คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ข้าวแคบ

          ความโดดเด่นด้านวิถีชีวิตของชาวอำเภอลับแลที่ขึ้นชื่อและเป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไปคือเรื่องการทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน  ข้าวแคบ”   ถือได้ว่าเป็นอาหารพื้นบ้านยอดนิยมของชาวลับแลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในเขตเทศบาลตำบลศรีพนมมาศ และตำบลฝายหลวง มีการทำข้าวแคบทุกหลังคาเรือนตั้งแต่สมัยปู่ย่าตายาย และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน จนมีเรื่องตลกซึ่งมักจะคุยกันในวงเหล้าว่า เมืองลับแลนั้นเต็มไปด้วยผู้ล่าย และต้องหา ซึ่งผู้ล่ายในที่นี้เป็นภาษาชาวบ้าน หมายถึงผู้ไล้ข้าวแคบ(ผู้ไล้ข้าวแคบหมายถึง คนที่ละเลงน้ำแป้งลงบนผ้าที่วางบนปากหม้อที่มีไอน้ำเดือด) ส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้หญิง ส่วนผู้ต้องหา หมายถึงสามี ที่มีหน้าที่ไปหาพื้นมาทำข้าวแคบ ชาวบ้านในอำเภอลับแลเล่าให้ฟังว่า การทำข้าวแคบนั้นมีมานานแล้ว แต่ไม่รู้ว่ามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ สันนิษฐานว่า น่าจะมากว่า 100 ปีขึ้นไปและอาจมาพร้อมๆกับการมาสร้างเมืองลับแลของเจ้าฟ้าฮ่ามกุมารเมื่อประมาณพุทธศักราช 1,500 (กรทักษ์ เม่นวังแดง และคณะ,2547) และที่เรียกว่าข้าวแคบนั้น เรียกตามลักษณะของปากหม้อที่ทำข้าวแคบ ตอนไล้แป้งซึ่งมีลักษณะแคบ

          แต่เดิมนั้นข้าวแคบมีอยู่ 2 ลักษณะคือข้าวแคบธรรมดาและข้าวแคบงา มีขนาดใหญ่และหนากว่าในปัจจุบันส่วนใหญ่ชาวลับแลจะเรียกกันว่า ข้าวแคบหนา”  รสชาติออกเค็ม มีส่วนผสมแค่แป้ง เกลือ และงาดำ เท่านั้น เวลาจะรับประทานข้าวแคบในสมัยก่อน จะนำมาปิ้งไฟ แล้วบดให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ (ภาษาพื้นบ้านของชาวลับแลเรียกว่าการเนียงข้าวแคบ”) ใส่ถ้วยรับประทานกับข้าวเหนียวใส่หมูปิ้งก็ได้เป็นอาหารเช้าที่รับประทานในหนึ่งมื้อได้เลย เหมือนกับกับข้าวอย่างอื่น

          นอกจากนั้นยังสามารถนำข้าวแคบที่เนียงแล้วมาใส่ยำยอดใบมะม่วง (ชาวลับแลเรียกว่า ซ่าใบมะม่วง”) และแกงเลียง ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวลับแลได้อีกด้วย ในสมัยก่อนชาวลับแลจะรับประทานข้าวแคบเป็นอาหารหลัก ต่างจากปัจจุบันที่บริโภคข้าวแคบเป็นอาหารว่างเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะข้าวแคบแห้ง และการรับประทานอีกรูปแบบหนึ่งของคนลับแลสมัยก่อนคือ การนำข้าวเหนียวมาคลุกกับข้าวแคบที่เนียงแล้วปั่นเป็นแท่น เหมือนข้าวปั่น บางคนเอาข้าวแคบแห้งมาห่อกับข้าวเหนียวร้อนๆ ม้วนให้เป็นแท่ง (ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า โอโล่ข้าวแคบ”) ในสมัยก่อนมีการทำข้าวแคบแทบทุกหลังคาเรือน โดยเฉพาะในหน้าหนาวมีการทำข้าวแคบจนเป็นประเพณี แต่ทำได้ไม่เยอะ จะทำไว้เฉพาะกินในครัวเรือนเท่านั้น และนิยมทำในลักษณะข้าวแคบแห้ง เพราะเก็บไว้ได้นาน หน้าฝนก็เก็บไว้ได้ ทำแล้วจะเก็บใส่ในตะเข่ง (ตะเข่งเป็นภาษาพื้นบ้านมีความหมายเหมือนกับ ตะกร้า”) แขวนไว้ในที่สูงๆเพราะกลัวลูกๆ แอบเอาไปกิน เวลาไปทำไร่ ทำนา ก็เอาข้าวแคบที่เก็บไว้มาห่อกับข้าวเหนียวประมาณ 2-3 พัน กินไประหว่างทาง เพื่อให้อิ่มท้อง ไม่ต้องเสียเวลามานั่งกิน เพราะสมัยก่อนต้องตื่นแต่เช้าเดินไปทำไร่  ทำนา  ไม่มีรถมอเตอร์ไซค์เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตที่เรียบง่ายและความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว จึงสามารถพูดได้ว่า การทำข้าวแคบนั้นเป็นวิถีชีวิตของชาวลับแลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

