คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

เงินท้อกเชียงใหม่

      เงินท้อกคืออะไร

                  เงินตราของอาณาจักรล้านนามีหลายประเภท อาทิ เงินเจียง (เงินขาคีม) และเงินท้อก ในส่วนของเงินท้อกนั้น สามารถแบ่งได้เป็นตามแหล่งผลิต อาทิ เงินท้อกลำปาง (เรียกอีกอย่างว่าเงินท้อกวงตีนม้า) เงินท้อกเชียงใหม่ เงินท้อกน่าน

               วัตถุจัดแสดงชิ้นนี้จัดอยู่ในประเภทเงินท้อกเชียงใหม่ มีลักษณะเด่นคือ รูปร่างทรงกลมแบนคล้ายเปลือกหอยตลับ หรือเหมือนกาบหอย ด้านล่างเป็นพื้นราบมีวัตถุสีเหลืองอมแดงหุ้มอยู่ ซึ่งเป็นสีของไข่แดงของไข่ไก่ที่ถูกเผาไฟ ส่วนด้านบนนูนหนามีพื้นย่นประกอบด้วยเส้นริ้วเล็กๆ แตกเป็นร่องละเอียด มีช่องกลวงคล้ายโพรงรูปพระจันทร์เสี้ยวเป็นแอ่งเว้าลงไป ทำให้มีการเรียกชื่ออื่นๆ ด้วยเช่นกันว่า ท้อกใบไม้ ท้อกหอยโข่ง (เงินหอย) หรือท้อกปากหมู เป็นต้น

               เงินท้อกเชียงใหม่มีการใช้วัสดุแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับราคา หากทำด้วยเนื้อเงินล้วนจะมีราคาสูง แต่หากเป็นเนื้อเงินผสมสำริด ดังเช่นวัตถุจัดแสดงชิ้นนี้จะมีราคาต่ำลงมา ส่วนพิกัดราคายังแบ่งตามน้ำหนักของตัววัตถุ มีตั้งแต่ขนาดใหญ่ลดหลั่นไปยังขนาดเล็กเป็นเถา

                  มีการตีหรือตอกตราประจำเมืองไว้บนเหรียญเงินท้อกประมาณ 2-3 จุด หรือ 2-3 ดวง ซึ่งอาจเป็นตราเดียวกันทั้งหมดหรืออาจตีตราพิเศษเพิ่มข้นอีกตราก็ได้ ตราเหล่านี้ตอกประทับในขณะที่ผลิตเงินตราขึ้น แต่ก็ไม่แน่ชัดนัก เนื่องจากผิวเงินท้อกค่อนข้างย่นเป็นคลื่นไม่เรียบ

                 เงินท้อกเชียงใหม่มีความแตกต่างจากเงินท้อกลำปางและเงินท้อกเมืองน่าน คือนอกเหนือไปจากขนาดความหนาที่แตกต่างกันแล้ว กล่าวคือ เงินท้อกลำปางมีผิวที่บางมากเป็นพิเศษแล้ว  ยังมีข้อสังเกตถึงความแตกต่างระหว่างเงินท้อกเชียงใหม่กับเงินท้อกลำปาง คือการใช้รูปสัญลักษณ์ที่ตีตราต่างกัน เงินท้อกลำปางมีตรารูปม้าอยู่ที่ริมขอบ และบางเหรียญเป็นอักษรรูปตัว "" ในขณะที่เงินท้อกเชียงใหม่ มีการใช้ตราสัญลักษณ์รูปช้าง ซึ่งเป็นตราเมืองเชียงใหม่ นอกนั้นเป็นตราจักร หมายถึงขึ้นอยู่กับราชวงศ์จักรีของสยาม และบางเหรียญมีตัวอักขระล้านนาเป็นอักษรย่อแบบต่างๆ เงินท้อกรุ่นหลังๆ จะไม่มีตราพวกนี้ตีไว้

               ส่วนเงินท้อกเมืองน่านมักทำด้วยโลหะผสม มีเนื้อเงินน้อยมาก รูปร่างกลมตัน พื้นเรียบไม่มีรอยย่นเป็นริ้วเหมือนเงินท้อกเชียงใหม่ ด้านที่มีรอยเว้าเล็กน้อยนั้นมีลักษณะคล้ายรอยนิ้วมือกดไม่เป็นโพรงลึก มีรูเล็กๆ เจาะไว้ริมขอบเพื่อสามารถใช้ลวดร้อยหิ้วไปมาได้สะดวก

            เงินท้อกมีการใช้ติดต่อในรูปแบบเดียวกันอย่างยาวนานมาตั้งแต่สมัยล้านนาตอนต้น แม้เมื่ออาณาจักรแห่งนี้แตกออกและตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามาเป็นเวลายาวนานแล้วก็ตาม เนื่องจากพม่าไม่มีการควบคุมการผลิตเงินตราของประเทศราช หัวเมืองในอาณาจักรล้านนาจึงยังคงผลิตเงินตราในรูปแบบเดิมต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และใช้ปะปนไปกับเงินดอกไม้หรือเงินผักชี ซึ่งเป็นเงินตราของพม่า

               จนในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ชาวเชียงใหม่จึงได้เริ่มใช้เหรียญเงินรูปี (รูเปีย) ของประเทศอังกฤษที่แพร่เข้ามา อย่างไรก็ตามในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งนครเชียงใหม่ตรงกับสมัยของพระเจ้าอินทรวิไชยานนท์นั้น ยังปรากฏว่ามีการนำเงินท้อกไปใช้ในการหมั้น สู่ขอเจ้าสาว การซื้อที่ดิน คือใช้ในเรื่องสำคัญๆ เหมือนกับลักษณะที่เคยมีมาตั้งแต่อดีต

ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก

ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ

และภาพจาก 

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย

5,171 views

0

share

Museum in Chiang Mai

14 September 2023
23,332
551
16 July 2020
23,403
1,637
11 January 2019
3,475
301
07 February 2022
47,260
794
11 August 2018
8,347
595
08 August 2022
7,120
608
30 April 2019
38,245
718
17 March 2022
34,983
688