คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

เส้นสายลายสังคโลก

     สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า สังคโลก หมายถึง ภาชนะดินเผาที่ผลิตตามแบบจีนราชวงศ์ซ้อง ทว่านักวิชาการสันนิษฐานว่า คำนี้อาจเป็นชื่อที่เพี้ยนมาจากคำว่า สวรรคโลก อันเป็นชื่อเมืองศรีสัชนาลัย สมัยกรุงศรีอยุธยาก็เป็นได้

     เครื่องปั้นดินเผาเริ่มต้นที่ประเทศจีนโดยเครื่องปั้นดินเผาของจีนเริ่มในสมัยราชวงศ์ฮั่น ซึ่งในสมัยนั้นเครื่องปั้นดินเผายังไม่มีการเคลือบ แต่ต่อมาก็มีการเคลือบเกิดขึ้นทั้งชนิดเคลือบตะกั่วและเคลือบด่าง ในราชวงศ์ถั๋งมีการทำเคลือบได้หลายๆสี และในสมัยซ้อง สมัยหยวนและหมิงมีการเคลือบแบบกังใสอีกด้วย มีการเคลือบสีแดงครั้งแรกเกิดขึ้นและจีนได้ประสบความสำเร็จในการทำเคลือบสีต่างๆ สีที่นิยมในสมัยนั้นคือสีแดง สีน้ำเงินและสีเขียว

     การที่ช่างปั้นเครื่องปั้นดินเผาจากจีนกว่า ๓๐๐ คน เดินทางมาสุโขทัยเพื่อสอนให้ช่างไทยรู้จักปั้นถ้วยชามตามแบบจีน ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็นเครื่องสังคโลกอันล้ำค่ายังเป็นปริศนาอยู่ เนื่องจากในยุคนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่จีนภายใต้การนำของราชวงศ์หยวนจะยอมให้คนของตนจำนวนมากเดินทางออกนอกประเทศ จึงยังไม่แน่ชัดว่าช่างปั้นจีนเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร

     แต่มีผู้สันนิษฐานว่าชาวจีนซึ่งเป็นชาวฮั่นอพยพเข้ามาที่ประเทศไทยเพราะต้องการหลีกหนีจากมองโกลที่ปกครองประเทศอยู่ สิ่งหนึ่งที่ยืนยันได้ก็คือ มีช่างปั้นจีนจำนวนหลายร้อยชีวิตอยู่ในเมืองไทยจริงๆ โดยช่างเหล่านี้ได้เข้ามาตั้งเตาเผาที่สุโขทัยในยุคเริ่มแรก ก่อนที่พ่อขุนรามจะสั่งให้ย้ายไปยังเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเป็นแหล่งของดินเหนียวที่มีคุณภาพดี โดยเนื้อดินสังคโลกสุโขทัยจะมีลักษณะหยาบ เนื่องจากมีทรายปนมาก แต่ดินสังคโลกศรีสัชนาลัยจะมีลักษณะเนื้อดินแกร่ง ละเอียด

     วิชาที่ช่างจีนสอนให้แก่ช่างไทยนั้นแตกต่างจากการปั้นเครื่องปั้นดินเผาแบบของไทย โดยช่างจีนจะมีการ “เคลือบน้ำยา” ซึ่งของไทยไม่มี และมีวิธีปั้นที่ทำให้ชิ้นงานมีคุณภาพและสวยงามกว่า ดังนั้น ควรเรียกเครื่องสังคโลกว่าเป็น “เครื่องเคลือบ-ปั้นดินเผา” จึงจะถูกต้อง เพราะไม่ใช่แค่ปั้นอย่างเดียว แต่ต้องเคลือบด้วย

     เครื่องสังคโลกนี้ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศจีน ต่อมาภายหลังจักรพรรดิกุบไบลข่านสวรรคตส่งผลให้การส่งออกของจีนต้องหยุดชะงักไป ดังนั้น สุโขทัยซึ่งได้รับการถ่ายทอดศิลปะมา จึงกลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่แทนจีนไปโดยปริยาย

     เตาที่ใช้เผาเครื่องสังคโลก เรียกว่า เตาทุเรียง ซึ่งผู้รู้สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า ฟูเหลียง ซึ่งเป็นอำเภอที่มีแหล่งเตาเผาที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณเจิ่งเต๋อจิ้น มณฑลเจียงซี ที่สำคัญของราชวงศ์ฮั่น บางท่านว่าน่าจะมาจากคำว่า เตาเชลียง ซึ่งมีมากมายทางเมืองเชลียง อำเภอศรีสัชนาลัย และเตาเผายังใช้เป็นตัวแบ่งเครื่องสังคโลกออกตามเตาเผาทั้ง ๓ แห่งได้แก่ เครื่องสังคโลกเตาสุโขทัย เครื่องสังคโลกเตาทุเรียงป่ายาง สวรรคโลก(ศรีสัชนาลัย) และเครื่องสังคโลกเตาทุเรียงเกาะน้อย

     ต่อมาเมื่อสุโขทัยอยู่ภายใต้อยุธยา ฝีมือการทำเครื่องปั้นดินเผาก็เสื่อมลงเป็นแค่การปั้นดินหยาบๆ เท่านั้น ปัจจุบันการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นที่สนใจอย่างแพร่หลาย มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ทำเครื่องปั้นดินเผาเกิดขึ้นหลายแห่ง ส่วนหน่วยงานรัฐบาลที่ช่วยส่งเสริมค้นคว้าวิจัยได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและศูนย์วิจัยเครื่องปั้นดินเผา

 

ภาพและบทความโดย

นางสาวนริศรา ผิวแดง

34,411 views

2

share

Museum in Sukhothai