คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

ปราสาทภูมิโปน

ตามรอยอารยธรรมขอมโบราณ

“สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม” นี้คือคำขวัญของจังหวัดสุรินทร์ ดินแดนอีสานใต้ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน มีสถานที่ท่องเที่ยวหลากหลายและจากคำขวัญ “ร่ำรวยปราสาท” ที่นี่จึงมีแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง เช่น กลุ่มปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาควาย ปราสาทศีขรภูมิแล้ว ยังมีอีกปราสาทหนึ่งแม้จะไม่ใหญ่โต แต่มีจุดเด่นและน่าสนใจไม่น้อย เพราะเป็นปราสาทที่จัดว่าเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย นั่นก็คือ ปราสาทภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์

ปราสาทภูมิโปน ตั้งอยู่ที่บ้านภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ ปราสาทประกอบด้วยโบราณสถาน 4 หลัง  คือ ปราสาทก่อด้วยอิฐ 3 หลังและศิลาแลง 1 หลัง ตั้งเรียงกันในแนวเหนือ-ใต้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยปราสาทหลังที่ 1 ปราสาทประธาน เป็นปราสาทอิฐหลังใหญ่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ก่อด้วยอิฐไม่สอปูนแบบศิลปะขอมรุ่นเก่า มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีบันได ประตูทางเข้าด้านตะวันออกเพียงด้านเดียว มียอดหลังคาลดหลั่นเป็นชั้น ๆ ปัจจุบันเหลือเพียง 3 ชั้น มีเสาประดับกรอบประตู ใต้หน้าบันเหนือทับหลังขึ้นไปสลักรูปใบไม้ม้วน แบบศิลปะอินเดีย สมัยหลังคุปตะ (ราวพุทธศตวรรษที่ 11 – 13) ซึ่งรูปแบบและเทคนิคการก่อสร้างปราสาทประธานเทียบได้กับปราสาทขอมสมัยก่อนพระนคร ร่วมสมัยกับปราสาทที่อยู่ด้านทิศเหนือสุด  (ปราสาทหลังที่ 4 ตามแผนผังปราสาท) สันนิษฐานว่าปราสาทนี้น่าจะสร้างเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู ลิทธิไศวนิกาย ยังค้นพบศิลาจารึกอักษรปัลลวะ-สันสกฤต 1 ชิ้น มีใช้ในพุทธศตวรรษที่ 11 – 13 ซึ่งสอดคล้องกับอายุของรูปแบบศิลปะของปราสาท นับว่าเก่าแก่ที่สุดของไทย

ในส่วนของโบราณสถานที่สร้างด้วยอิฐหลังเล็กด้านข้าง ปัจจุบันเหลือแต่เพียงส่วนฐานและกรอบประตูหินทราย

ส่วนฐานโบราณสถานที่สร้างด้วยฐานศิลาแลงทางด้านทิศใต้ปรางค์ประธานนั้น ปัจจุบันเหลือเพียงฐาน สันนิษฐานว่าปราสาทหลัง 2 และ 3 น่าจะสร้างในสมัยหลังต่อมา หลังจากสร้างปราสาทประธานก่อนแล้ว

ส่วนปราสาทอิฐห่างออกมาทางทิศเหนือสุด   มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมไม่ย่อมุม ปัจจุบันเหลือเพียงฐาน กรอบประตูทางเข้า และผนังบางส่วน  

ปราสาทภูมิโปนถือว่าเป็นแหล่งอารยธรรมโบราณหรือชุมชนโบราณที่มีระบบการปกครองแบบเมือง  สังเกตได้จากบริเวณรอบ ๆ ปราสาทพบคูกำแพงเมือง เขื่อนดินโบราณ และสระน้ำ โดยเฉพาะน้ำเป็นระบบชลประทานถูกออกแบบมา มีจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สระลำเจียก สระตา สระกนาล สระตราว และสระปรือ ปัจจุบันพื้นที่ชุมชนโบราณเป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านภูมิโปน

นอกจากนี้ปราสาทภูมิโปนยังเชื่อมโยงเป็นตำนานเรื่องเล่าขานท้องถิ่น ตำนานปราสาทภูมิโปน “ เนียง ด็อฮฺ ธม ”  ในตำนานกล่าวถึงกษัตริย์ขอมองค์หนึ่งได้สร้างเมืองลับไว้กลางป่าชื่อว่า “ปราสาทภูมิโปน” ต่อมาเมื่อเมืองหลวงเกิดความไม่สงบ มีข้าศึกมาประชิตเมือง กษัตริย์ขอมจึงส่งพระธิดาพร้อมไพร่พลจำนวนหนึ่งมาหลบซ่อนลี้ภัยที่ภูมิโปน พระธิดาองค์นั้นพระนามว่า พระนางศรีจันทร์ หรือ เนียง ด็อฮฺ ธม ในภาษาเขมร แปลว่า พระนางที่มีหน้าอกงามหรือพระนางนมใหญ่ ด้วยความงามของนางที่เลื่องลือไปทั่ว จึงเป็นที่หมายปองของพระราชาเมืองต่าง ๆ ที่ต้องการพระนางมาเป็นพระชายา จึงเกิดศึกชิงนางขึ้น เกิดเป็นโศกนาฏกรรมและทำให้บุรุษล้มตายเพราะนางมาก สุดท้ายพระนางศรีจันทร์ได้ตกไปเป็นมเหสีของกษัตริย์แห่งนครนายพราน (วยาธปุระ เมืองหลวงสมัยอาณาจักรฟูนันในอดีต) ก่อนนางจะจากไปได้ขอไปอาบน้ำที่สระลำเจียก และปลูกต้นลำเจียกไว้กอหนึ่ง พร้อมกับอธิษฐานว่า ถ้าพระนางยังไม่กลับมาที่ภูมิโปน ขอให้ต้นลำเจียกอย่าได้ออกดอกอีกเลย ปัจจุบันสระลำเจียกยังคงมีต้นลำเจียกกอใหญ่หลายต้นและยังไม่มีดอกมาจนถึงทุกวันนี้

จากตำนานเป็นที่มาของชื่อปราสาท คำว่า ภูมิ ในภาษาเขมร แปลว่าหมู่บ้าน หรือดินแดน คำว่า โปน แปลว่าซ่อนตัวไม่ให้ใครหาพบ รวมกันจึงหมายถึงเมืองลึกลับ หรือที่ซ่อนรวบรวมกองทัพ ปัจจุบันตำนาน เนียง ด็อฮฺ ธม ยังคงเล่าขานเรื่อยมา กลายเป็นส่วนหนึ่งของปราสาทภูมิโปนและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่จัดแสดงขึ้นทุกปี ผ่านการแสดงแสง สี เสียง ใน “งานประเพณีสืบสานตำนานปราสาทภูมิโปน”  ณ บริเวณปราสาทภูมิโปน ต.ดม อ.สังขะ จ.สุรินทร์ เพื่อเผยแพร่ให้ปราสาทภูมิโปนเป็นที่รู้จักมากขึ้น

อ้างอิง

http://www.finearts.go.th

21,105 views

0

share

Museum in Surin

01 February 2022
23,007
546
30 July 2018
3,279
507
14 July 2019
8,060
569
27 July 2018
8,306
524
30 July 2018
15,714
509
22 August 2018
3,250
269