คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

ศีขรภูมิศิลปะนครวัด

ปราสาทศีขรภูมิศิลปะนครวัด

      ปราสาทศีขรภูมิ อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วยปราสาทอิฐจำนวน 5 หลังตั้งอยู่บนฐาเดียวกัน ปราสาทประธานมีขนาดใหญ่ที่สุดในขณะที่อีก 4 หลังตั้งอยู่ที่มุมทั้ง 4 ปราสาทล้อมรอบด้วยคูน้ำ ยกเว้นทางด้านทิศตะวันออกซึ่งเป็นทางเข้า

     ปราสาทแห่งนี้สร้างขึ้นในพุทธศตวรษที่ 17 ซึ่งตรงกับศิลปะนครวัด โดยสามารถกำหนดอายุได้จากลวดลายบนกรอบประตูและทับหลังของปราสาทประธาน ปราสาทแห่งนี้ยังคงสร้างด้วยอิฐ อันแตกต่างไปจากปราสาทสมัยนครวัดในประเทศกัมพูชาที่นิยมสร้างด้วยหินทรายเสมอ  แผนผังของปราสาทศรีขรภูมิ มีความพิเศษที่แตกต่างไปจากปราสาทหลังอื่นๆในประเทศไทย เนื่องจากเป็นปราสาท 5 หลังที่ตั้งอยู่บนฐานไพทีเดียวกัน โดยปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงกลางและล้อมรอบไปด้วยปราสาทบริวารอีก 4 มุม ลักษณะเช่นนี้แตกต่างไปจากปราสาทที่พบในประเทศไทยโดยทั่วไปที่มักเป็นปราสาท 3 หลังเรียงกันอยู่บนฐานไพทีเนื่องจากปราสาทประธานปรากฏทับหลังรูปศิวนาคราช จึงเป็นไปได้สูงที่ปราสาทหลังนี้สร้างขึ้นในลัทธิไศวนิกาย ปราสาททั้งห้าหลังนี้จึงอาจเคยประดิษฐานศิวลึงค์อันเป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะ ในระยะหลัง ปราสาทแห่งนี้ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาเถรวาท โดยชาวลาวที่อพยพเข้ามาภายหลัง หลักฐานที่สำคัญได้แก่จารึกกรอบประตูและการซ่อมแปลงยอดของปราสาทบางหลัง

ทับหลังรูปศิวนาฏราช ทับหลังด้านหน้าปราสาทประธาน

ซุ้มประตูด้านหน้าปราสาทศีขรภูมิ หลังกลาง

 

เขียนโดย : ศูนย์ศึกษาศิลปกรรมโบราณในเอเชียอาคเนย์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ข้อมูลจาก : http://www.archae.su.ac.th

4,753 views

0

share

Museum in Surin

01 February 2022
23,007
546
30 July 2018
3,279
507
14 July 2019
8,060
569
27 July 2018
8,306
524
30 July 2018
15,716
509
22 August 2018
3,251
269