คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

การละเล่น ตีลาย

อำเภอฟากท่า

ประเพณีการตีลาย ชาวฟากท่า

           บรรพบุรุษของชาวฟากท่า แต่เดิมนั้นได้อพยพมาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว) ซึ่งไม่สามารถสืบค้นได้ว่าอพยพมาตั้งแต่เมื่อใด เพียงแต่เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา ภาษาท้องถิ่นของชาวฟากท่าเป็นภาษาเดียวกับกับภาษาลาว ทั้งสำเนียงและคำศัพท์เฉพาะต่างๆ จึงน่าจะเป็นสิ่งที่เชื่อได้ว่ามีการเชื่อมโยงกันในจุดนี้ วัฒนธรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารการกิน ชีวิตความเป็นอยู่ก็มีความคล้ายคลึงกันมาก และที่สำคัญคือ ปัจจุบันยังมีการไปมาหาสู่กันแม้จะมีพรมแดนกั้นเป็นอาณาเขตที่แน่นอนแล้วก็ตาม จึงเชื่อได้วาบรรพบุรุษของชาวฟากท่าได้อพยพมาจากประเทศลาวจริง

            ตีลาย คือศิลปะการต่อสู้ที่อยู่คู่กับชาวฟากท่ามาช้านาน มีการสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน นายคิด อินฟากท่า และนายบุ แก้วทุมลา เล่าให้ฟังว่าตีลายเป็นศิลปะการต่อสู้ของชาวลาวที่บรรพบุรุษได้นำศิลปะแขนงนี้ติดตัวมา ตนเองได้ฝึกหัดตีลายมาตั้งแต่เป็นเด็ก โดยปู่เป็นคนหัดให้ 2 คน และได้แสดงศิลปะการต่อสู้นี้ แทนปู่ที่ได้เสียชีวิตไปแล้วมาโดยตลอด โอกาสที่จะได้แสดงคือ ในวันสงกรานต์เท่านั้น

            ตีลาย เป็น ศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่า ที่มีลีลา ลวดลาย รวดเร็ว คล่องแคล่ว ว่องไวหนักหน่วง และแน่นอน แต่ก็แฝงไว้ด้วยความอ่อนช้อยและสวยงาม ด้วยลีลาท่าทางของผู้แสดงที่มีความสามารถร่ายรำให้เข้ากับจังหวะดนตรี ใครก็ตามที่สามารถผสมผสานการต่อสู้กับการร่ายรำได้ดี จะได้รับการยกย่องชมเชยว่าเป็นผู้ที่ “ลาย” คำว่า “ลาย” ไม่ใช้คนที่มีลายสักเต็มแขน ขา หรือเต็มตัว แต่คนที่มีลายคือ ผู้ที่มีลวดลาย ลีลา ในการต่อสู้ ที่แฝงไว้ด้วยศิลปะที่งดงามอ่อนช้อย พร้อมที่จะสยบคู้ต่อสู้ตลอดเวลา

            คำว่า ตี คือ อาการตีด้วยฝ่ามือ (แบมือ) ตีลายจึงมีความหมายในทำนอง ตีกันอย่างมีลวดลาย ต่างกับมวยโดยทั่วไป ซึ่งไม่แบมือ

