คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ปู่ตาพญาปาด

ปู่ตาพญาปาด

          พญาปาด เป็นผู้สร้างบ้านแปลงเมืองน้ำปาด ฟากท่า ซึ่งในปัจจุบันนี้ คือ อำเภอน้ำปาด และฟากท่า วัน เดือน ปีเกิด ของท่านผู้นี้ ไม่ปรากฏไว้เป็นหลักฐาน คงเป็นแต่เรื่องเล่าสืบทอดกันมา พญาปาด เป็นคนลาว อาศัยอยู่ที่นครเวียงจันทร์ เป็นเวลานาน มีประชาชนเคารพ รักใคร่ และนับถือมาก เมื่อการทำมาหากินที่เวียงจันทร์ เกิดอัตคัด ขัดสนขึ้น พญาปาด ได้ชักชวนพลเมืองส่วนหนึ่ง อพยพไปหาที่ทำกินใหม่ โดยอพยพมุ่งหน้ามาทางทิศตะวันตกของนครเวียงจันทร์ ได้เข้ามาปักหลักตั้งถิ่นฐาน ขึ้นใหม่ ที่ริมฝั่งแม่น้ำบ้านสองคอน(ปัจจุบันอยู่ในเขต อ.ฟากท่า จ.อุตรดิตถ์) ในระยะเวลาต่อมาผู้คนได้เพิ่มจำนวนขึ้นด้วย

          สำหรับศาลปู่ตาพญาปาดนั้น ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านฝาย หรือชื่อเดิม บ้านฝ้าย เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลบ้านฝาย อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์

            ตำนานกล่าวว่า บ้านฝายนั้นเป็นเมืองเก่า ตามคำกล่าวของย่าปล้อง เสาวภา เมื่อขณะท่านอายุได้ 95 ปี แต่ปัจจุบันนี้คุณย่าปล้อง ได้เสียชีวิตไปประมาณ 45 ปีแล้ว (พ.ศ. 2559) เพราะคุณย่าปล้อง เป็นผู้ดูแลรักษาสิ่งของๆ ท่านเจ้าพ่อพระยาปาดอยู่มาจนถึงลูกหลานของคุณย่าปล้องดูแลรักษาอยู่จนทุกวันนี้ ท่านย่าปล้องเล่าว่า เดิมทีบ้านฝายเป็นเมืองเก่า เพราะมีวัตถุโบราณของเก่าๆอยู่หลายต่อหลายอย่างอาทิ เช่น เครื่องทำโทษผู้กระทำผิดกฎหมาย ไม้หนีบขมับ ไม้จับตอกกกเล็บมือ แล้วมีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอยู่ 7 องค์ด้วยกัน พร้อมเครื่องทรงของท่านเจ้าพ่อพระยาปาดตอนออกรบอยู่ด้วย มีดาบ มีง้าว มีหมวกอยู่ครบชุด มีท่านพ่อพระยาปาดปกครองบ้านเมืองอยู่ในสมัยนั้น ไม่มีทุ่งนาล้อมรอบหมู่บ้านอย่างปัจจุบันนี้ ตอนนั้นเป็นหมู่บ้านเต็มไปหมด ชาวบ้านทำไร่ข้าวกัน (ทำไฮ้ข้าวเลื่อนลอย) ชาวบ้านต่างแยกย้ายกันออกไปตามพื้นที่ ๆ ที่อุดมสมบูรณ์ เช่น แยกออกไปอยู่หมู่บ้านใหม่ บ้านนากวางของปัจจุบันนี้แล้วแต่พื้นที่ที่เหมาะสม เพราะประชาชนหนาแน่นขึ้น ข้าวอยากหมากแพง และเสื้อผ้าก็ไม่มีนุ่งห่มกัน ท่านเจ้าพ่อพระยาปาดได้เข้าไปบ้านนาฝาย เมืองปากลาย (แขนงไชยบุรี) ประเทศลาวและได้เมล็ดฝ้ายมาแจกจ่ายให้กับประชาชนปลูกผสมกับไร่ข้าว (ทำไฮ้) เพราะไม่มีนาเหมือนทุกวันนี้ ได้ทำไร่ข้าวผสมฝ้ายเลื่อนลอย พอฝ้ายที่ปลูกผสมกับข้าวได้ประมาณ 120 วัน ก็จะมีปุยฝ้ายขาวเต็มไปพร้อมกับข้าว แล้วก็นำเอาฝ้ายมาเข็ญเป็นเส้นฝ้ายแล้วนำมาทำผ้าตัดเย็บด้วยมือเป็นซ้งเป็นเสื้อ (ซ้ง คือ กางเกง) สภาพพื้นที่ทำไร่กันนั้นเหมาะสมที่จะทำนาชาวบ้านก็มาขุดหลักขุดตอออกก็มาทำเป็นบิ้งนา และมาทำคันนบกันลำแม่น้ำปาด ลำห้วยแม่พังงาบ้างและลำห้วยอื่นๆอีกมากมายก็เลยเรียกว่า “ฝาย” กันลำน้ำเพื่อเอาน้ำมาทำนาไร่ข้าวและไร่ฝ้ายก็ค่อยๆหายไป เพราะไม่มีใครทำไร่ข้าวไร่ฝ้าย เพราะทำนาข้าวได้ดีกว่ากัน สุดท้ายมองไปทางไหนก็จะเห็นแต่เมืองฝายกันก็เลยเปลี่ยนจากบ้านฝ้ายมาเป็นบ้านฝาย จนทุกวันนี้

