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์แล้วเสด็จกลับ และได้เลยเสด็จไปวัดพระฝางเพื่อทอดพระเนตรโบราณสถาน ในระหว่างทางที่จะถึงพระฝาง ได้มีหลวงอนุบาลเพณี จัดรับเสด็จที่ท่าน้ำวัดปากฝาง

          ขณะที่ประทับอยู่ ณ พลับพลาท่าโพธิ์ (บางโพ) เทศาภิบาลพิษณุโลกได้พาพวก ที่มีความดี ตั้งใจรับเสด็จอุทิศการเงินและเรี่ยวแรง คือ นายบุญมา ได้รับเลื่อนพระราชทานยศเป็นขุนพิเนตร์ ขุนพินิจได้รับพระราชทานยศเป็น หลวงพินิจ หลวงศรีพนมมาศ ได้รับพระราชทานยศเป็นพระศรีพนมมาศ และคนอื่น ๆ อีก นอกจากได้รับยศแล้วได้รับพระราชทาน เหรียญตรากันอีกมาก

          ในวันที่พระองค์ท่านเสด็จกลับ ได้มีพวกประชาชนรอเฝ้าส่งเสด็จอย่างเนืองแน่น ต่างนำสิ่งของมาถวาย เช่น มะพร้าวอ่อนทางลับแล ผลไม้ลับแล เวลาเสด็จลงเรือพระที่นั่งก็ทรงกล่าวลา แก่ประชาชน พ่อค้า ข้าราชการที่ยืนส่งเสด็จประชาชนได้กราบไหว้ด้วยความปลื้มปีติ และน้ำตาคลอด้วยรําลึกถึงพระองค์ท่าน แล้วเรือพระที่นั่งซึ่งปักธงประจําพระองค์ก็ค่อย ๆ เคลื่อนฝีจักรบ่ายหัวเรือล่องสู่ทางทิศใต้ และได้เปิดหวูดอันเป็นเครื่องหมายของพระองค์ท่านที่ได้จาก อุตรดิตถ์ พสกนิกรของพระองค์ได้มองขบวนเรือเสด็จไปจนลับสายตา

ขอบคุณภาพและเนื้อหา จาก

สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

https://www.gotoknow.org

2,413 views

0

แบ่งปัน