คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

เจ้าพ่อขุนตาน

ประวัติศาสตร์เจ้าพ่อขุนตาน ตำนานเขลางค์นคร

ลำปาง "เมืองที่ไม่หมุนไปตามกาลเวลา" จังหวัดลำปางถือได้ว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่มีความโดดเด่นมากมายทั้ง วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตท้องถิ่นที่เรียบง่าย แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม รวมถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์ก่อนจะมาเป็นจังหวัดลำปางในปัจจุบัน

หากจะพูดถึงสถานที่แห่งนี้บางทีคนลำปางเองก็ยังไม่คุ้นหูหรือบางคนอาจจะยังไม่รู้จักซึ่งเป็นสถานที่ที่อยากจะแนะนำให้นักท่องเที่ยวหรือผู้ที่สนใจด้านประวัติศาสตร์แหล่งโบราณคดีได้รู้จักคือ"อุทยานประวัติศาสตร์เจ้าพ่อขุนตาน" ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง

มีการเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของเจ้าพ่อขุนตาน (พญาเบิก) ว่า “ในปี พ.ศ. ๑๘๑๔ ครั้งพญายีบาเป็นเจ้าเมืองนครหริภุญชัย(ลำพูน)ก็ได้ให้พญาเบิกราชบุตรในฐานะยุพราชไปครองเมืองเขลางค์นคร(ลำปาง)จนกระทั่งปีพ.ศ.๑๘๒๔กองทัพพญามังรายเจ้าเมืองเชียงรายและเจ้าเมืองฝางได้ยกไพร่พลมาตีเมืองหริภุญชัยแตกและยึดเมืองได้พญายีบาจึงเสด็จหนีไปพึ่งพญาเบิกผู้เป็นราชบุตรที่เมืองเขลางค์นคร พญาเบิกจึงสะสมไร่พลไว้ป้องกันเมืองจึงไปสร้างเมืองต้านศึกในพื้นที่เขตอำเภอห้างฉัตร เมืองนั้นมีนามว่า เวียงต้านหรือเวียงตาลในปัจจุบัน การสู้รบที่เมืองต้านศึกทำให้พญาเบิกพ่ายแพ้เสียทัพอย่างสิ้นเชิง จึงถูกจับได้ก็ไม่อาจใช้ศาสตราวุธใด ๆ ปลงพระชนม์ได้เนื่องจากคงกระพันชาตรีเป็นที่ยิ่ง ทหารจึงนำตัวพญาเบิกไปขุดหลุมฝังทั้งเป็นจนสิ้นพระชนม์” (ที่มา นายอุดม สืบหล้า )

จากประวัติศาสตร์นี้จึงทำให้มีการสร้างอุทยานประวัติศาสตร์เจ้าพ่อขุนตาน (พญาเบิก) ที่ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปางและสร้างศาลเจ้าพ่อขุนตาลในพื้นที่หมู่บ้านห้างฉัตรเหนือ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง เพื่อเป็นศุนย์กลางทางความเชื่อและความศรัทธารวมถึงเป็นที่พึ่งทางจิตใจของชาวบ้านในอำเภอห้างฉัตร

นอกจากสถานที่ทางประวัติศาสตร์แล้วยังมีวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับเจ้าพ่อขุนตาน เนื่องจากชาวบ้านในอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง มีวัฒนธรรมประเพณีพิธีกรรมที่ยึดเอาเจ้าพ่อขุนตานเป็นศูนย์กลางของชุมชนยังคงรักษาและสืบทอดประเพณีพิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเจ้าพ่อขุนตาน ซึ่งบางประเพณีก็ไม่มีการประกอบพิธีกรรมหรือประเพณีนี้ที่ไหนอีกแล้วมีแค่ในอำเภอห้างฉัตร ซึ่งประเพณีและพิธีกรรมเหล่านี้ได้มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ พิธีกรรมไขประตูดอยเป็นภูมิปัญญาแห่งการจัดการน้ำ พิธีกรรมเลี้ยงห้วยเลี้ยงฮ่องเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม พิธีกรรมหลงใหม่และวังอี่นาเป็นพิธีกรรมเกี่ยวข้องกับธรรมชาติเป็นภูมิปัญญาแห่งการเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งพิธีแห่ช้างเผือกเป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาแห่งการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างอ่อนน้อมถ่อมตนบนความเชื่อความศรัทธามานับหลายร้อยปี รวมถึงพิธีแห่หอผ้า ประเพณีวัดดอยนาย(ปางม่วง) และสุดท้ายคือประเพณีแห่บอกไฟ

จากประวัติศาสตร์มาสู่ปัจจุบันซึ่งเราเป็นคนในท้องถิ่นที่มีความภาคภูมิใจในชุมชนจึงอยากจะเล่าเรื่องเราในท้องถิ่นของเราเพื่อให้ผู้อื่นได้รู้และมาท่องเที่ยวในชุนของเราที่ไม่ได้มีแค่อุทยานประวัติศาสตร์เพียงอย่างเดียวแต่ยังมีวัฒนธรรมประเพณีที่มีเอกลักษณ์และมีความโดดเด่นรวมถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนที่เรียบง่าย จากการเล่าเรื่องราวนี้เราหวังว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้สิ่งดี ๆ เช่นสถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรมประเพณี ที่มีในชุมชนไม่หายไปตามกาลเวลา

18,506 views

1

share

Museum in Lampang

21 March 2019
9,929
655
13 February 2023
18,963
689
04 August 2019
4,842
613
04 August 2019
7,080
662
21 March 2019
15,767
615
04 December 2019
5,315
676
02 September 2021
30,569
654
21 March 2019
7,641
593