           “ข้าวแคบ”  ที่เป็นอาหารพื้นบ้านของชาวลับแลนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ เป็นแผ่นแป้งบางๆที่ได้จากการไล้น้ำแป้งที่ผสมงาดำ เกลือ หรือเครื่องปรุงรสอื่นๆ ลงบนผ้าสีขาวหรือสีดำที่วางบนปากหม้อดินขณะที่มีไอน้ำเดือดเหมือนการทำข้าวเกรียบปากหม้อโดยแผ่นแป้งที่ได้มีลักษณะเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 นิ้ว เมื่อแผ่นแป้งสุกแล้วสามารถดัดแปลงทำผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย อาทิเช่นถ้านำแผ่นแป้งไปตากแดดจะได้ข้าวแคบแห้งมีทั้งแบบธรรมดาและปรุงรส สามารถฉีกรับประทานได้ทันทีเป็นอาหารว่าง หรือจะนำไปห่อกับเส้นหมี่คลุกกับเครื่องปรุง ที่ชาวลับแลเรียกว่า หมี่คุก” (คลุก) ก็ได้ นอกจากนี้ชาวลับแลมักจะนำข้าวแคบแห้งมาห่อพันกับข้าวเหนียว โรยกากหมู หมูหยอง หรือกับข้าวอื่นๆลงไปพันให้เป็นแท่งรับประทานอย่างเอร็ดอร่อย นอกจากจะรับประทานในรูปของข้าวแคบแห้งแล้วแผ่นแป้งที่ไล้สุกสามารถรับประทาน สด ได้แก่ ข้าวพัน”  ซึ่งได้จากการใช้ไม้ไผ่แบนๆ หรือชาวลับแลเรียกว่า ไม้หลาบ ม้วนแผ่นแป้งสุกแล้วรูดออก แต่ถ้าใส่ผักที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เช่น ถั่วงอก คะน้า กวางตุ้ง กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว ผักบุ้งยอดขาว หรือผักอื่นๆลงบนแผ่นแป้งสุก ปิดฝาไว้สักครู่ เมื่อผักสุก ใช้ไม้หลาบพับแผ่นแป้งเป็นมุมห่อผักไว้ เหมือนกับการทำไข่ยัดไส่ จะเรียกว่า ข้าวพันผักถ้าใส่ไข่ลงไปตีบนแผ่นแป้งที่เริ่มสุกก่อนใส่ผัก จะเรียกว่า ข้าวพันผักใส่ไข่ในการรับประทานต้องปรุงรสด้วยซอสมะเขือเทศ ซีอิ้ว และน้ำจิ้มที่รับประทานกับข้าวพันซึ่งประกอบด้วย พริกแห้งป่นปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาล หรือจะโรยหน้าด้วยกระเทียมเจียว กากหมู หรือแคบหมูด้วย ก็จะเพิ่มความอร่อยได้อีกทางหนึ่ง

           นอกจากที่กล่าวมาทั้งหมดแล้ว ชาวลับแลยังคิดค้น ก๋วยเตี๋ยวอบที่ดัดแปลงมาจากก๋วยเตี๋ยวน้ำทั่วๆไป รูปร่างหน้าตาจะเหมือนกับข้าวพันผัก และข้าวพันใส่ไข่ เพียงแต่ใช้ข้าวแคบแห้งมาทำให้อ่อนตัวบนปากหม้อดิน แทนการไล้แป้ง แล้วใส่เส้นก๋วยเตี๋ยวที่ปรุงกับเครื่องปรุงรส ใส่ลูกชิ้น หมูแดง ลงไปในข้าวแคบแห้งที่อ่อนตัว ห่อเหมือนข้าวพันผัก ตักใส่จาน แล้วตักน้ำก๋วยเตี๋ยวราดลงไป

ขอบคุณภาพและเนื้อหา จาก

http://laplaedistrict.uttaraditlocal.go.th

Facebook : Chill Uttaradit

38,281 views

0

แบ่งปัน