คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

หลงรักเลใน

เสน่ห์แห่งทะเลสาบ

       หากพูดถึงจังหวัดสงขลาแล้ว หลายคนคงนึกถึง หาดใหญ่ เมืองแห่งการค้าชื่อดัง น้อยคนนักที่จะนึกถึงตัวเมืองสงขลา อาจจะเป็นเพราะเมืองสงขลาไม่ใช่เมืองน่าเที่ยวยอดฮิตและไม่ค่อยมีโอกาสที่จะได้เป็นตัวเลือกสำหรับนักเดินทาง แต่ถ้าพูดถึงทะเลสาบสงขลาแล้วล่ะก็ แน่นอนว่าหลายๆคนต้องมีความทรงจำตอนเด็กกับที่นั่นไม่มากก็น้อย เช่นเดียวกับผู้เขียน

      "เล" คำใต้ที่ย่อมาจากคำว่า "ทะเล" ทุกคนคงคุ้นเคยกันดีแต่ไม่น่าจะเข้าใจความหมายของคำว่า เลใน สักเท่าไร ในความหมายนั้น เลใน ก็คือทะเลสาบสงขลาซึ่งมีปากทะเลเชื่อมต่อกับอ่าวไทยเป็นเหตุให้มีชื่อเรียกว่า "เลใน"  เป็นภาษาบ้านๆที่ชาวบ้านนอกเขตเมืองหรือเขตชุมชนที่ยังคงไว้ซึ่งป่า เขา ลำเนา ไพร ใช้เรียกแทนถิ่นกำเนิดมาตั้งแต่สมัย ปู่ย่า ตายาย ซึ่งได้มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่าเดิมที เลใน เป็นทะเลน้ำเค็ม แต่ในสมัยนั้นขณะหลวงปู่ทวดได้ขอโดยสารเรือสำเภอเพื่อไปศึกษาธรรม ขณะเดินทางเกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน ต้องทอดสมอไม่สามารถเดินเรือต่อได้ ทำให้เสบียงและน้ำหมดไม่เหลือ ลูกเรือต่างพากันคิดว่าท่านเป็นเหตุให้สำเภาเกิดความเดือดร้อน จึกร่วมกันขับไล่ให้ปล่อยไปเรือเล็กหมายจะทิ้งท่าน แต่ขณะท่านขึ้นเรือเล็กท่านได้ยื่นเท้าเหยียบน้ำทะเล และใช้ให้ลูกเรือตักดื่มกินดู ปรากฎว่าน้ำเค็มได้แปรสภาพเป็นน้ำจืดสนิท ซึ่งเป็นที่มาของ "หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" และทะเลสาบสงขลาก็กลายเป็นเมืองสองเลในปัจจุบัน

      แม้ผู้เขียนเองจะเกิดที่นี่แต่ไม่ได้โตมาจากที่นี่ ก็รับรู้ได้ถึงความพอเพียงที่เพียงพอจากการดำเนินชีวิตของชาวเลใน โดยอาชีพหลักของชาวเลใน คือตื่นแต่หัวรุ่ง เพื่อไปหากุ้งหาปลา ชาวบ้านก็จะรู้เวลาการกลับมาของชาวประมง เช้าหน่อยก็จะไปยืนรอเรือหาปลาที่ชายเล ซึ่งเก็บไว้กินเองบ้างใช่ว่าจะขายทั้งหมด เหลือก็แบ่งเพื่อนบ้านใกล้ๆ อยู่แบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีสสัถานที่ที่ทุกคนให้ความเคารพและเป็นที่รู้จักโดยทั่วกันไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ คือ "บ่อน้ำศักดิ์สิทธื์" ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอะกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ที่เชื่อว่าหากเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว เมื่อได้ดื่มน้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์จะหายจากอาการเจ็บป่วย อันเป็นเหตุมาจากรัชกาลที่ ๕ ที่ได้เสด็จประพาสเกาะสี่ เกาะห้า และเสด็จเข้ามาบริเวณบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ได้เสด็จพักที่พลับพลาและทรงประชวร พระองค์ทรงเสวยน้ำในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ทำให้หายจากอาการประชวร เกิดเป็นความศรัทธาของชาวบ้านตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ยังมีชีวิตที่น่าค้นหาของชาวเลในอีกมากที่หายากในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่การใช้ชีวิตของชาวเลในนั้นยังคงมีเสน่ห์ไม่เปลี่ยนไปตาลกาลเวลา แต่สุดท้ายนั้นการได้มาสัมผัสและได้อยู่ในสถานที่จริง มันคงจะดีกว่าการได้อ่านแค่เรื่องเล่า...