           ต่อมาในปี พ.ศ. 2313 พระเจ้าตากสินได้ปราบปรามรวบรวมหัวเมืองต่างๆ ได้ตั้งตัวเป็นใหญ่ขึ้นปกครอง หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก เช่น เมืองนครสวรรค์ พิษณุโลก ด่านซ้ายเมืองเลย เจ้าน่าน เจ้าแพร่ รวมทั้งเมืองพระยาปาด พระฝาง ไว้ได้หมดทุกหัวเมือง พ่อพระยาปาดท่าน เป็นคนใจบุญ ท่านได้สร้างวัดขึ้น 1 หลัง ในปี พ.ศ. 2325  พร้อมหอสวดมนต์และ สร้างศาลา ขึ้น 2 หลัง เพื่อให้ลูกหลานของชาวบ้านไป หัดอ่าน หัดเขียน เพื่อเป็นการเรียนไปในตัว คือ ให้พระในวัดเป็นคนสอนมาบวชเป็นสามเณร โดยมีคุณพ่อสุวิชชา คำบ้านฝาย เป็นผู้บริจาคที่ดินจำนวน 8 ไร่ 3 ตารางวา ให้กับทางวัดและทางวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2400 และท่านก็ได้ชื่อวัดว่า “ วัดศรีสะอาดโพธิ์ชัย ” เพราะบริเวณวัดมีแต่ต้นโพธิ์และต้นไชยใหญ่รอบบริเวณวัด และศาลา 2 หลังที่ให้ลูกหลานชาวบ้านมาหัดอ่าน หัดเขียน ก็เลยตั้งเป็นโรงเรียนคือ โรงเรียนวัดศรีสะอาดโพธิ์ชัย เพราะอยู่ในที่ดินแปลงเดียวกัน

          เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2325 พระมหากษัตริย์ศึกคือ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้จับพระเจ้าตากสินปลงพระชนม์ และได้จับเจ้าหัวเมืองต่างๆทุกๆหัวเมือง ในเวลาไล่เลี่ยกันมา

           เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2339 ในฤดูฝน ฝนตกอย่างหนักน้ำในลำแม่น้ำจะล้นฝั่งอยู่แล้ว ท่านพ่อพระยาปาดไปส่งสารที่ในเมืองไม่ได้ เพราะข้ามน้ำน่านไม่ได้ เจ้าเมืองพระฝางหาว่าท่านพ่อพระยาปาดแข้งข้อ แล้วแจ้งข่าวไปหาพระมหากษัตริย์ศึก พระมหากษัตริย์ศึกจึงสั่งจับพระยาปาด แต่ท่านพ่อพระยาปาดไม่ยอมหนีส่วนพระฝางได้หนีไปเลยหายสาบสูญ ส่วนเจ้าพระยาปาดไม่ยอมหนีและมีความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ต่อพระเจ้าตากสินตลอดมา จึงขอยอมตายเพื่อเกียรติยศและศักดิ์ศรีของนักรบ โดยไม่ยอมเป็นข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย ยอมให้ประหารชีวิตที่ริมลำแม่น้ำปาด ณ ที่หินสามเศร้า (ท่านา ) หน้าประตูเมืองของท่านเอง และศีรษะของท่านได้กระเด็นตกลงสู่ลำแม่น้ำปาดเหล่าทหารได้ลงไปงมหาหัวของท่าน แต่ก็ไม่มีใครพบส่วนภรรยาของท่านได้ไปเกณฑ์เอาชาวบ้านไปช่วยงมหาอยู่ 3 วัน 3 คืนด้วยกัน แต่ก็ไม่มีใครพบเจอเลยไปเจอก้อนหินกลมใหญ่อยู่ในวังน้ำกลางวังพอดีจนสุดท้ายศีรษะของท่านพ่อพระยาปาดก็หาไม่พบจนทุกวันนี้ สันนิษฐานกันว่า ท่านพระมหากษัตริย์ศึกคงจะเอาศีรษะของท่านเสียบประจานที่หน้าประตูเมืองของท่านเลยไม่ให้ใครพบเจอ และเดี๋ยวนี้ยังเรียกท่าน้ำวังว่า วังงม จนทุกวันนี้

          ปัจจุบันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ก่อนจะรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุชาวอำเภอน้ำปาดโดยเฉพาะตำบลบ้านฝาย ตำบลแสนตอ จะต้องร่วมพิธีสรงน้ำปู่ตาก่อน ซึ่งเชื่อว่าปู่ตาจะคุ้มครองลูกหลานทุกคนให้แคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง

ขอบคุณภาพและบทความจาก

th.wikipedia.org

facebook.com/ที่นี่ น้ำปาด

http://www.บ้านฝาย.com

4,694 views

0

แบ่งปัน