คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

ก้อนอิฐที่จางไป

เราจำความคลองสายนี้ได้ตั้งแต่ยังเด็ก บ้านยายตั้งอยู่ริมฝั่งคลองตำบลสวนพริกแบ่งโดยแม่น้ำลพบุรีเป็นสองฝาก ชาวบ้านทำอิฐกันเกือบทุกครัวเรือนใช้เรือพาย มีแพขายชองชำ เสียดายจังที่ตอนนี้เหลือไม่กี่หลังที่ยังคงทำอิฐคนรุ่นใหม่ๆ ยายเล่าให้ฟังว่าออกไปทำงานกันตามโรงงานหรือคนที่เรียนหนังสือก็เข้ากรุงเทพกัน บ้านเรือนร้างคนไปบ้างโรงอิฐเงียบลง เหลือรายใหญ่ๆกับคนรุ่นก่อนๆ ที่ยังคงทำอิฐทำกระเบื้อง น่าใจหายเหมือนกันที่ย่านแบบนี้จะสูญหายไปตามคนรุ่นสุดท้ายที่ยังนั่งจับกระเบื้องเป็น ยายบอกว่ากรมศิลปากรมาจ้างงานอยู่เพราะกระเบื้องทำมือไม่เหมือนกระเบื้องโรงงานแต่ก็คงอยู่ไม่นานแล้วหล่ะรุ่นที่ยังหลังคดหลังแข็งทำก็อายุ 70 ปีขึ้นกันทั้งนั้น เราจำความได้ว่าบ้านน้องสาวของยายอยู่คนละฝั่งแม่น้ำ มีโรงเผาอิฐ มีเครื่องมือ เป็นไม้ตีกรอบเป็นช่อง มีบ่อ แล้วเราก็เห็นเศษแกลบหล่นกระจายตามพื้นดินเต็มไปหมด และโรงอิฐที่มีควันลอยอยู่จางๆ กับกลิ่นดินกลิ่นแกลบได้ดี ตอนนั้นบ้านน้องของยายถือว่ามั่งคั่ง มีรถสิบล้อขนอิฐเป็นสิบคัน รวบรวมจากชาวบ้านในหมู่บ้านไปส่งตามที่ต่างๆ ใครไปใครมาก็รู้จักบ้านขนอิฐ เวลาเดินผ่านไป เทคโนโลยีและสังคมสมัยใหม่ทำให้การทำอิฐถูกละทิ้งมากขึ้น ผู้คนทิ้งบ้านเรือน บางหลังก็เหลือคนเฒ่าคนแก่ติดบ้านเพียงลำพัง กับเครื่องไม้เครื่องมือที่แขวนไว้ใต้เรือน และบ่อน้ำที่ทุกบ้านมีเพื่อหมักดินไว้ในบ่อแล้วตีดินให้เข้ากันในวันรุ่งขึ้น ลงในกรอบไม้ช่องๆ แล้วปาดให้เรียบเป็นรูปทรงก่อนเข้าเตาเผา ถึงตอนนี้ก็มีแต่พงหญ้าปิดรก เพื่อนบ้านยายที่อยู่ไม่ไกลพายเรือมานั่งเล่นที่บ้านยายทุกวัน แกเล่าว่าอยู่บ้านคนเดียวลูกหลานทำงานในกรุงเทพ แกไม่ยอมไปอยู่ด้วยเพราะรักถิ่นรักที่ มีเพื่อนบ้านช่วยกันดูแลกันและในกันในยามที่เดินไม่คล่อง ที่หมู่บ้านสวนพริกแห่งนี้เคยเป็นที่ทำอิฐสำคัญก็เพราะ ดินแม่น้ำ อิฐมอญแดง ทำมาจากดินเหนียวปนทรายผสมแกลบ และขี้เถ้า เลยบ้านยายไปทางเหนือเป็นวัดเก่าแก่ ที่ชาวบ้านเรียกสั้นๆชื่อว่า วัดบรมวงศ์ ใกล้ๆกับเพนียดคล้องช้าง เล่ากันว่าในสมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ามหามาลากรมพระยาบำราบปรปักษ์ได้มาสร้างวัดนี้ขึ้น ชื่อเต็มๆคือ วัดบรมวงศ์อิสรวราราม ชาวบ้านก็อพยพมาทำมาหากินจัดตั้งเป็นหมู่บ้านชุมชนขึ้นมา และตั้งชื่อเป็นตำบลสวนพริกตามชื่อคลอง ว่ากันว่าตอนนั้นชาวมอญเข้ามาอยู่ในอยุธยาค่อนข้างเยอะก็เลยนำเอาการทำอิฐมาเผยแพร่ด้วยตามอาชีพเดิมของพวกเขา ชาวมอญได้รับการเปิดรับเมื่อตอนโดนพม่าตีต้อนเพราะก่อกบฎด้วยความไม่พอใจที่โดนพม่าต้อนไปเป็นแรงงาน รัชกาลที่ 4 ครั้งยังไม่ได้ขึ้นครองราชย์ได้ออกไปต้อนรับชาวมอญราวๆ 40,000 กว่าคนและให้ยึดตั้งบ้านเรือนตามแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่อยุธยาลงมา