คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

กวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

          ประเพณีกวนข้าวทิพย์ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ พบว่า มีพิธีการจัดการกวนข้าวทิพย์อยู่ ๒ วัด คือ วัดเกษมจิตตาราม อําเภอเมือง และ วัดดงพญาแมน อําเภอพิชัย ประเพณีกวนข้าวทิพย์ อําเภอเมือง จัดขึ้น  ณ วัดเกษมจิตตาราม ซึ่งได้จัดทําขึ้นเป็นประจําทุกปี เริ่มทําพิธีกวนข้าวทิพย์ ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ประเพณีกวนข้าวทิพย์ หรือข้าวมธุปายาส เป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลก่อนที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะตรัสรู้

            มีเรื่องเล่าว่านางสุชาดา ธิดาของเศรษฐี ได้ไปบนบานศาลกล่าวกับต้นไทร ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นที่สถิตย์ของเทวดา โดยตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้ได้พบกับคนที่ฐานะเสมอกัน ทัดเทียมกันในการที่จะใช้ชีวิตคู่ ซึ่งต่อมานางสุชาดาก็ได้เนื้อคู่ที่สมฐานะตามคําอธิษฐาน จึงคิดจะไปแก้บน จึงให้คนรับใช้ไปทําความสะอาดบริเวนใต้ต้นไทร คนรับใช้เห็น เจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งทรงเสด็จมาประทับอยู่ใต้ต้นไทร แต่คน รับใช้ไม่ทราบนึกว่าเป็นเทวดา จึงรีบไปบอกนางสุชาดา นางสุชาดาจึงรีบนําข้าวมธุปายาส ที่จัดเตรียมทําไว้มาถวายเพื่อแก้บน ต่อมาจึงทราบว่าเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จมาประทับอยู่ นางสุชาดาจึงได้ถวายข้าว มธุปายาส ภายหลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ฉันข้าวมธุปายาสของนางสุชาดา เมื่อเสวยเสร็จแล้ว จึงทรงนําถาดทองที่ใส่ข้าวมธุปายาสไปลอยน้ำ และทรงอธิษฐานว่า ถ้าหากพระองค์จะได้ตรัสรู้ ขอให้ถาดทองนั้น ลอยขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ ปรากฏว่าถาดทองได้ลอยขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ ซึ่งวันตรงกับวัน ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน พระองค์ก็ได้บําเพ็ญเพียร จนได้บรรลุธรรมตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ด้วยเหตุนี้ จึงมีความเชื่อกันว่า ข้าวที่พระสิทธัตถะกุมารได้ฉันก่อนที่จะตรัสรู้นั้นเป็นข้าวทิพย์ จึงได้มีการจัดทําพิธีกวนข้าวทิพย์ ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ สืบทอดต่อ ๆ กันมา

          พิธีกวนข้าวทิพย์จะมีการจัดเตรียมวัสดุต่างๆ ได้แก่ พืชตระกูลถั่วทุกชนิด ข้าวฟ่าง ลูกเดือย เม็ดบัว งาขาว งาดํา ข้าวตอก ข้าวเม่า นมสด นมข้น น้ำตาล น้ำอ้อย น้ำตาลมะพร้าว น้ำตาลปีบ น้ำผึ้ง และผล ไม้ต่าง ๆ ใส่รวมกันลงไป แล้วกวนให้สุกจนเหนียว การกวนข้าวทิพย์ จะต้องใช้ สาวพรหมจารี แต่งกาย คล้ายนางฟ้า จํานวน  คน ช่วยกันกวนกระทะละ ๓ คน กวนไปเรื่อย ๆ เป็นพิธีสักพักหนึ่ง ก็เป็น เหล่าทายก ทายิกา ก็ช่วยกันกวนข้าวทิพย์จนได้ที่ตามเหมาะสม แล้วนําข้าวทิพย์ที่ได้จากการกวนตักใส่ไว้ ในถาดเพื่อเตรียมไว้สําหรับถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ภายในวัด และจัดแบ่งไปถวายตามวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียง ที่เหลือจะแจกจ่ายให้ประชาชนที่มาทําบุญในวันนั้น

ขอบคุณภาพและเนื้อหา จาก

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

http://pumiparkpost.com

www.77kaoded.com

www.m-culture.go.th

5forcenews.com

Prapayneethai.com

5,102 views

0

แบ่งปัน