คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

วัดอินทขีล

วัดสะดือเมืองเชียงใหม่

     วัดอินทขีลสะดือเมือง     มีเนื้อที่ประมาณ 3ไร่เศษ เดิมทีเป็นวัดร้างและเคยเป็นที่ประดิษฐานเสาอินทขีล (เสาหลักเมือง) ของเมืองเชียงใหม่ สร้างโดยพระญามังรายมหาราชผู้ก่อตั้งนครเชียงใหม่ เมื่อประมาณปี พ.ศ.1839 ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่

     คำว่า อินทขีล มาจากคำว่า อินทขีละ ในภาษาบาลี ซึ่งแปลว่า เสาเขื่อน,เสาหิน,หรือเสาหลักเมือง ส่วนคำว่า สะดือเมือง นั้นเนื่องจากวัดตั้งอยู่ใจกลางของเมืองเชียงใหม่ผู้คนทั้งหลายจึงนิยมเรียกกันติดปากว่า วัดสะดือเมือง ดังนั้นทางวัดจึงตั้งชื่อว่า วัดอินทขีลสะดือเมือง

     วัดอินทขีลสะดือเมือง มีพระพุทธรูปที่สำคัญที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่มาเป็นเวลานาน ซึ่งพุทธศาสนิกชนรู้จักกันคือ หลวงพ่อขาว ซึ่งเป็นพระพุทธรูปแบบล้านนา มีพระพักตร์อิ่มเอิบ ดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ ที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตา ทำให้ผู้ที่มากราบไหว้บูชาได้รับความสุขใจ และสงบใจ และทำให้เกิดความรู้สึกที่มั่นใจและมีความหวัง ที่จะประกอบการงานใดเป็นประดุจหนึ่งว่า "ท่านจงทำดีเถิด ทำงานเถิด แล้วจะประสบผลสำเร็จ สมความปรารถนาทุกประการ" และวัดนี้เดิมทีเป็นพระราชวังหลวงซึ่งเป็นกราบไหว้สักการะของพระมหากษัตริย์และพุทธศาสนิกชนทั้งหลายในสมัยนั้น และมีเนื้อที่กว้างขวาง ปัจจุบันนี้ถ้าท่านได้มากราบไหว้องค์หลวงพ่อขาว ในวิหารทรงล้านนาที่สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง จะสังเกตุเห็นว่าวิหารหลวงพ่อขาวนั้นสร้างออกไปกลางถนนเล็กน้อย ที่จริงนั้นเดิมทีถนนไม่ได้ผ่านบริเวณนี้แต่พอสมัยหนึ่งวัดร้างไปทางราชการจึงสร้างถนนผ่าน

 

ประวัติการสร้างวัดอินทขีล

       สมัยพญามังรายได้ทรงสร้างวัดสะดือเมืองขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานของเสาหลักเมือง หรือเสาอินทขิล ซึ่งตามตำนานพื้นเมืองเหนือกล่าวถึงการบูชาเสาอินทขิลไว้ว่า พระอินทร์ได้ประทานให้ลัวะในสมัยการสร้างเวียงนพบุรี โดยเศรษฐีลัวะ9 ตระกูล พระฤาษีให้กุมภัณฑ์ 2 ตน เอาเสาอินทขิลใส่สาแหรกหามนำไปประดิษฐานไว้ ณ แท่นกลางเมืองนพบุรี ให้ชาวเมืองของลัวะสักการะบูชาก่อนที่จะกลายเป็นเมืองร้างกระทั่งพญามังราย ได้สุบินนิมิตรไล่ตามกวางเผือกจนมาพบชัยภูมิที่ดี จึงมีดำริจะสร้างเมืองขึ้นใหม่ พ.ศ.1835 ก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ พญามังรายได้มาสำรวจพื้นที่บริเวณเมืองนพบุรีร้าง ได้พบซากเสาอินทขิลและรูปกุมภัณฑ์ ณ ที่กลางเมืองนั้น จึงมีบัญชา ให้เสนาชื่อ สรีกรชัย แต่งเครื่องบรรณาการไปหาพญาลัวะบนดอยสุเทพ พญาลัวะจึงแนะนำว่า หากเจ้าพญามังรายจะสร้างเมือง ขึ้นใหม่ให้อยู่เย็นเป็นสุขก็ให้บูชากุมภัณฑ์และเสาอินทขิล เมื่อพญามังรายสร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่แล้ว จึงโปรดให้ยกรูปกุมภัณฑ์และเสาอินทขิลที่ประดิษฐานใน บริเวณสะดือเมืองขึ้นมาเพื่อให้คนสักการะกราบไหว้ตามคำแนะนำของพญาลัวะ
     ต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้นชื่อว่า วัดอินทขิล แต่เนื่องจากว่าวัดนี้ตั้งอยู่บริเวณสะดือเมือง ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดสะดือเมือง ในตลอดรัชสมัยของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายวัดสะดือเมืองได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ ก่อนที่จะเป็นวัดร้างภายหลังล้านนาถูกพม่าเข้าปกครอง จนถึงปี พ.ศ.2343 พระเจ้ากาวิละ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์แรก ได้ขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนาและได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ขึ้น ได้ย้ายเสาอินทขิลจากวัดอินทขิลมาประดิษฐานอยู่ ณ วัดเจดีย์หลวง พร้อมกับบูรณะฟื้นฟูวัดอินทขิล โดยได้สร้างวิหารคล่อมฐานเดิม อัญเชิญพระอุ่นเมือง (หลวงพ่อขาว) มาประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหาร


