คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

วัดโพธารามมหาวิหาร

วัดโพธารามหาวิหาร หรือวัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่

บทความ วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด) จังหวัดเชียงใหม่

วัดมหาโพธารามเป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางหลวงซุปเปอร์ไฮเวย์เชียงใหม่-ลำปาง ภายในวัดจัดแบ่งสัดส่วนได้เป็นอย่างดี มีความร่มรื่นสวยงามของต้นไม้และการตกแต่งภายในบริเวณตามความเก่าแก่ได้อย่างเหมาะสม วัดโพธารามมหาวิหารเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญมากในอดีตต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันเนื่องจากเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนทั้งอดีตและปัจจุบัน วัดโพธารามมหาวิหารมีศาสนสถานภายในบริเวณมากมาย วัดมหาโพธารามหรือวัดเจ็ดยอดเป็นโบราณสถานอันขึ้นชื่อของเชียงใหม่ด้วยมีสถาปัตยกรรมอันสง่างาม ทรงยอดปรางค์แบบพุทธคยาอินเดียมีอยู่เจ็ดยอดด้วยกันและมีลายปูนปั้นที่ฐานพระเจดีย์ รูปเทวดายืนและนั่ง เรียงรายโดยรอบเป็นการคุ้มครองปกป้องรักษาสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์นี้ ฝีมือการปั้นปูนไม่ว่าจะเป็นรูปเทวดาหรือลวดลายล้วนงามอย่างวิเศษ ประวัติวัดเจ็ดยอดหรือวัดมหาโพธารามนี้ว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช พระองค์โปรดให้ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่นำมาด้วยในครั้งนั้น วัดนี้จึงมีชื่อว่า “วัดมหาโพธาราม” และโปรดให้สร้างสัตต มหาสถาน คือ สถานที่ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้าเสวยวิมุตติสุขภายหลังการตรัสรู้ แห่งละ ๗ วัน รวมเป็น ๔๙ วัน อันประกอบด้วย รัตนบัลลังก์ อนิมิสเจดีย์ รัตนจงกรม รัตนฆรเจดีย์ อัชปาลนิโครธ (ต้นไทร) สระมุจลินท์ (ต้นจิก) และ ราชายตนะ(ต้นเกด) วัดมหาโพ-ธารามยังเป็นสถานที่ทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘ ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช เมื่อปี พ.ศ.๒๐๒๐ นับเป็นครั้งแรกของดินแดนไทย ณ วัดมหาโพธารามนี้ใช้เวลา ๑ ปี จึงจะสำเร็จ เรียกได้ว่าเป็นการชำระตรวจสอบความถูกต้องโดยใช้ตัวอักษรธรรมล้านนาจารึกเป็นภาษาพระไตรปิฎกขึ้นเป็นครั้งแรก ณ วัดเจ็ดยอดแห่งนี้ โดยมีพระธรรมทินมหาเถระเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระเจ้าติโลกราชเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์

ซึ่งรูปแบบแผนผังและศิลปกรรมของวิหารมหาโพธิ์มีลักษณะเดียวกับวิหารมหาโพธิ์ที่พระพุทธคยาในประเทศอินเดีย คือ มีวิหารต้นพระศรีมหาโพธิ์และมีสัตตมหาสถานตามตำแหน่งเดียวกัน ส่วนรูปแบบอาคารเป็นทรงศิขรแบบศิลปะภาคเหนือ และแนวคิดในการออกแบบอันแสดงถึงสถานที่ตรัสรู้ ได้แก่ ต้นพรศรีมหาโพธิ์หรือโพธิบังลังก์ คือ สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ที่ผนังวิหารประดับเทวดาปูนปั้นอันหมายถึงเทพชุมนุมในคราวที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ ปรากฏทวยเทพจากหมื่นจักรวาลลงมาแสดงความยินดี พร้อมดอกไม้ทิพย์โปรยปรายลงมาลักษณะทางศิลปกรรม เครื่องทรงเทวดาได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะลังกา ส่วนลวดลายดอกไม้ร่วงเป็นอิทธิพลศิลปะจีน ภายในวัดแห่งนี้ยังปรากฏงานศิลปกรรมที่สำคัญที่สร้างขึ้นในภายหลัง เช่น กู่ที่บรรจุพระเจ้าติโลกราชที่พระเจ้ายอดเชียงรายโปรดให้สร้างขึ้นบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระศพของพระเจ้าติโลกราช ในปี พ.ศ.๒๐๓๔พระอุโบสถและกู่พระแก่นจันทน์ที่สร้างขึ้นเมื่อคราวบูรณะในสมัยพระเมืองแก้วอีกด้วย

วัดมหาโพธารามแห่งนี้มีความสำคัญต่อชาวเชียงใหม่เป็นอย่างมาก ทั้งคุณค่าทางด้านจิตใจ และคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจ เพราะว่าวัดมหาโพธารามแห่งนี้มีความเก่าแก่ทางด้านศิลปะ รูปแบบวัดดั้งเดิม ทั้งยังมีสัตมหาสถานจำลองที่สำคัญภายในวัดแห่งนี้ด้วย ทั้งนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการร่วมกันอนุรักษ์ สืบทอดและเผยแพร่วัตถุทรงคุณค่าเหล่านี้ไว้ในฐานะเยาวชนคนรุ่นใหม่และนักท่องเที่ยวต่างถิ่น

10,381 views

0

share

Museum in Chiang Mai

14 September 2023
23,180
551
16 July 2020
23,338
1,637
11 January 2019
3,460
301
07 February 2022
47,059
794
11 August 2018
8,323
595
08 August 2022
7,096
608
30 April 2019
38,156
718
17 March 2022
34,903
688