คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

เจ้าเมืองคนแรก

พระเจริญราชเดช (ท้าวกวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) พ.ศ.2408-2421

ตลอดระยะเวลา 15 ปี นั้นหากจะผู้ถึงเมืองมหาสารคามความเป็นมาของประวัติศาสตร์นั้นบุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วยให้เกิดแรงผลักดันการก่อตั่งเมืองมหาสารคามได้นั้น "ท้าวศรีวงศ์"  หรือ ท้าวมหาชัย (กวด ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม) กว่าจะมาเป็นอนุสาวรีย์ที่ตั้งตระหง่าอยู่สวนสาธารณะหนองข่า บริเวณหน้าพิพิธภัณฑ์เมืองมหาสารคามได้นั้น ท่านเป็นบุคคลที่ทำให้เมืองมหาสารคามมีชีวิตชีวาขึ้นในช่วงเวลาพ.ศ.2408-2421  เมืองมหาสารคามจึงถือกำเนิดขึ้นเป็นต้นมา

ก่อนการก่อตั้งเมืองมหาสารคามนั้นเริ่มจากการที่พระขัติยวงศา (จัน) เจ้าเมืองร้อยเอ็ด ได้ให้ท้าวกวดและท้าวบัวทองไปสำรวจดินแดนทางทิศตะวันตกของเมืองร้อยเอ็ด เพื่อขอตั้งเมืองใหม่ ทั้งท้าวกวดและท้าวบัวทองเห็นว่าเหมาะสมสำหรับเป็นทำเลที่ตั้งที่ดีในการจะตั้งเมืองใหม่ ต่อจากนั้นพระขัติยวงศา(จัน) ได้แบ่งผู้คนจากเมืองร้อยเอ็ดประมาณ 9,000 คน  มายังพื้นที่บริเวณเมืองใหม่นี้(ซึ่งในบริเวณนั้นมีผู้คนมาอาศัยอยู่ก่อนแล้วบริเวณกุดนางใยซึ่งมีชุมชนอยู่มาก่อนแล้วบริเวณนั้นเรียกว่า บ้านลาดกุดนางใย) ในปี พ.ศ.2402 ได้มีหนังสือกราบบังคบทูลไปยังกรุงเทพฯ จนวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าให้ยก "บ้านลาดกุดนางใย" เป็นเมืองมหาสารคาม พร้อมทั้งแต่งตั้งท้าวกวด เป็นพระเจริญราชเดช เจ้าเมืองคนแรกของเมืองมหาสารคาม

เมื่อท้าวกวดได้รับการแต่งตั้งแล้ว ท่านได้สร้างที่อยู่อาศัยของท่านตรงบริเวณหนองกระทุ่มทางทิศเหนือของกุดนางใย เพราะเป็นที่ราบอยู่ระหว่างห้วยคะคางกับกุดนางใยเป็นทำเลที่ตั้งที่ดีจึงเลือกบริเวณนี้สร้างเป็นโฮงเจ้าเมือง (คำว่า "โฮง" หมายถึง บ้าน ที่อยู่อาศัย ซึ่งโฮงจะใหญ่กว่าบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป ที่คนอีสานเรียกว่า "เฮียน") และพร้อมที่จะตั้งเป็นที่ว่าราชการในเวลาเดียวกัน

 

เมืองมหาสารคามเริ่มมีชีวิตขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ.2408 เป็นต้นมา จากบทบาทการสร้างแปงเมืองของท้าวกวด ทำให้เกิดการขยายตัวของเมืองมหาสารคามกล่าวคือ ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ท้าวกวดได้สร้างโฮงเจ้าเมืองนั้น บริเวณทางทิศตะวันตกของกุดนางใยทำให้ผู้คนที่อพยพมาจากเมืองร้อยเอ็ดมีการมาตั้งถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกับชุมชนกุดนางใยที่อยู่มาก่อนแล้วซึ่งเราเรียกกลุ่มชุมชนนี้เรียกว่า "ุชุมชนคุ้มบ้านจารย์" ซึ่งมีกุดนางใยเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติสำคัญในการดำรงชีวิต ผู้คนที่อพยพเข้ามานั้นบ้านเรือนส่วนใหญ่จะเป็นบ้านทำด้วยไม้และอยู่รวมกันเป็นคุ้ม ต่อมาจึงเรียกชุมชนนั้นว่า "คุ้มเจ้าเมือง" เมื่อบริเวณริมกุดนางใยมีการขยายตัวของผู้คนแล้วนั้น ท้าวกวดได้สร้างวัดขึ้น ได้แก่ วัดโพธิศรี วัดกลาง (ปัจจุบันคือวัดอภิสิทธิ์)  วัดมหาชัย วัดอุทัยทิศซึ่งอยู่ฝั่งทางทิศตะวันออกของกุดนางใย  จนเป็นบริเวณที่เป็นศูนย์กลางของเมืองมหาสารคามในช่วงเวลานั้นและเกิดเป็นชุมชนขนาดใหญ่เกิดขึ้นนำไปสู่วิถีชีวิตของชุมชนเมืองมหาสารคาม ไม่ว่าจะเป็น โฮงเจ้าเมือง บ้านเรือน ร้านค้าในสมัยนั้นชุมชนมักจะสร้างตึกดินกันมากส่วนใหญ่เป็นคนจีนที่ถูกอพยพจากเมืองร้อยเอ็ดมาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น

 

บทบาทของพระเจริญราชเดชที่ทำให้ชาวเมืองมหาสารคามเป็นที่เคารพและศรัทธาของท่านนั้นคงจะเป็นการได้รับราชการดเวยความขยันหมั่นเพียร ขันแข็ง เป็นผู้มีความสามารถในการปกครองทำให้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นมากมาย กล่าวคือ ในปี พ.ศ.2418 ได้เข้าร่วมทำสงครามปราบฮ่อด้วยในการนั้นชาวเมืองมหาสารคามกับพระเจริญราชเดชก็ถูกเกณฑ์ไปร่วมรบจนได้รับความดีความชอบและมีชัยชนะ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานนามใหม่ให้พระเจริญราชเดช เป็น "พระเจริญราชเดชวรเชษฐมหาขัตติยพงศ์รวิวงศ์สุรชาติ ประเทศราชธำรงรักาษ์ศักดิ์ กิติยศเกรียงไกร ศรีพิชัยเทพวรฤทธิ์พิษณุพงศ์ปรีชา สิงหบุตรสุวัฒนา นคราภิบาล"

สุด้ทายปั้นปลายชีวิตของท้าวกวดท่านได้เสียชีวิต เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2421 เนื่องจากได้รับการบาดเจ็บในการปราบกบฏฮ่อ ทำให้สุขภาพร่างกายทรุดโทรมจนถึงแก่อนิจกรรม อายุ 43 ปี อายุรับราชการ 15ปี

อ้างอิงจาก : 

ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ และคณะ ประวัติการขยายตัวชุมชนเมืองมหาสารคาม พ.ศ.2408-ปัจจุบัน(ทศวรรษ 2550) (เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์)

ธีรชัย บุญมาธรรม ความ(ไม่)รู้เรื่องเมืองมหาสารคาม พิมพ์ครั้งที่ 1 ขอนแก่น : คลังนานา 2558

9,804 views

1

share