คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ตำนานเมืองทุ่งยั้ง

เมืองทุ่งยั้ง

           เมืองทุ่งยั้ง มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า กัมโพชนคร สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เพราะมีการปรากฏชื่อเมืองทุ่งยั้งในศิลาจารึกหลักที่ 38 วัดสระศรี สุโขทัย และเอกสารทางประวัติศาสตร์อีกหลายแห่ง หนึ่งในนั้นก็คือ พงศาวดารเหนือ ซึ่งกล่าวถึงเมืองทุ่งยั้งว่า บาธรรมราช ผู้ปกครองเมืองสวรรคโลก ได้สร้างเมืองทุ่งยั้งขึ้น เพื่อให้พระโอรสไปปกครอง และให้ชื่อว่า กัมโพชนคร

เมืองหน้าด่าน ลำน้ำน่านฝั่งตะวันตก

          สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงประทานความเห็นว่า เมืองทุ่งยั้ง น่าจะเป็นเมืองหน้าด่านทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำน่านในสมัยสุโขทัย เนื่องจากมีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นที่ราบ ติดต่อกับตัวเมืองอุตรดิตถ์ที่อยู่ริมแม่น้ำน่าน และภายหลังก็สันนิษฐานว่าเมืองทุ่งยั้งน่าจะหมดความสำคัญลงเนื่องจากทางน้ำในแม่น้ำน่านแปรปรวน กัดเซาะทำลายตลิ่งจนทำให้เมืองทุ่งยั้งไม่เหมาะสมที่จะเป็นเมืองหน้าด่านอีกต่อไป

คูเมือง กำแพงเมืองเก่า ของเมืองทุ่งยั้ง

            ปัจจุบันยังมีร่องรอยของคูเมือง กำแพงเมืองบางส่วน ซึ่งจากการสังเกตลักษณะทางกายภาพ ก็คาดว่าเมืองทุ่งยั้งมีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยดูจากแนวของกำแพงเมืองที่เป็นหินศิลาแลงที่อยู่ใกล้กับวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ทั้งนี้เมืองทุ่งยั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับเวียงเจ้าเงาะ ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นชุมชนสมัยแรกของอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ภายในเมืองทุ่งยั้งอีกที โดยภายในแหล่งโบราณคดีของเวียงเจ้าเงาะปรากฏทั้งบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ คันคูเมือง 3 ชั้น และโบราณวัตถุอีกมากมาย

คนโบราณอ้างเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองท้าวสามล

              คนรุ่นสมัยคุณปู่ คุณย่า คุณทวด คุณตา คุณยาย เหล่านี้ท่านปักใจเชื่ออย่างฝังจิตฝังใจว่าขนาดใหญ่สี่เหลี่ยม กำแพงล้อมรอบวิหารในวัดก็ก่อสร้างด้วยศิลาแลงตลอดแนว ซึ่งน่าเชื่อว่าได้สร้างมาก่อนพระร่วงเจ้าครองเมืองสุโขทัยเช่นเดียวกัน

             นอกจากที่กล่าวนี้ ทุ่งยั้งยังมีกำแพงเป็นเนินดิน และคูเมืองตามแนวกำแพงเป็นรูปโค้งวงกลมขนาดกว้างใหญ่ ซึ่งเวลานี้ยังมีปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง บางแห่งก็ถูกขุดถมจนหายไปหมดเคยมีผู้ขุดดินได้พบซากถ้วยชามแตกถูกทับถมจมดินอยู่มากมาย บางชิ้นก็เป็นกระเบื้องมุงหลังคา บ้างก็เป็นครกดินปั้น ซากของโบราณเหล่านี้ได้พบอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ของวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ห่างจากวัดบรมธาตุทุ่งยั้งไปทางทิศตะวันตกมีปูชนียสถานสำคัญทางพุทธศาสนา คือ พระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งมีงานเทศกาลประจำปีกลางเดือน ๓ ติดต่อกันตลอดมาทุกปี

               เรื่องเจ้าเงาะรจนาและท้าวสามล ก็คือเมืองทุ่งยั้งแห่งนี้ แม้จะมีผู้ใดมาอ้างว่าเป็นเรื่องไม่จริง ท่านจะไม่ยอมเด็ดขาด จะต้องเถียงจนสุดฤทธิ์ใครจะมาอ้างหลักฐาน เรื่องสังข์ทองท้าวสามลดังกล่าวนั้น เป็นบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๒ พระองค์ท่าน ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อเข้ารับราชการสำนักฝ่ายในทั้งชายและหญิงให้แสดงละครรำแก้ความรำคาญใจเมื่อว่างจากงานเพื่อป้องกังไม่ให้ออกมา เดินเล่นตามใจนอกเขตพระราชฐานและทรงเห็นเป็นศิลปะในการร่ายรำอันเป็นเอกลักษณ์ของไทย ชั้นเยี่ยมมาแต่โบราณกาล พระองค์จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นดังกล่าว

