คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

“สะพานรัษฎาภิเศก”

“สะพานรัษฎาภิเศก” แลนด์มาร์กทรงเสน่ห์คู่เมืองลำปาง

            “สะพานรัษฎาภิเศก” หรือ “สะพานขาว” ที่เป็นดังแลนด์มาร์กของเมืองรถม้าลำปาง ได้มีอายุครบ 100 ปีแล้วเป็นเวลายาวนานที่สะพานสีขาวสะอาดตา โดดเด่นด้วยเส้นโค้งทรงคันธนูรวม 4 โค้งทอดข้ามผ่านแม่น้ำวัง ให้ผู้คนได้ใช้สัญจรผ่านไปมาระหว่างสองฝั่งแม่น้ำในเขตใจกลางเมืองลำปาง และกลายเป็นสัญลักษณ์คู่เมืองที่ชาวลำปางคุ้นตา  

              สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ในเขตตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เจ้าผู้ครองนครเป็นผู้ที่ตั้งชื่อจากพิธีเฉลิมฉลองรัษฎาภิเษก สมัยรัชกาลที่ 5 สะพานรัษฎาเป็นสะพานร่วมสมัยกับยุคอารยธรรมรถไฟมีอายุผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มาแล้วและรอดพ้นจากการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรมาได้ด้วยการทาสีพรางตา และมีการอ้างว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของนางลูซี สคาร์ลิง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวิชานารีซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกองทัพสัมพันธมิตรในขณะนั้น

             นอกจากนี้ เดิมเป็นสะพานไม้เสริมเหล็กชำรุดผุพัง จึงมีการก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลำปาง ซึ่งมีชื่อเรียกกันหลายชื่อเช่น “ขัวสี่โก๊ง”(สะพานสี่โค้ง) “ขัวหลวง” (สะพานใหญ่) และ “ขัวขาว” (สะพานขาว) ถือว่าเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความคงทนมากกว่าสะพานรุ่นเดียวกันที่ไม่เหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน นอกจากนี้ตรงหัวของสะพานยังมีสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงความเป็นมาดังนี้

 

- เสาสี่ต้น ที่ตั้งอยู่หัวสะพานฝั่งละสองต้น หมายถึงความมั่นคงแข็งแรง

- ครุฑสีแดงด้านหน้าของเสาทุกต้น เป็นตราสัญลักษณ์ของแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 6

 

- พวงมาลัยยอดเสาทั้งสี่ด้านของเสา หมายถึง เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

- ไก่หลวง หรือ ไก่ขาว ตรงกลางเสา เป็นสัญลักษณ์ประจำนครลำปาง

          จากที่กล่าวมาข้างต้นนอกจากรถม้า และถ้วยตราไก่ เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดลำปางแล้ว"สะพานรัษฎา" ก็เป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของลำปางที่แขกไปใครมาเป็นต้องแวะมาถ่ายรูปถือว่าเป็นแลนด์มาร์กของจังหวัดลำปางอีกแห่งหนึ่งอีกด้วย เมื่อมาเยือนจังหวัดลำปางสิ่งที่พลาดไม่ได้อีกอย่างคือทุกวันเสาร์ และ วันอาทิตย์ จะมีถนนคนเดินที่ขึ้นชื่อของจังหวัดลำปางอีกแห่งหนึ่งด้วยคือ “กาดกองต้า” ซึ่งเป็นย่านตลาดเก่า ดังนั้น เมื่อมาจังหวัดลำปางต้องมาที่สะพานรัษฎา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของถนนคนเดินกาดกองต้า  ตั้งหลักที่จุดนี้แล้วค่อย ๆ เดินปล่อยใจไปกับบรรยากาศครึกครื้นรอบตัว หรือจะแวะพักจิบกาแฟริมทางให้ชื่นใจก็ผ่อนคลายดีไม่น้อย ดังนั้นหากมีเวลาว่างในช่วงสุดสัปดาห์คงต้องรีบเก็บกระเป๋าออกเดินทางไปแอ่วเมืองเหนือมา “ลำปางแต่...ไม่ลำพัง”

 

ข้อมูลจาก http://www.manager.co.th/Food/ViewNews.aspx?NewsID=9600000034099

18,584 views

0

share

Museum in Lampang

21 March 2019
9,919
655
13 February 2023
18,920
689
04 August 2019
4,838
613
04 August 2019
7,059
662
21 March 2019
15,745
615
04 December 2019
5,305
676
02 September 2021
30,475
654
21 March 2019
7,619
593