คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

เรื่องเล่า"วัดท้ายยอ

ความเป็นมาวัตถุโบราณ์

เรื่องเล่า “วัดท้ายยอ

http://oknation.nationtv.tv/blog/home/blog_data/138/41138/images/DSCF0975_resize.JPG

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 ดิฉันได้ยินเรื่องราวของวัดท้ายยอจากใครก็มิอาจจำได้ แล้วก็มีโอกาสแวะเวียนไปชื่นชมอยู่หลายครั้ง นับแต่ยังไม่มีการบูรณะ รูปทรง สีสัน ร่องรอยความเก่าคร่ำคร่าผุผังยังอวดตัวแฝงอยู่ในความงามอันขรึมขลังสะกดสายตา

                เกาะยอ อีกจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสงขลา "วัดท้ายยอ" อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนา และยังเป็นวัดเก่าแก่ของตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยวัดนั้นตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก ค่อนไปทางทิศใต้ของเกาะยอ เป็นวัดที่ได้รับการประกาศให้เป็นวัดเมื่อปี พ.ศ.2311

                เคยคิดที่จะหาผู้สนใจมาขยายผลถอดองค์ความรู้ในการสร้างเรือนที่มีหลักการและแนวทางที่น่าสนใจยิ่ง แต่ก็ติดขัดว่าไม่มีใครมาเป็นผู้นำรับช่วงต่อ

                วัดท้ายยอ ในประวัติบ่งบอกไว้ว่าเป็นวัดแรกบนเกาะยอ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2311 ภายในวัดมีสถานที่น่าสนใจ เช่น กุฏิเรือนไทย อายุกว่า 200 ปี หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเกาะยอ และกระเบื้องลอนแบบเดิม เป็นกุฏิที่สร้างขึ้นตามหลัก “มาตราสูตร” ซึ่งว่าด้วยสูตรการคำนวณจากรูปร่างของเจ้าของเรือน และ “มงคลสูตร” เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของเรือน

                พูดถึงกุฎิเจ้าอาวาสวัดท้ายยอ ว่าเป็นเรือนไทยปักษ์ใต้ที่ถึงพร้อม "มงคลสูตร" และ "มาตราสูตร" ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลเกาะยอ อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ด้านหน้าหันออกสู่ทะเลสาบสงขลา มีลานกว้าง ส่วนด้านหลังเป็นเขาเรียกว่า เขาเพหาร อันหมายถึง "วิหาร" นั่นเอง ลักษณะเด่นของกุฏิเป็นเรือนหมู่ 3 หลัง เรียกตามลักษณะมงคลสูตรว่า "แบบพ่อแม่พาลูก" หากเป็นแบบ 2 หลัง เรียกว่า ดาวเคียงเดือน

                ประวัติสร้างวัดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน (ความจริงสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2311) สมาคมสถาปนิกสยามสันนิษฐานว่า น่าจะสร้างในช่วงรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากการใช้วัสดุกระเบื้องเกาะยอเริ่มทำขึ้นโดยชาวจีนและนิยมแพร่หลายในสมัยนั้น หรือจะสร้างในช่วงรัชกาลที่ 4 ที่เปลี่ยนมาเป็นวัดธรรมยุตินิกาย ร่วมสมัยกับเจดีย์บนเขาพิหารเป็นเจดีย์ทรงลังกา ศิลปะร่วมสมัยรัชกาลที่4