น่าเสียดายที่คนรุ่นที่ทำเครื่องปั้นดินเผา กระเบื้อง อิฐกำลังจะจากลากันไปหมดแล้ว อิฐโบราณอยุธยาก็กำลังจะหมดเวลาลงเหมือนกัน แม่เองเคยเล่าให้ฟังว่าโดนหมัดในโรงอิฐรุมกัดจนเละเทะไปหมด แต่แม่ก็ทำอิฐไม่เป็นเพราะเข้ามาในกรุงเทพตั้งแต่สาวๆและตั้งรกรากในเมืองหลวง กลับไปเยี่ยมบ้านบ้างเป็นครั้งคราว ส่วนยายๆ ทั้งยายเล็ก ยายใหญ่ก็เล่าว่าไม่รู้เหมือนกันว่าทำอิฐเป็นตอนไหน แต่ที่อยุธยาขึ้นชื่อว่า อิฐแกร่งเพราะรู้วิธีเผา วิธีใส่ฟืนและแกลบ เมื่อก่อนไม่ไกลจากบ้านยาย มีโรงสีที่มีแหล่งแกลบไว้เผาอิฐแต่เดี๋ยวนี้โรงสีก็เลิกกิจการไปแล้วเหมือนกัน ตอนนี้กรมศิลปากรก็มาสั่งทำอิฐโบราณอยู่บ้างมีเพียงผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังคงอยู่ที่นี่ไปช่วยกันทำ วิธีการที่กินเวลาก็ทำให้คนเลิกราไป ทั้งการนำไปตากแดด ถึง 3-4 แดด ถ้าในหน้าฝนก็ต้องมากกว่าน้น อิฐแห้งดีแล้วก็ใส่แกลบแล้วมานำสุมไฟ ใช้ไม้สะแกเป็นเชื้อเพลิง ขั้นตอนการเผาเองก็กินเวลาไม่ใช่น้อย อิฐ 5,000 ก้อน ใช้เวลาเผาประมาณ 5 วัน และต้องคอยเติมฟืน เติมแกลบทั้งวันทั้งคืน ถ้าหมดคนรุ่นยายแล้วอิฐโบราณก็อาจจะไม่พบเจออีกเลย นอกจากขั้นตอนที่ซับซ้อนแล้วต้นทุนก็สูงและขายไม่ค่อยได้ราคา ถึงตอนนี้คนเฒ่าคนแก่ที่ยังทำอิฐทำทอดกระเบื้องอยู่ก็ทำด้วยความเสียดายไม่อยากให้หายไป ใครจะไปขอความรู้ก็ไม่หวงวิชา งานก่อสร้างโบราณในอยุธยาใช้อิฐแค่ส่วนฐาน ส่วนท่อนบนนั้นเป็นไม้เพื่อใช้รับน้ำหนัก อิฐอยุธยาที่เราเห็นในโบราณสถานจึงมีขนาดใหญ่ เพื่อรับน้ำหนักและแกร่งมากกว่าอิฐปัจจุบัน ความหนา 1 นิ้ว คูณด้วย 2 จะได้ความกว้างของอิฐ และนำความกว้างมาคูณด้วย 2 อีกรอบจะได้ความยาวของอิฐ ซึ่งเป็นลักษณะอิฐโบราณ นอกจากงานโครงสร้างแล้ว ยังเอามาใช้ทำถนนอีกด้วย โดยวางเรียงสันเหลื่อมกันจะทำให้ทนทานกว่าใช้หน้าอิฐ ที่ต้องรับน้ำหนักช้าง ม้า เกวียน อิฐในงานวิหารช่วงอยุธยาตอนต้น มีการทำรูปสี่เหลี่ยมคางหมูเรียงต่อกันเป็นเสาขึ้นมา ทำให้มีความคงทนรองรับน้ำหนักหลังคาได้ดี ซึ่งยังมีปรากฏที่กรอบหน้าต่างรูปดอกบัวที่คาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากเปอร์เซีย โดยตรงกลางยอดแหลมใช้อิฐทรงคางหมู ถ้าตัวนี้หลุดไป หน้าต่างจะพังทลาย มีบันทึกว่า วัดในย่านคลองสระบัว ชื่อวัดพระยาแมนมีการเรียงอิฐที่น่าสนใจ ใช้อิฐรับโครงสร้างหลังคา แล้วเจาะช่องทำซุ้มโค้งล้อมรอบเพื่อใช้ประดับประทีป แต่ดูเหมือนความแข็งแกร่งของ “อิฐโบราณ “ ที่เป็นภูมิปัญญาสืบทอดมานานจะอ่อนแอลงตามกาลเวลา ได้แต่หวังว่า จะมีการสืบทอดความรู้และเรื่องราวอิฐแห่งตำบลสวนพริกไว้ ให้รุ่นต่อมาได้เรียนรู้ต่อไป

4,163 views

0

share

Museum in Phra Nakhon Si Ayutthaya

21 May 2021
16,934
540
19 October 2019
84,415
676
16 October 2019
8,657
545
02 July 2019
15,110
574
21 October 2019
14,487
654
20 November 2019
18,545
663