คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

เศรษฐกิจชุมชนแม่ขรี

พัฒนาการเศรษฐกิจชุมชนแม่ขรี : ศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าสำคัญของพัทลุง พ.ศ. 2490 - 2550

พัฒนาการเศรษฐกิจชุมชนแม่ขรี : ศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าสำคัญของพัทลุง  พ.ศ. 2490 - 2550

 

สุริยา  แปลงจะโปะ[1]

Suriya Plangjapon

 

          เมื่อกล่าวถึงแม่ขรีในยุคปัจจุบัน เราอาจนึกถึงภาพของเมืองที่เต็มไปด้วยย่านการค้าและย่านสถานบันเทิงที่หลากหลายที่เปรียบดั่งเมืองสวรรค์ของผู้คนที่เข้ามาในแม่ขรี ซึ่งทำให้แม่ขรีกลายเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นลำดับต้น ๆ ของจังหวัดพัทลุง ภาพความเจริญดังกล่าวอาจทำให้เราคิดไปว่าแม่ขรีเป็นเมืองศิวิไลซ์ ที่มีพัฒนาการความเป็น “เมือง” มายาวนานไม่ต่างอะไรไปจากเมืองใหญ่ ๆ เช่น เมืองหาดใหญ่ เมืองบางแก้ว เมืองควนเนียง แต่จากการค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า แม่ขรีมิใช่เมืองที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เมื่อเปรียบเทียบกับ ชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ชุมชนตะโหมดซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในขณะที่เมืองเหล่านี้ ปรากฎร่อยรอยทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาอย่างน้อยที่สุดก็หลาย 100 ปี แต่แม่ขรีกลับไม่มีร่อยรอยของการก่อตั้งถิ่นฐานชุมชน หรือ อาณาจักรโบราณในพื้นที่แต่อย่างใด

         ชุมชนแม่ขรีเป็นชุมชนหนึ่งที่เกิดจากเส้นทางการค้าขายของชาวอินเดียหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงทศวรรษ 2480 ก่อนหน้านี้ชุมชนแม่ขรีไม่มีการตั้งถิ่นฐานของผู้คน ยังเป็นเเค่เพียงทุ่งหญ้าสลับกับต้นไม้ ทางทิศเหนือของทุ่งมีลำคลอง ทำให้ชาวปลักปอมกับชาวตะโหมดซึ่งตั้งชุมชนอยู่ทางทิศตะวันตกใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงวัว และเป็นเส้นทางผ่านเพื่อเดินทางจากบ้านตะโหมด และบ้านปลักปอม ไปขึ้นรถไฟที่สถานีบางแก้วหรือไปค้าขายที่ตลาดบางแก้ว (สภาลานวัดตะโหมด 2543 : 16)        

           ต่อมา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แม่ขรีมีการพัฒนาตนเองมาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว  จนกลายเป็นชุมชนเมืองที่มีประชากรหนาแน่น โดยมีความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจังหวัดพัทลุงรองจากอำเภอเมือง ทำให้แม่ขรี“กลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้า การคมนาคม”การศึกษาของชุมชนใกล้เคียง มาจนถึงปัจจุบัน

          พัฒนาการชุมชนแม่ขรี : บทบาทเมืองศูนย์กลางการค้า ช่วง พ.ศ. 2490 - 2550

           ระบบเศรษฐกิจการค้าของชุมชนแม่ขรี ก่อน ทศวรรษ 2490 เป็นระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ โดยมีระบบการผลิตที่หลากหลาย ในช่วงนี้เป็น การผลิตเพื่อกินเพื่อใช้ แต่ส่วนเกินจากการกินก็จะนำไป ซื้อขายแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่น ในช่วงแรกของการก่อตั้งชุมชนปลายทศวรรษ 2480 ผู้คนใน แม่ขรีจะนำผลผลิตทางการเกษตรมีทั้ง ข้าว ยางพารา ผลไม้ต่าง ๆ ไปขายที่ตลาดบางแก้ว เช่นเดียวกับนายจาบ ชนะสิทธิ์ ได้สร้างธุรกิจของตนเองในแม่ขรีโดยการรับซื้อ “ขี้ยาง” ไปขายที่ตลาดบางแก้ว (สุรีรัตน์  ศิริสวัสดิ์ และ คณะ 2555 : 315 ) จนในปี พ.ศ. 2497 เป็นต้นมา กำนันสมพร ชนะสิทธิ์ ได้จัดตั้งตลาดถาวรขึ้นในแม่ขรี ทําให้มีผลผลิตมาแลกเปลี่ยนมากชนิด และผู้คนจากชุมชนอื่น ๆ ต่างเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันหนาแน่น จนทำให้ชุมชนเกิดการขยายตัวและเจริญรุ่งเรืองขึ้นของชุมชนอย่างรวดเร็ว

         

 

 

 

 

การค้าของชุมชนแม่ขรีช่วงทศวรรษ 2500

จนในทศวรรษ 2530 - 2550 เกิดการขยายตัวทางการค้ามากขึ้นภายในชุมชนประกอบภาคการเกษตรก็มีผลผลิต ราคาที่สูงขึ้น อันเป็นผลมาจากปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะทางภูมิศาสตร์  บทบาทผู้นำชุมชน  การเมืองท้องถิ่น  เส้นทางคมนาคม เป็นต้น จนทำให้แม่ขรีกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของชุมชน ทั้งการเป็นศูนย์กลางรับซื้อผลผลิตการเกษตร แหล่งรวมสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือน อุปกรณ์การทำเกษตร ที่พร้อมจะสนองต่อผู้บริโภคในทุก ๆ ด้าน แม่ขรีจึงเจริญรุ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา(ประมวล มณีโรจน์ (ผู้ให้สัมภาษณ์) สุริยา  แปลงจะโปะ (ผู้สัมภาษณ์) ที่บ้านเลขที่ 55 ม.11 ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559)

       
 
   
 

 

 

 

 

 

 

          การค้าของชุมชนแม่ขรีช่วงทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา

 

 

[1] 140 ม. 7 ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง 93160.

 

7,264 views

0

share

Museum in Phatthalung

29 January 2021
14,920
593
30 July 2018
4,437
600