http://oknation.nationtv.tv/blog/home/blog_data/138/41138/images/DSCF0963_resize.JPG การสร้างกุฏิตามหลัก "เรือนสูตร" หรือ "สูตรเรือน" ที่ถูกต้องตามหลักการ มงคลสูตร และ มาตราสูตร นิยมสร้างกันแบบเฉพาะอาคารบ้านเรือนหรือที่อยู่อาศัยของผู้มีฐานะ มีอำนาจเช่นกำนัน และกุฏิเจ้าอาวาสเท่านั้น แต่เดิมในชนบท ผู้นำท้องถิ่นด้านการปกครองดูแลลูกบ้านที่สำคัญ ด้านฆราวาสก็คือกำนัน ส่วนด้านบรรพชิตก็คือเจ้าอาวาสในละแวกนั้น การสร้างกุฎิจึงสร้างให้เฉพาะคนกลุ่มนี้คนธรรมดาสามัญไม่นิยมสร้างบ้านแบบนี้
คำว่า... "เรือนสูตร" หรือ "สูตรเรือน" และ "มงคลสูตร" ผู้รู้ได้อธิบายไว้ว่าคนโบราณเชื่อว่าในการสร้างอาคารบ้านเรือน มี 2 สาย คือ สายสัมมาทิฎฐิ เช่น การสร้างบ้านที่อยู่อาศัย สร้างศาลา สร้างกุฎิ เป็นต้น จะออกจั่วก่อน หมายถึงจะเริ่มด้วยการสร้างจั่วก่อนส่วนอื่น จึงน่าจะสอดรับกับภาษิตที่ว่า "รักดีแบกจั่ว" สายมิจฉาทิฏฐิ เช่น การสร้างโรงเรือน เตาเผาสุรา โรงบ่อนการพนัน จะออกเสาก่อน คือการเริ่มต้นด้วยการขุดหลุมลงเสาก่อน ซึ่งสอดรับภาษิตที่ว่า"รักชั่วหามเสา" ด้วยเชื่อว่าจะมีความหนักแน่นในกิจการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นอกจากนั้นวัดท้ายยอ ยังมีโบราณสถานและโบราณวัตถุควรค่าแก่การศึกษาและเรียนรู้ อาทิ บ่อน้ำโบราณ สระน้ำโบราณ โรงเรือพระ สถูป หอระฆังที่สวยงาม และมีร่องรอยของท่าเรือโบราณ ซึ่งเคยเป็น ศูนย์กลางการคมนาคม ของชาวเกาะยอ ด้านหลังของวัดท้ายยอเป็นที่ตั้งของ เขาเพหารหรือเขาวิหาร ซึ่งประดิษฐานเจดีย์ทรงลังกาที่งดงาม ควรค่า แก่การช่วยกันอนุรักษ์ไว้สืบไป

นอกจากนั้นในทางมงคลสูตร ยังเกี่ยวข้องกับการกำหนดวันเดือนปีและเวลาในการหาฤกษ์ยามที่เป็นมงคลและ ความเป็นสิริมงคลอื่นๆ เช่น รวย มิ่ง เจริญ มาเป็นส่วนร่วมในการยกเสา การสวดมนตร์ เซ่นไหว้พระภูมิเจ้าที่ การหันหน้าบ้านไปยังทิศมงคล การสร้างบ้านให้อยู่ในลักขณา "ลอยหวัน" ไม่สร้างเป็น "ขวางหวัน" รัศมีขององค์พระทรงศร(แสงอาทิตย์) เชื่อว่าเป็นมงคล คำว่า "ขวาง" ก็ให้ความหมายในทาง "ขัดขวาง" ฟังแล้วก็ไม่เป็นมงคล ในด้านมงคลสูตรได้กำหนด แม้แต่การเลือกไม้หรือวัสดุมาใช้ อย่างเช่น ไม้กอมาสร้างเป็นเสาบ้านความหมายก็คือจะแตกเป็นกอกอ ออกลูกหลานก่อนให้เกิดสิ่งดีๆ สู่บ้านจะใช้ "ไม้นาคบุก" ทำเป็นบันได ด้วยความเชื่อถือเกี่ยวกับ"บันไดนาค" มีเสียงคำว่านาคที่พ้องกันและใช้ไม้กลิ่นหอมชื่นใจ เปรียบเสมือนการต้อนรับเข้าสู่ตัวบ้านด้วยความชุ่มชื่นใจ

สำหรับกระเบื้องดินเผาไม่ว่าจะเป็นอิฐเผา หรือกระเบื้อง หากนำมาสร้างกุฎิแล้วช่างจะกำหนดให้คุณภาพดีเลิศ ที่มาใช้ในเกาะยอ คือว่ามีชื่อเสียงเป็นพื้นที่ให้ความนิยมกันมาก จนมีคำกล่าวยืนยันว่า "ทิ้งทำหม้อ เกาะยอทำอ่าง หัวเขาดักโพงพาง บ่อยางทำเคย บ่อเตยทำได้" เมื่อครั้งรัชกาลที่ 5 มีการบูรณะพระวิหารพระธาตุไชยา กำหนดให้ใช้กระเบื้องเกาะยอ จังหวัดสงขลา

ทั้งหมดนี้ล้วนแต่กำหนดเป็นมงคลสูตร คือ "สูตรแห่งการเกิดมงคล" ใน การสร้างอาคารบ้านเรือนเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัยทั้งสิ้น.

 

จัดทำโดย  

นางสาวปัณฑิตา   พงศ์อักษร

สาขา การประกอบการและการจัดการ

คณะ เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ

มหาวิยาลัยทักษิณสงขลา

 

 

 

 

6,279 views

3

share

Museum in Songkhla

25 December 2019
36,275
673
04 July 2019
11,284
683
15 September 2023
7,959
628
04 July 2019
12,239
632
04 July 2019
5,625
601
04 July 2019
11,949
613