คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ตับเต่า

การละเล่นพื้นบ้าน ตับเต่า อ.น้ำปาด

การละเล่นพื้นบ้าน “ตับเต่า”

          ในอดีตการละเล่นตับเต่ามาจากการละเล่นพื้นเมือง เป็นการรําและร้องแก้กัน เช่น เพลงปรบไก่ เพลงพวงมาลัย แล้วภายหลังจับเป็นเรื่อง เป็นตอนขึ้น  เรื่องที่แสดงก็จะนํามาจากการใช้ชีวิตประจําวันหรือวิถีชีวิตของชาวบ้านชีวิตในครอบครัวที่ทุกคนรู้เห็นและเข้าใจดีอยู่แล้ว เช่น ชิงชู้ ลักพาหนี และตีหมากผัว ต่อมาก็มีการพัฒนาการละเล่น  โดยการนําเอารูปแบบของละครนอกมาใช้ประกอบเรื่องราว ร้องเกี้ยวพาราสีกัน แก้กัน ตามเรื่องที่แสดงก็กลายเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่แสดงถึง วัฒนธรรมประเพณีของชาวบ้าน

          ปัจจุบันมีการแสดงที่หมู่ ๔ ตําบลแสนตอ อําเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ หรือมีการติดต่อไปเล่นนอกสถานที่ การละเล่น ตับเต่า เป็นการแสดงพื้นบ้าน โดยเฉพาะสถานที่ทําการแสดง ค่อนข้างที่จะเรียบง่ายอุปกรณ์ทั้งหมดจะใช้จากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ ในท้องถิ่นเช่น  ไม้ไผ่  ทางมะพร้าว  ผ้าขาวม้า  ที่แสดงไม่มีการยกพื้น ปูด้วยฟากไม้ไผ่  หรือไม่ก็เสื่อลําแพน  ด้านกลางเวทีจะมีม้านั่งเล็กๆ พอที่จะให้ผู้แสดงนั่งได้ ๒ – ๓ คน หลังฉากทําจากทางมะพร้าว มีซุ้มประตู ๒ ด้าน ทําเหมือนฉากลิเกในปัจจุบัน ด้านหลังล้อมทางมะพร้าวทําเป็นคอกสูงพอเปลี่ยนเครื่องแต่งกายทั้ง ๔ ด้าน มีประตูออกด้านหลัง  ผู้ที่เตรียมตัวแสดงจะอยู่ในสถานที่นี้  บางครั้งจะทําหลังคาไว้กันฝนด้วย แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ทําถ้าฝนตกก็จะหยุดทําการเล่น    ฝนหยุดก็เล่นกันใหม่ สําหรับการแสดงไฟที่ใช้ประกอบด้วย จะใช้การจุดใต้ให้แสงสว่าง  การแสดงจะใช้เสียงแท้ของผู้แสดงต่อมาพัฒนามาใช้ตะเกียง เจ้าพายุ ซึ่งสามารถหาได้และทันสมัยที่สุดในเวลานั้น ทั้งนี้อาจจะเป็นลานวัด กลางหมู่บ้าน  การละเล่นตับเต่าสามารถแสดง ได้ทุกฤดูกาลขึ้นอยู่กับโอกาสและความพร้อมเพรียง

          การละเล่นตับเต่านิยมจัดการแสดงในงานเทศกาลต่างๆ ที่มีการจ้างให้เล่นในงานทําบุญต่างๆ เช่น งานบวช งานแต่งงาน งานครบรอบ ๑๐๐ วัน การยกเสาเอกสําหรับปลูกบ้าน เทศกาลเข้าพรรษา งานบุญสงกรานต์

          เดิมที่คําว่า “ตับเต่า” เราเรียกว่า “กลับเก่า” หมายความว่าเล่นกลับไปกลับมาในเรื่องเดิม ต่อมาก็เกิดเป็นการละเล่นขึ้น มีการนําเรื่องราวต่างๆ มาปรับเปลี่ยนเล่นในงานต่างๆ และก็เล่ากันต่อๆ มาคําว่า “กลับเก่า” ก็กลายเป็นคําว่า “ตับเต่า” มาจนถึง ปัจจุบันนี้ จากเรื่องเล่าให้ลูกหลานฟัง กลับกลายเป็นการนิยมชมชอบของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง เลยนํามาแสดงเป็นละครร้องสลับพูด และรําในลําดับต่อมา

 

ขอบคุณภาพและเนื้อหา จาก

สำนักวิทยบริการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

รายการวัยซน คนกล้าดี

1,349 views

0

แบ่งปัน