คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

รถม้าเมืองลำปาง

นครเขลางค์รถ 4 ขาม้า 2 ล้อ

นครเขลางค์รถ 4 ขาม้า 2 ล้อ แน่นอนว่าต้องกล่าวถึง เอกลักษณ์ของจังหวัดลำปางนั้นก็คือ ”รถม้า”  พาหนะที่คนลำปางใช้ในการเดินทาง  เป็นจังหวัดเดียวที่ยังคงพบเห็นการใช้รถม้าในปัจจุบัน จนมีคำกล่าวเอาไว้ว่า “หากใครมาแอ่วเมืองลำปางแล้วไม่ได้นั่งรถม้าถือว่ามาไม่ถึง” ทั้งนี้รถม้าในลำปางนั้นถือว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมายาวนานเกือบร้อยปี

ซึ่งย้อนไปในอดีต รถม้าเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงสั่งรถม้าเข้ามาเป็นจำนวนมากเพื่อใช้เป็นรถหลวง กระทั้งรถยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาท รถม้าจึงได้ถูกกระจายออกจากกรุงเทพฯ และในช่วง พ.ศ.๒๔๕๘ ได้มีการวางรางรถไฟขึ้นมาจนถึงลำปาง รถม้าจึงมีบทบาทสำคัญด้วยการเป็นยานพาหนะรับส่งผู้โดยสารจากสถานีรถไฟจังหวัดลำปางเข้าสู่ตัวเมือง  

  สำหรับลักษณะของรถม้าลำปางนั้นเป็นรถแบบเปิดประทุน ที่นั่งผู้โดยสารคล้ายคลึงกับที่นั่งของจักรยานสามล้อ แต่มีขนาดใหญ่กว่า อยู่ทางตอนหลังของที่นั่งคนบังคับ ซึ่งมีระดับสูงกว่าเล็กน้อย นั่งได้คันละไม่เกิน ๔ คน ในอดีตรถม้ามีเพียง ๒ ล้อ ถ้าจะพิจารณาถึงรถม้าทรงคันที่ล่ม เพราะมีเพียง ๒ ล้อเท่านั้นจึงล่มง่ายเหลือเกิน เพียงล้อหนึ่งปีนขึ้นไปบนแท่นอิฐ รถก็พลิกได้ ถ้ามีสี่ล้อคงไม่ล่มง่าย อย่างนั้น รถม้าตอนปลาย ๆ รัชกาลที่ ๔ จึงได้มี ๔ ล้อ สองล้อหลังใหญ่ สองล้อหน้าเล็ก ใช้ยางตัน ที่นั่งสารถีอยู่ข้างหน้า ด้านหลังก็มีเบาะสำหรับคนนั่ง มีประทุนทำด้วยผ้าใบ

 

อาชีพหนึ่งที่กำเนิดขึ้นได้เพราะรถม้าคือ สารถีนั้นหรือคนขับรถม้านั้นเอง นายกสมาคมกล่าวว่า "สารถีเป็นคนจังหวัดลำปาง 100 % ดังนั้น เขาจะมีความผูกพันและรู้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญต่างๆ สามารถบรรยายได้อย่างคร่าวๆ

ปัจจุบันลูกค้าส่วนมากจะเป็นพวกกรุ๊ปทัวร์มีทั้งทัวร์ในประเทศเช่นทัวร์จากภาคใต้ ภาคอีสานจะมาแวะที่ลำปางก่อนจะขึ้นเหนือไปเชียงใหม่ ส่วนทัวร์จากต่างประเทศส่วนมากจะเป็นทัวร์จากประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ก็พอมี ทางยุโรปก็มีเช่นประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์

เกศราพรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า "รถม้าเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลำปาง อยากจะให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์และรักษาเอาไว้ คนลำปางจะได้มีอาชีพ และถ้าไม่มีรถม้านักท่องเที่ยวอาจจะไม่แวะลำปาง อาจจะเลยไปเชียงใหม่ เชียงรายเลยก็ได้"

สำหรับรถม้าลำปางจะมีให้คนไทยได้สัมผัสเชยชมอีกนานแค่ไหน ถือเป็นเรื่องที่ไม่มีใครตอบได้ แต่ตราบใดที่ยังคงมีคนมองเห็นในคุณค่าของรถม้าลำปาง และมีใจที่จะอนุรักษ์รถม้าไว้ ตราบนั้นลำปางก็ยังมีรถม้าอยู่เคียงคูไปอีกนานเท่านาน

แหล่งที่มา

เว็บไซต์สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลำปาง [ http://pvlo-lpg.dld.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=70%3A2011-01-06-04-30-47&catid=35%3A-2553 ]

14,004 views

0

share

Museum in Lampang

21 March 2019
9,924
655
13 February 2023
18,943
689
04 August 2019
4,839
613
04 August 2019
7,075
662
21 March 2019
15,753
615
04 December 2019
5,310
676
02 September 2021
30,531
654
21 March 2019
7,628
593