           แต่ท่านผู้เฒ่าผู้แก่ดังกล่าวนั้นท่านจะเถียงชนิดไม่ยอมแพ้และไม่ยอมเชื่อตามที่กล่าวอย่างเด็ดขาด มิหนำซ้ำกลับตะเพิดดุผู้ไปพูดให้ฟังอย่างนั้นเสียอีก ท่านเถียงว่าท่านเกิดมาก่อน อาบน้ำร้อนมาก่อน คนที่เกิดทีหลังจะรู้ดีกว่าท่านได้อย่างไรพวกเด็กวานซืนจะมาทำเป็นรู้ดีกว่าผู้ใหญ่หัวหงอกเป็นไปไม่ได้จะอวดดีเกินไปซะแล้ว ท่านผู้เฒ่าเหล่านั้นท่านอ้างเหตุที่มาของเรื่องอย่างมั่นอกมั่นใจว่าทุ่งยั้งนี้แหล่ะคือเมืองท้าวสามลจริง ๆ ท้าวสามลกับนางมณฑาไม่มีลูกผู้ชายสืบตระกูล มีแต่ผู้หญิงถึง ๗ คน ลูกผู้หญิงเมื่อโตเป็นสาว แล้วก็ไม่มีใครมาขอแต่งงานด้วย ท้าวสามลคิดว่า เมื่อตัวแก่เฒ่าลงก็จะตายเสียก่อนที่จะได้อยู่แต่งงานลูกสาวจึงตัดสินใจให้ประกาศไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในการปกครองของตน ว่าเมืองใดมีลูกชายเป็นหนุ่มแล้วที่ยังไม่มีเมียและอายุอยู่ในเกณฑ์ ๓๐ ปี ให้แต่งตัวเข้ามาในเมืองของเรา เพื่อให้ลูกสาวทั้งเจ็ดคนเลือกคู่ โดยโยนพวงมาลัยให้คนที่ชอบใจและลูกสาวท้าวสามลได้เลือกคู่ครองได้ทั้ง ๖ คนเหลืออีก คนเดียวคือรจนาที่มีชายหนุ่มรูปงามให้เลือกถึง ๒ ครั้ง ก็ยังไม่ชอบใจใครสักคนเดียวในที่สุดเทพยาดาก็ดลใจให้นางเห็นรูปทองในร่างของเจ้าเงาะป่า นางรจนาจึงโยนพวงมาลัยให้เจ้าเงาะ ทำให้ท้าวสามลโกรธมาก ขับไล่ให้ออกไปอยู่กับเจ้าเงาะที่กระท่อมปลายนาและคิดกลอุบายจะฆ่าเจ้าเงาะหลายครั้งหลายหนแต่ทำไม่สำเร็จ   ในที่สุดต้องร้อนถึงพระอินทร์ให้ช่วยนางรจนา โดยการแปลงตัวลงมาท้าวสามลตีคลีพนันเอาเมืองกัน และหกเขยก็ต้องออกสู้แต่ก็แพ้ทุกคนจึงต้องให้นางมณฑาออกไปง้อเจ้าเงาะ นางรจนาก็ช่วยอ้อนวอนจนเจ้าเงาะถอดรูปมาตีคลี พระอินทร์ก็แกล้งทำเป็นแพ้หนีไป  ท่านผู้เฒ่าเหล่านั้นยังอ้างหลักฐานประกอบอีกด้วยว่า ที่เห็นเป็นหลุมข้างวัดพระบรมธาตุด้านทิศตะวันตกนั้นคือ หลุมคลี ที่มีมากมายแต่ปัจจุบันนี้หลุมคลี หายไปหมดแล้ว ทางวัดได้สร้างเมรุเผาศพไว้ในบริเวณดังกล่าวนี้ พร้อมศาลาบำเพ็ญกุศลงานศพ สถานที่จึงเตรียมโล่งไปและมีต้นโพธิ์ โพธิ์ขึ้นอยู่ในตัวเมืองเก่า ท่านก็ว่าเป็น โพธิ์เจ้าเงาะ ที่ตัวเมืองเก่าท่านก็ว่าเป็น เวียงเจ้าเงาะ เดี๋ยวนี้บริเวณเวียงเจ้าเงาะเคยมีการปรับปรุงพัฒนาเพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดภายในบริเวณนี้มีบ่อน้ำอยู่บ่อหนึ่งเชื่อกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่เป็นบ่อศิลาแลงรูปวงกลมมีน้ำตลอดปีไม่มีแห้งน้ำใสมาก  ใกล้ ๆ กับหลุมคลีเหล่านั้นมีสระน้ำอยู่แห่งหนึ่งเรียกกันว่า สระเจ็ดนาง สำหรับลูกสาวท้าวสามลทั้งเจ็ดคนไปอาบน้ำ เล่นน้ำกันแต่เดี๋ยวนี้ถูกถมจนเต็มหายไปหมดแล้ว พวกผู้เฒ่าท่านอ้างของท่านด้วยความเชื่ออย่างมั่นใจของท่านอย่างที่กล่าวมา

 

ขอบคุณภาพและเนื้อหา จาก

http://www.utdid.com

https://www.gotoknow.org

https://travel.kapook.com

6,967 views

0

แบ่งปัน