คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

วัดร่องเสือเต้น

ศรัทธา สืบสาน สีน้ำเงิน

         เมื่อพูดถึงแลนด์มาร์คในจังหวัดเชียงราย ผู้คนส่วนใหญ่คงนึกถึงพิพิธภัณฑ์บ้านดำของอาจารย์ถวัลย์ หรือ วัดร่องขุ่นของอาจารย์เฉลิมชัย แต่เมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดสถาปัตยกรรมแห่งใหม่ที่โดดเด่นสะดุดตาคือวัดร่องเสือเต้น ตั้งอยู่หมู่บ้านร่องเสือเต้น ต.ริมกก อ.เมือง จ.เชียงราย โดยตั้งอยู่ริมแม่น้ำกก ฝั่งด้านซ้ายทางทิศตะวันออกของเทศบาลนครเมืองเชียงราย ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงรายมากนัก ในอดีตสถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของวัดร้าง เมื่อ 80-100 ปีก่อน จากคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่เล่าว่า ในสมัยนั้นยังไม่มีบ้านเรือนและผู้คนอาศัยอยู่มากนัก สัตว์ป่าจึงมีจำนวนมากโดยเฉพาะเสือ ชาวบ้านที่ผ่านแถวนั้นมักชอบเห็นเสือกระโดดข้ามร่องน้ำไปมา จึงเรียกบริเวณนี้ต่อๆกันมาว่า “ร่องเสือเต้น” รวมทั้งได้เรียกหมู่บ้านใกล้เคียงบริเวณนี้ว่า “บ้านร่องเสือเต้น” อีกด้วย วัดร่องเสือเต้นถูกสร้างขึ้นเนื่องจากชาวบ้านร่องเสือเต้นไม่มีที่ทำบุญในหมู่บ้าน เวลาทำบุญในวันสำคัญต้องไปทำบุญที่วัดอื่น ทำให้คนในหมู่บ้านต่างกระจัดกระจายกันไป จึงได้ร่วมกันบูรณะวัดร้างแห่งนี้ เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านร่องเสือเต้น และเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาใน วันสำคัญ จึงสร้างวัดแห่งนี้ขึ้นและให้ชื่อว่า “วัดร่องเสือเต้น” ความโดดเด่นของวันร่องเสือเต้นที่เห็นได้ชัดคือ วิหารวัดร่องเสือเต้น สร้างและออกแบบโดยศิลปินพื้นบ้านชาวเชียงราย นายพุทธา กาบแก้ว หรือที่คนรู้จัดในนาม สล่านก หลังจากที่จบการศึกษาใหม่ๆก็มีโอกาสได้มาเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ในการสร้างวัดร่องขุ่น จนได้ซึมซับศิลปะแนวพุทธศิลป์มาจากอาจารย์เฉลิมชัย เรียกว่า ศิษย์ก้นกุฏิเลยก็ว่าได้ การสร้างวิหารวัดร่องเสือเต้น สร้างขึ้นเมื่อ วันที่ 27 ตุลาคม 2548 โดยมีขนาดกว้าง 13 เมตร ยาว 48 เมตร สร้างเสร็จเมื่อ วันที่ 22 มกราคม 2559 ร่วมใช้เวลาก่อสร้างแล้วเสร็จถึง 11 ปี

          โทนสีที่ใช้เป็นโทนสีน้ำเงินฟ้าตัดกับสีทองเพื่อสร้างความโดดเด่นให้กับวิหาร โดยสีน้ำเงินฟ้าของตัววิหารนั้นแสดงถึงธรรมะขององค์สมเด็จพระพุทธเจ้าที่ขจรขจายไปทั่วโลก ซึ่งเป็นหลักคำสอนที่เป็นความจริงตามหลักเหตุและผล เปรียบเสมือนดังท้องฟ้าที่สดใส เป็นศิลปะแนวพุทธศิลป์ร่วมสมัยที่แฝงด้วยธรรมของพุทธองค์

         ส่วนพญานาคที่อยู่หน้าวิหาร สล่านก ได้รับอิทธิพลจากศิลปะของอาจารย์ ถวัลย์ ดัชนี ที่เน้นลักษณะโครงสร้างที่เข้มแข็ง เขี้ยวเล็บแหลมคมดูน่าเกรงขาม แต่มีความอ่อนช้อยในแบบล้านนา

         ส่วนภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรัชมงคลบดีตรีโลกนาถ สีขาวมุกขนาดหน้าตักกว้าง 5 เมตร สูง 6.5 เมตร โดยมีพระรอดลำพูน จำนวน 88,000 องค์ และแก้วแหวนเงินทองหลายสิ่งถูกฝังอยู่ใต้พระพุทธรูปองค์นี้ รวมทั้งบริเวณพระเศียรก็ได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รวมทั้งยังได้รับพระราชทานนาม รัชมงคลบดีตรีโลกนาถ ทีหมายความว่า “พระพุทธเจ้าทรงเป็นมงคลเจ้าในความเป็นราชา เป็นที่พึ่งในสามโลก”

         ฝาผนังล้อมรอบด้วยจิตรกรรมเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ที่มีความอ่อนช้อยสวยงามของลายเส้น

         ทางด้านหลังของวิหารยังประดิษฐานพระพุทธรูปปางห้ามญาติสีขาวขนาดใหญ่

         ถัดไปเป็น "พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีห้าพระองค์" มีความสูง 20 เมตร โดยยอดขององค์พระธาตุได้บรรจุพระบรมสาริกธาตุ จากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสงฆปริณายก วัดร่องเสือเต้นสร้างจากแรงศรัทธาผนวกการสืบสานศิลปะในเชิงพุทธศิลป์ของ สล่านก ผู้ที่ได้รับแรงบันดาลใจทางศิลปะจากอาจารย์ถวัลย์และอาจารย์เฉลิมชัย จนเกิดเป็นวัดที่สวยสดงามตา

97,233 views

4

share

Museum in Chiang Rai

11 August 2018
6,819
635
21 June 2022
16,125
638
30 April 2019
7,725
708
09 February 2023
11,931
684
30 April 2019
6,690
661
19 June 2019
6,811
695
06 November 2019
5,497
241
27 November 2019
19,628
264