คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

ผางประทีป

จากหม้อดินเผาสู่ผางประทีป

 

          ผางประทีปเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในภาคเหนือเป็นอย่างมาก เนื่องจากมักจะใช้ในงานประเพณีลอยกระทง หรือใช้ในโอกาสต่างๆ บ้านสันกลางบ่อแฮ้ว ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นชุมชนหนึ่งที่ยังคงมีการทำผางประทีปอยู่โดยจะมีผู้สูงอายุที่จะเป็นผู้ผลิต ผางประทีปเป็นภาชนะดินเผาที่ตรงกลางมีลักษณะเป็นหลุมลงไปไม่ลึกมาก เพื่อให้เพียงพอต่อการใส่ไส้เทียนที่ทำมาจากฝ้ายและขี้ผึ้ง ซึ่งมักจะพบเห็นการทำได้ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคมจะเป็นช่วงของการทำตัวผางประทีปที่เป็นภาชนะดินเผา เริ่มต้นจากการนำดินเหนียวที่มีการหมักเรียบร้อยแล้วนั้นมาปั้นขึ้นรูปเป็นตัวผางประทีป จากนั้นก็ผึ่งลมทิ้งไว้ให้พอหมาดแล้วนำไปเผา ซึ่งการเผานั้นเป็นการเผาโดยใช้ฟางข้าวเป็นเชื้อเพลิงตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้าน ตัวผางประทีปที่เป็นภาชนะดินเผานั้นจะมีการทำสะสมและเก็บไว้ใกล้ถึงช่วงเทศกาลลอยกระทงก็จะมีใส่ไส้เทียนและหล่อขี้ผึ้งลงไป แล้วผึ่งไว้ให้แห้งจากนั้นก็จะนำไปจำหน่ายต่อไป

          ก่อนที่จะมีการทำผางประทีปนั้นเดิมชุมชนแห่งนี้ได้มีการทำหม้อดินเผามาก่อนและทำควบคู่กันมา จากคำบอกเล่าก็เป็นเวลายาวนานราว 70 ปีเป็นต้นไป หม้อดินเผาเป็นภาชนะประเภทหนึ่งที่ทำมาจากดินเหนียว โดยในชุมชนแห่งนี้หม้อดินเผาจะมีเอกลักษณ์โดดเด่นคือ หลังจากการปั้นขึ้นรูปแล้วนำไปผึ่งแดดทำให้แห้งในระดับหนึ่งแล้วนั้นจะมีการนำไปชุบน้ำดินเหลืองเพื่อที่จะทำให้สีของหม้อดินเผามีสีสันที่สวยงามยิ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะนำหม้อดินเผาไปใช้สำหรับใส่น้ำเพื่อนำไปใช้ในการอุปโภค – บริโภค ในชุมชนแห่งนี้เดิมก่อนที่จะมีการทำผางประทีปนั้นก็มีการทำหม้อดินเผามาก่อนและทำควบคู่กันมา โดยที่จะมีพ่อค้าคนกลางมารับหม้อดินเผาไปจำหน่าย รวมถึงชุมชนใกล้เคียงจะมารับหม้อดินเผาไปใช้ใส่น้ำตาลจากต้นตาลหาบเร่ไปขายในพื้นที่อำเภอเมืองอีกที แต่ต่อมาเมื่อต้นตาลเริ่มลดน้อยจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม อีกทั้งการใช้หม้อดินเผาก็เริ่มมีจำนวนน้อยลงจึงทำให้หม้อดินเผาลดกำลังการผลิตลง ชาวบ้านซึ่งเป็นผู้ผลิตทั้งหม้อดินเผาและผางประทีปนั้นก็ได้หันมาทำผางประทีปเป็นส่วนใหญ่ที่ส่งผลให้การทำหม้อดินเผาได้หายไปในที่สุด ซึ่งในปัจจุบันนี้เหลือเพียงการทำผางประทีปเพียงอย่างเดียว

          จากข้างต้นทำให้เห็นถึงการสูญหายของวัฒนธรรมรวมถึงภูมิปัญญาดั้งเดิมของชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ ทั้งนี้มาจากการที่กระแสความนิยมต่างๆได้เปลี่ยนไป อีกทั้งผู้ที่สืบทอดในรุ่นใหม่ก็ไม่มีแล้วนั้น ทำให้เหลือเพียงผู้สูงอายุที่ยังสืบทอดอยู่ ถ้าหากคนในชุมชนรวมถึงเยาวชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของวัฒนธรรม ภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ใกล้จะสูญหายไปกับผู้ที่สืบทอดรุ่นก่อนที่ในปัจจุบันเริ่มมีอายุมากแล้วนั้น  ก็อาจจะส่งผลให้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนได้สูญหายไปในที่สุด

6,681 views

2

share

Museum in Lampang

21 March 2019
9,919
655
13 February 2023
18,915
689
04 August 2019
4,838
613
04 August 2019
7,058
662
21 March 2019
15,744
615
04 December 2019
5,305
676
02 September 2021
30,473
654
21 March 2019
7,619
593