คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

สะพานโยงเมืองงาว

สะพานแขวนแห่งแรก เก่าแก่ และยาวที่สุดในไทย

ที่มาและความสำคัญ :

     ประมาณปี พ.ศ. 2458 มีการดำเนินการถนนพหลโยธิน โดยตั้งตั้นสร้างจากกรุงเทพฯ เรื่อยมาถึงอำเภองาว จังหวัดลำปาง แล้วก็พบว่า มีแม่น้ำงาวขวางกั้นอยู่ ในเส้นทางหลักของการเดินทางขึ้นไปสู่จังหวัดพะเยา เชียงราย และกลับลงมาสู่กรุงเทพฯ  ครั้นจะสร้างสะพานแบบทั่วไปก็ทำไม่ได้ คงจะพังเสียหายเป็นแน่ เพราะมีซุงไม้สักทองท่อนใหญ่มหึมาจำนวนมากมายล่องผ่านลำน้ำนี้อยู่เป็นประจำ แล้วท่อนซุงไม้สักทองจำนวนมากมายเหล่านี้จะล่องต่อไปลงสู่แม่น้ำยมไม่ได้ด้วย ดังนั้นสะพานข้ามแม่น้ำงาวจึงถูกริเริ่มคิดทำโครงการจัดสร้างขึ้นใหม่ ให้เป็นสะพานแขวนแห่งแรกของประเทศไทย

วิธีดำเนินการสร้าง :

     ก่อนสงครามโลก ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2469 ใช้ระยะเวลาสร้างรวมทั้งสิ้น 18 เดือน และเริ่มเปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2471 มีความยาว 80 เมตร กว้าง 4 เมตร เสากระโดงสองฝั่งสูง 18 เมตร เป็นสะพานเหล็กแขวนที่ใช้รอกดึง ไม่มีเสากลาง วางโครงเหล็กเหมือนทางรถไฟ ใช้ไม้หมอนเรียงเป็นลูกระนาด ปูไม้กระดานทับเฉพาะช่วงล้อรถยนต์ มีทางเท้าทั้งสองฝั่ง ใช้สลิงยึดตลอดตัวสะพาน ออกแบบสร้างโดยนายช่างชาวเยอรมัน ควบคุมการก่อสร้างโดยขุนเจนจบทิศ ส่วนเจ้าของโครงการ คือ กรมทางหลวงแผ่นดิน ในความดูแลของขุนขบวนบถดำริห์ 

คุณประโยชน์ต่อแผ่นดินไทย :

     1. เดิมที สะพานโยงไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ แต่กรมทางหลวงแผ่นดิน เรียกว่า "สะพานข้ามลำน้ำแม่งาว" ทำหน้าที่เชื่อมการเดินทางด้วยถนนพหลโยธินจากภายนอกไปสู่จังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงรายอยู่หลายสิบปี กระทั่งมาเลิกใช้ เพราะมีการสร้างเส้นทางถนนพหลโยธินสายใหม่ขึ้นแบบบายพาส  ไม่ผ่านเข้ามาในตัวเมืองงาว อย่างไรก็ตาม สะพานโยงก็ได้รับการบูรณะหลายครั้ง ขณะปัจจุบันได้เปิดให้เฉพาะการเดินข้ามฟากแม่น้ำงาวเท่านั้น ไม่อนุญาตให้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ผ่าน เพื่อป้องกันและควบคุมการชำรุดเสียหาย และอนุรักษ์ไว้ให้เป็นมรดกอันล้ำค่าของลูกหลานไทย สืบไป 

     2. นักท่องเที่ยว นิยมชมชอบมาใส่บาตรขณะพระบิณฑบาตตอนเช้าตรู่ จะมีพระอาทิตย์ขึ้นเปล่งรัศมีสวยงามยามเช้า และถ่ายภาพไว้เป็นที่ระลึกนึกถึงความงดงามอันน่าประทับใจของสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่งบนแผ่นดินไทย 

     3. เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2559 นายอำเภองาว พร้อมข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ประชาชนในพื้นที่ และชาวเขาจำนวน 6 เผ่า ประกอบด้วย ม้ง ปกากะญอ เมี่ยน กะเหรี่ยง มูเซอ อาข่า จำนวนกว่า 100 คน ได้ร่วมกันตั้งแถวบนสะพานโยงสัญลักษณ์เมืองงาว พร้อมใจกันร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และเพลงสดุดีมหาราชา เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และถวายความอาลัยพระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ โดยที่ทุกคนต่างกล่าวปฎิญานตนจะน้อมนำพระราชดำริของพระองค์ท่านไปประยุกต์ใช้ปฎิบัติในหน้าที่การงานและการดำรงชีวิต สืบไป

ตัวอย่างภาพถ่ายล่าสุด (ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2560) :

     ภาพถ่ายสะพานโยงเมืองงาว หรือสะพานโยงสัญลักษณ์เมืองงาว ตามที่ประชาชนในพื้นที่เรียกกัน ได้แสดงความกว้าง ความยาว และความลึก ของสะพานดังกล่าวไว้พอสังเขป ดังภาพถ่ายข้างล่างนี้

 

 

9,770 views

0

share

Museum in Lampang

21 March 2019
9,929
655
13 February 2023
18,965
689
04 August 2019
4,842
613
04 August 2019
7,080
662
21 March 2019
15,767
615
04 December 2019
5,315
676
02 September 2021
30,569
654
21 March 2019
7,641
593