            ศิลปะการต่อสู้ตีลายจะเริ่มขึ้นโดยมีดนตรีประกอบ ได้แก่ การตีกลองยาว ตีฆ้อง ฉาบ และฉิ่ง ให้เร้าใจ ในสมัยก่อนจะไม่มีการเปรียบคู่ (หรือเปรียบมวย) ไว้ก่อน เมื่อเสียงกลอง ฆ้องฉิ่ง และฉาบ ดังขึ้นในจังหวะที่เร้าใจ ไม่นานก็จะมีคน "หมึนขึ้น" (หมายถึงของขึ้น) ก็จะกระโดดเข้าไปในวงที่มีผู้ชมนั่งล้อมวงอยู่ ซึ่งเป็นสนามหญ้า หรือสนามดินก็ได้ เมื่อมีคนแรกกระโดดตามเข้าไปเหมือนกับเป็นการท้าทายว่าใครแน่ให้เข้ามา ไม่นานก็จะมีคนหมึนขึ้นเหมือนกัน กระโดดตามเข้าไปต่อสู้กัน แต่ก่อนที่จะต่อสู้กันนั้น คู่ต่อสู้ทั้ง 2 ฝ่ายจะเต้นไปรอบ ๆ ตามจังหวะ โดยออกท่าทาง ลีลา ลวดลาย เพื่อหลอกล่อคู่ต่อสู้ โดยเริ่มจากท่าตบก่อน คือ ตบมือ ตบศอก ตบแข็ง ตบขา ตบเท้า โดยจะทำสลับกันไป วาดลวดลายอยู่ในวง จะใช้ฝ่ามือกระทบกันเสียงตบแข็ง ตบขา ดังเพี๊ยะ ๆ เป็นระยะ ๆ การตีลายจะใช้เพียงฝ่ามือต่อสู้กันมากกว่าการใช้เท้าและส่วนอื่น ๆ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนที่ไม่ต้องการให้มีการบาดเจ็บรุนแรงเกิดขึ้น การต่อสู้จะไม่คำนึงถึงรูปร่าง น้ำหนัก หรือส่วนสูง และระยะเวลาในการต่อสู้ โดยจะเข้าต่อสู้กันด้านข้างมากกว่า ด้านหน้า ในลักษณะโฉบเข้าโฉบออก จากนั้นคู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่ายก็จะร่ายรำ ท่าทางให้เข้ากับจังหวะอันเร้าใจของเสียงกลอง ฆ้อง และฉาบฉิ่ง แล้วก็หาช่องทางเข้าโจมตีคู่ต่อสู้เป็นระยะ ๆ บางคู่สู้กันมากร่ายรำน้อย บางคู่ก็ต่อสู้กันน้อยแต่ร่ายรำมาก แล้วแต่ความสามารถและพละกำลัง เหนื่อยก็หยุดกันเอง ไม่มีกรรมการ ไม่มีการจับเวลา พอคู่แรกออกไป คู่ต่อไปก็เข้ามาแทน

          ในปัจจุบันการอนุรักษ์ศิลปะการต่อสู้ตีลาย โดยโรงเรียนฟากท่าวิทยา ที่มีครูเด็ดดวง สีกา ครูสอนศิลปะและดนตรี ซึ่งเป็นลูกหลานชาวฟากท่า ได้สืบค้นประวัติความเป็นมาและได้ จัดทำหลักสูตรเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ในหลักสูตรท้องถิ่น โดยได้เชิญ พ่อครูทั้ง 2 ท่าน คือ พ่อใหญ่บุ แก้วทุมลา และพ่อคิด อินฟากท่า ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ของชาวฟากท่าที่เหลืออยู่     มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียนได้เรียนรู้ และศึกษาศิลปะการต่อสู้ตีลาย ซึ่งได้ดำเนินการติดต่อกันมาเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2545 มีนักเรียนได้รับการถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ ไปแล้ว 5 รุ่น และได้มีโอกาสได้เผยแพร่ศิลปะการต่อสู้ตีลายในโอกาสต่างๆ หลายต่อหลายครั้ง เช่น งานเทศกาลลางสาดหวาน งานประจำปีจังหวัดอุตรดิตถ์ ตลอดจนการแสดงให้แขกที่มาเยือนอำเภอฟากท่าได้ชม นอกจากนี้ยังมีผู้ที่สนใจที่จะอนุรักษ์ศิลปะแขนงนี้ โดยสภาวัฒนธรรมอำเภอฟากท่า ตั้งเป็นชมรมอนุรักษ์ตีลาย มีคณะกรรมการดำเนินการที่จะรักษา ตีลายให้คงอยู่คู่ฟากท่าตลอดไป