 

      วัดอินทขิล ได้เจริญรุ่งเรืองมีพระสงฆ์จำพรรษาตลอดเรื่อยมา จากเอกสารสำรวจวัดในสมัยครูบาปัญญา เจ้าอาวาสวัดหัวข่วง พ.ศ.2425 ยังปรากฏชื่อวัดอินทขิลอยู่ สันนิษฐานว่าวัดอินทขิลได้กลายเป็นวัดร้างในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 (พ.ศ.2416-2439) ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการรวมศูนย์เข้ากับส่วนกลางให้เป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศ เจ้านายฝ่ายเหนือถูกลดบทบาทลงอย่างมาก ต้องแบ่งเงินภาษีอากรส่งไปส่วนกลาง วัดจึงขาดการทำนุบำรุง พระสงฆ์ก็ขาดการอุปถัมภ์ วัดอินทขิลหรือวัดสะดือเมืองจึงตกอยู่ในสภาพรกร้าง กระทั่งปัจจุบัน คงเหลือหลักฐานทางโบราณคดีของวัดอินทขิลปรากฏอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของหอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (ศาลากลางหลังเก่า) คือองค์พระเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมและวิหารพระเจ้าอุ่นเมือง (หลวงพ่อขาว)

     วัดอินทขิล หรือ วัดสะดือเมือง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงต้นของประวัติศาสตร์ล้านนา ราวพุทธศตวรรษที่ 19 ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญคือ

 

เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม

พงศาวดารโยนกและตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวว่าบริเวณที่สร้างเจดีย์แปดเหลี่ยมเคยเป็นสถานที่พญามังรายต้องอัสนีบาตสวรรคต ต่อมาพระยาไชยสงคราม ราชโอรสทรงสร้างเจดีย์บรรจุพระอัฐิไว้ จากรูปแบบสถาปัตยกรรมของพระเจดีย์ที่ปรากฏอยู่ภายในบริเวณศาลากลางหลังเก่า เป็นเจดีย์ทรงกลมผสมเรือนธาตุแปดเหลี่ยม องค์ระฆังคว่ำ ซึ่งนิยมสร้างกันมากในสมัยหริภุญไชย ซึ่งพบที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูน ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า เจดีย์ดังกล่าวน่าจะสร้างขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันคือราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19


วิหารพระเจ้าอุ่นเมือง(หลวงพ่อขาว)

ตามตำนานเชื่อว่า วัดอินทขิลเป็นสถานที่พญามังรายต้องอัศนีบาตจนสิ้นพระชนม์ สำหรับวิหารของพระเจ้าอุ่นเมืองนั้น คงสร้างขึ้นคร่อมฐานเดิมพร้อม ๆ กับการสร้างเจดีย์องค์นอกที่ห่อหุ้มองค์ในประมาณ พ.ศ.2380 สมัยของพระเจ้ากาวิละ ลักษณะเป็นวิหารโถง ผังเดิมเป็นแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีหลวงพ่อขาวประดิษฐานเป็นพระประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันออก


เจดีย์ทรงระฆังหลังพระวิหาร

อยู่บริเวณด้านหลังพระวิหารพระเจ้าอุ่นเมือง (หลวงพ่อขาว) เป็นเจดีย์ทรงระฆัง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ส่วนบนเป็นฐานหน้ากระดานสูงใหญ่ ถัดขึ้นไปเป็นฐานทรงกลมสามชั้น รองรับองค์ระฆัง ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ก้านฉัตร บัวฝาละมี และปล้องฉไน โดยมีเจดีย์องค์เล็กศิลปะหริภุญชัยอยู่ภายใน

 

ขอบคุณภาพและเนื้อเรื่อง จาก

www.watinthakhin.com

www.tripchiangmai.com

www.holidaysthai.com

www.culture.mome.co.th

13,717 views

0

share

Museum in Chiang Mai

14 September 2023
23,358
551
16 July 2020
23,410
1,637
11 January 2019
3,478
301
07 February 2022
47,280
794
11 August 2018
8,349
595
08 August 2022
7,125
608
30 April 2019
38,257
718
17 March 2022
34,995
688