คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

แห่ข้าวพันก้อน

ประเพณีอยู่วัดแห่ข้าวพันก้อน

           การอยู่วัดเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวตําบลบ้านโคกที่ทําติดต่อกันมานานต้นแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ทวด แล้วเป็นประเพณีที่ได้มาจากชาวหลวงพระบางและเวียงจันทร์ บรรพบุรุษของชาวตําบลบ้านโคก การอยู่วัดแห่ข้าวพันก้อนจะทํากันในช่วงสงกรานต์ไปแล้วจนหมดเดือน ๕ การอยู่วัด เป็นการไปร่วมทําบุญโดยการ ไปตระเตรียมอาหารคาวหวาน และจตุปัจจัยที่วัดในตอนกลางคืน แล้วเกิดจากความเชื่อที่ว่า หากนําเอาข้าวพันก้อนไปบูชาพระพุทธรูป ซึ่งเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าจะทําให้ต้นข้าวออกมางอกงามได้ผลผลิตดี รวงข้าวมีเมล็ดเต็มรวง ประดุจดั่งต้นข้าวพันก้อนที่มีข้าวอยู่เต็มต้น

           การอยู่วัดจะเริ่มขึ้นเมื่อการแห่ต้นดอกไม้ไปบูชาพระและฟังเทศน์ ฟังธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นผู้ที่อยู่วัด ส่วนมากมักจะเป็นคนหนุ่มสาวจะนัดหมายกันว่าจะมีการอยู่วัด แล้วจะกลับไปตระเตรียม สิ่งของเครื่องใช้ที่จําเป็น เช่น เตาไฟ หม้อข้าว หม้อแกง ถ้วย ชาม ฯลฯ รวมทั้งอุปกรณ์กันเรียบร้อย แล้วก็จะ มาช่วยกันทําอาหารหวานคาวที่วัด แต่ที่ขาดไม่ได้คือ ต้นข้าวพันก้อน ซึ่งจะทําโดยใช้มะพร้าวมาแกะเปลือกนอกออกแล้วนําเอาใบมะพร้าวมาเลาะเอาใบออก เอาแต่ก้านใบ (ที่ใช้ทําไม้กวาดก้านมะพร้าว) เอามาเหลาตรงโคนก้านให้แหลม แล้วแทงเข้าไปในมะพร้าวที่นํามาเตรียมไว้แล้ว โดยแทงรอบลูกมะพร้าว แล้วนําเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อน ๆ ขนาดเท่ากับลูกกระสุนหนังสะติ๊กหรือเล็กกว่านั้น โดยนํามาปั้นให้ติดกับก้านมะพร้าว  ก้านมะพร้าวก้านหนึ่งจะปั้นข้าวติดประมาณ ๕-๖ ก้อน และเรียกว่า ต้นข้าวพันก้อน ซึ่งจะนําไปบูชาพระใน เวลาย่ำรุ่ง (ประมาณ ตี ตี ๕) จะแห่ต้นข้าวพันก้อนรอบวัด ๓ รอบ แล้วจะนําไปบูชาพระ

           การอยู่วัดนั้นไม่จําเป็นต้องไปทํากิจกรรมดังกล่าวที่วัดเสมอไป แต่อาจไปอยู่วัดที่บ้านใครก็ได้เพื่อความสะดวกในการเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ เพราะวัดในสมัยก่อนนั้นไม่มีความพร้อมเหมือนในสมัยปัจจุบัน แต่หลังจากที่ทําอาหารคาวหวาน และทําต้นข้าวพันก้อนเสร็จแล้วก็จะแห่ไปทําบุญที่วัด เมื่อไปถึงวัดก็จะมีคนไปตีกลองใหญ่ที่หอกลอง เวลาตีกลองเสียงจะดังมากสามารถได้ยินไปทั้งหมู่บ้าน (บ้านในและ บ้านใหม่) และจะตีจนกว่าจะแห่ต้นข้าวพันก้อนรอบวัดครบ ๓ รอบ หลังจากนั้นก็จะนําเอาต้นข้าวพันก้อน ไปบูชาพระ และนําเอาอาหารคาวหวานไปถวายพระสงฆ์ เพื่อพระท่านจะได้นําไปฉันในตอนเช้า เมื่อพระให้ศีลให้พรเสร็จก็จะกลับมาพักผ่อนที่บ้าน

           ประเพณีการอยู่วัดแห่ข้าวพันก้อน มักจะมีการยกทุง (ตุง ลักษณะเหมือนกับของชาวเหนือ) สําหรับ ทุง จะใช้แขวนห้อยบนต้นไม้ไผ่ให้แกว่งไปแกว่งมาเวลาลมพัด ทําจากผ้าดิบทอด้วยฝ้ายนํามาเย็บต่อ ๆ กัน ยาวประมาณ ๓-๔ วา ตามคตินิยมของชาวบ้าน หากใครถวายทุงบูชาพระพุทธรูป ซึ่งเป็นตัวแทน ของพระพุทธะเจ้าหรือถวายแก่พระสงฆ์จะเกิดอานิสงฆ์อันยิ่งใหญ่ ตายไปแล้วจะได้เกาะชายทุงขึ้นสวรรค์ การถวายทุงบูชาพระรัตนตรัยยังเป็นการอุทิศบุญกุศลไปให้กับผู้ตาย ทุงจะช่วยขจัดปัดเป่าทุกขเวทนาให้แก่ ญาติพี่น้องที่เสียชีวิตไปแล้วให้พ้นจากเคราะห์กรรมและทุกขเวทนาในยมโลก นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องบวงสรวงเทวบุตร เทวดา และใช้บูชาพระเวสสันดรในงานบุญผะเหวด จะเห็นว่าทุงนั้นมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตและ ความเชื่อของชาวบ้านมานานแล้ว เวลายกเสาทุงซึ่งทําด้วยไม้ไผ่ก็จะมีการตีกลองใหญ่ไชโยโห่ร้อง

 

ขอบคุณภาพและเนื้อหา จาก

www.m-culture.go.th

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

http://www.บ้านเสี้ยว.com

https://reviewesan.com

11,559 views

0

แบ่งปัน