       หากพูดถึงจังหวัดสงขลาแล้ว หลายคนคงนึกถึง หาดใหญ่ เมืองแห่งการค้าชื่อดัง น้อยคนนักที่จะนึกถึงตัวเมืองสงขลา อาจจะเป็นเพราะเมืองสงขลาไม่ใช่เมืองน่าเที่ยวยอดฮิตและไม่ค่อยมีโอกาสที่จะได้เป็นตัวเลือกสำหรับนักเดินทาง แต่ถ้าพูดถึงทะเลสาบสงขลาแล้วล่ะก็ แน่นอนว่าหลายๆคนต้องมีความทรงจำตอนเด็กกับที่นั่นไม่มากก็น้อย เช่นเดียวกับผู้เขียน

      "เล" คำใต้ที่ย่อมาจากคำว่า "ทะเล" ทุกคนคงคุ้นเคยกันดีแต่ไม่น่าจะเข้าใจความหมายของคำว่า เลใน สักเท่าไร ในความหมายนั้น เลใน ก็คือทะเลสาบสงขลาซึ่งมีปากทะเลเชื่อมต่อกับอ่าวไทยเป็นเหตุให้มีชื่อเรียกว่า "เลใน"  เป็นภาษาบ้านๆที่ชาวบ้านนอกเขตเมืองหรือเขตชุมชนที่ยังคงไว้ซึ่งป่า เขา ลำเนา ไพร ใช้เรียกแทนถิ่นกำเนิดมาตั้งแต่สมัย ปู่ย่า ตายาย ซึ่งได้มีเรื่องเล่าต่อๆกันมาว่าเดิมที เลใน เป็นทะเลน้ำเค็ม แต่ในสมัยนั้นขณะหลวงปู่ทวดได้ขอโดยสารเรือสำเภอเพื่อไปศึกษาธรรม ขณะเดินทางเกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน ต้องทอดสมอไม่สามารถเดินเรือต่อได้ ทำให้เสบียงและน้ำหมดไม่เหลือ ลูกเรือต่างพากันคิดว่าท่านเป็นเหตุให้สำเภาเกิดความเดือดร้อน จึกร่วมกันขับไล่ให้ปล่อยไปเรือเล็กหมายจะทิ้งท่าน แต่ขณะท่านขึ้นเรือเล็กท่านได้ยื่นเท้าเหยียบน้ำทะเล และใช้ให้ลูกเรือตักดื่มกินดู ปรากฎว่าน้ำเค็มได้แปรสภาพเป็นน้ำจืดสนิท ซึ่งเป็นที่มาของ "หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" และทะเลสาบสงขลาก็กลายเป็นเมืองสองเลในปัจจุบัน

      แม้ผู้เขียนเองจะเกิดที่นี่แต่ไม่ได้โตมาจากที่นี่ ก็รับรู้ได้ถึงความพอเพียงที่เพียงพอจากการดำเนินชีวิตของชาวเลใน โดยอาชีพหลักของชาวเลใน คือตื่นแต่หัวรุ่ง เพื่อไปหากุ้งหาปลา ชาวบ้านก็จะรู้เวลาการกลับมาของชาวประมง เช้าหน่อยก็จะไปยืนรอเรือหาปลาที่ชายเล ซึ่งเก็บไว้กินเองบ้างใช่ว่าจะขายทั้งหมด เหลือก็แบ่งเพื่อนบ้านใกล้ๆ อยู่แบบช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และมีสสัถานที่ที่ทุกคนให้ความเคารพและเป็นที่รู้จักโดยทั่วกันไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือผู้ใหญ่ คือ "บ่อน้ำศักดิ์สิทธื์" ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะใหญ่ อำเภอะกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ที่เชื่อว่าหากเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว เมื่อได้ดื่มน้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์จะหายจากอาการเจ็บป่วย อันเป็นเหตุมาจากรัชกาลที่ ๕ ที่ได้เสด็จประพาสเกาะสี่ เกาะห้า และเสด็จเข้ามาบริเวณบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ได้เสด็จพักที่พลับพลาและทรงประชวร พระองค์ทรงเสวยน้ำในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ทำให้หายจากอาการประชวร เกิดเป็นความศรัทธาของชาวบ้านตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน ยังมีชีวิตที่น่าค้นหาของชาวเลในอีกมากที่หายากในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่การใช้ชีวิตของชาวเลในนั้นยังคงมีเสน่ห์ไม่เปลี่ยนไปตาลกาลเวลา แต่สุดท้ายนั้นการได้มาสัมผัสและได้อยู่ในสถานที่จริง มันคงจะดีกว่าการได้อ่านแค่เรื่องเล่า...

ใกล้สิ้นปีแล้วสินะ.. ดีใจเหมือนได้กลับบ้านทั้งที่ความจริงแล้วใช้ชีวิตในเมืองหลวงตั้งแต่จำความไม่ได้ แต่ความผูกพันนั้นกลับแน่นแฟ้นยิ่งกว่า ที่ที่เรียกว่า "ใช้ชีวิต" อาจจะเป็นเพราะที่นี่ได้ให้ชีวิต

ใกล้สิ้นปีแล้วสินะ.. ดีใจเหมือนได้กลับบ้านทั้งที่ความจริงแล้วใช้ชีวิตในเมืองหลวงตั้งแต่จำความไม่ได้ แต่ความผูกพันนั้นกลับแน่นแฟ้นยิ่งกว่า ที่ที่เรียกว่า "ใช้ชีวิต" อาจจะเป็นเพราะที่นี่ได้ให้ชีวิต

3,738 views

0

share