ท่าท่าทางที่ใช้ในการต่อสู้ 6 แม่ไม้

1 แม่ผาบเพียบ เป็นท่าเริ่มต้นของตีลาย “แม่” หมายถึง แม่ไม้หรือท่า “ผาบ” เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึง ตบ “เพียบ” หมายถึง เสียงดังเพี๊ยะ “ผาบเพียบ”จึงหมายถึง ท่าตบที่มีเสียงดังเพี๊ยะ นั่นเอง โดยเริ่มจากการตบมือ ตบศอก ตบแขน ตบขา ตบเข่า เสมือนหนึ่งเป็นการทำให้ร่างกายอบอุ่น เพื่อให้กล้ามเนื้อตื่นตัว โดยการตบนั้น ต้องตบให้เข้ากับจังหวะของดนตรี ที่ดังกระหึ่มอยู่ข้างเวทีการต่อสู้     

 2 ท่าแม่ปลุกธรณี เป็นท่าที่ต่อจากแม่ผาบเพียบ คือเอาฝ่ามือตบพื้นดิน เพื่อข่มขวัญคู่ต่อสู้ ว่าตบได้หนักหน่วง จนแผ่นดินเทือน ถ้าไม่แน่จริงอย่าเข้ามาหรือให้ถอยออกไป

3 ท่าแม่เข็นฝ้าย คำว่า “เข็นฝ้าย” เป็นภาษาท้องถิ่น เป็นขั้นตอน ๆ หนึ่งของการทำฝ้ายให้เป็นเส้นด้ายของชาวบ้าน มือหนึ่งจับฝ้ายอีกมือหนึ่งหมุนวงล้อ เพื่อรองรับเส้นด้าย ดังภาพมือซ้ายของผู้สาธิตจับฝ้าย ส่วนมือขวาหมุนวงล้อ โดยการเข็นฝ้ายนั้นจะเข็นไปตามจังหวะของดนตรี ท่านี้จึงเป็นการผสมผสานกันระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นในการปั่นฝ้ายกับศิลปะการต่อสู้ตีลาย

4 ท่าแม่เปียฝ้าย หลังจากเข็นฝ้าย หรือปั่นฝ้ายให้เป็นเส้นด้ายแล้ว ก็จะเป็นการเก็บเส้นด้ายเอามาไว้รวมกันในอุปกรณ์การเก็บด้าย เรียกขั้นตอนนี้ว่า “เปียฝ้าย”

5 ท่าเสือลากกาง

6 ท่าหนุมานเกียกฝุ่น “เกียก” เป็นภาษาท้องถิ่น หมายถึง เกลือก หรือคลุก หนุมานเกียกฝุ่นก็คือ หนุมานคลุกฝุ่นนั้นเอง เป็นท่านอนกับพื้นแล้วร่ายรำแสดงพละกำลังว่า ถึงแม้ล้มลงไปแล้วก็ยังสามารถที่จะต่อสู้ได้

ทั้ง 6 แม่ไม้ผู้แสดงจะแสดงก่อนที่จะมีการต่อสู้จริงเหมือนเป็นการไหว้ครู หรือการทำให้ร่างกายอบอุ่น และการต่อสู้ของตีลายนั้นจะไม่กำมือ (กำหมัด) แต่จะต่อสู้กันด้วยมือที่แบ หรือตีกันด้วยฝ่ามือ และจะไม่ใช้ศอก เข่า หรือเท้า จะใช้เพียงฝ่ามือเท่านั้น

 การแต่งกายและดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง

           การแต่งกาย ผู้แสดงจะนุ่งจูงกระเบนสั้นหรือภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “เตี๋ยว” สีแดง หรืออาจเป็นสีอื่น ๆ ก็ได้แต่นิยมใช้สีแดง โพกศีรษะด้วยผ้าสีแดง หรือสีอื่นเพื่อที่จะทำให้แตกต่างไปจากคู่ต่อสู้ เปลือยอก และรัดแขนด้วยผ้าที่เป็นเครื่องรางของขลัง

อุปกรณ์เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ในการให้จังหวะ และปลุกเร้า

1.กลอง 2.ฉาบ 3.โม่ง

ขอบคุณภาพและเนื้อหา จาก

http://oknation.nationtv.tv

thainews2017.com

Facebook.com/โรงเรียนฟากท่าวิทยา

1,689 views

0

แบ่งปัน