สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
ไม่ใช่คำกล่าวเกินเลย สำหรับคนที่สนใจดินแดนอวกาศอันกว้างไกล การมาเยือน Space Inspirium อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศแห่งนี้ อาจทำให้คุณรู้สึกว่าตนเองกำลังเป็น บัซ ไลท์เยียร์ หุ่นยนต์นักบินอวกาศในการ์ตูน ทอย สตอรี่ อยู่ เพราะประโยคสุดฮิตของเขา “สู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้น” To Infinity and beyond ทำให้เรารู้สึกชัดเจนเมื่อมาเยือนที่นี่
จากเอกภพสู่อวกาศ
อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ เป็นพิพิธภัณฑ์อวกาศแห่งแรกของไทย ตั้งอยู่ที่สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียมไทยโชต (ศรีราชา) ก่อตั้งโดยสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ชวนคุณไปสำรวจและใกล้ชิดกับอวกาศผ่าน 26 โซน แต่ละโซนจะค่อยๆ พาเราเข้าไปค้นหาคำตอบของจักรวาลผ่านเรื่องราวที่ต่อเนื่อง ได้แก่ โซนกำเนิดเอกภพและแรงดึงดูด เรียนรู้จุดกำเนิดว่าโลกเรามาจากไหน และเราเป็นใคร โซนวิฒนาการทางอวกาศ ชวนตั้งคำถามว่า ทำไมถึงมีแค่โลกของเราที่มีสิ่งมีชีวิตท่ามกลางดาวเคราะห์หลากหลายดวงในระบบสุริยะ และโซนเทคโนโลยีสำรวจโลกและอวกาศ การประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่จนมาถึงปัจจุบันมีกระบวนการคิดอย่างไร
เข้าถึงประสบการณ์ในอวกาศ
โซนมุ่งสู่อวกาศ ก่อนเดินทางสู่อวกาศ มีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึง ร่างกายกับแรงโน้มถ่วง เครื่องเล่นที่จำลองสภาวะหมุนเหวี่ยงของการฝึกนักบินอวกาศเมื่อออกไปนอกโลกแล้วร่างกายจะมีปฏิกิริยาอย่างไร อีกหนึ่งไฮไลต์ที่มาแล้วต้องลอง และ โซนจำลองเดินบนดาวอังคาร ชวนไปเดินเล่นดาวอังคารกับเครื่องเล่นมาร์สวอล์ก (Mars walk) ดาวเพื่อนบ้านที่มีแรงดึงดูดน้อยกว่าโลก รับรู้ถึงความรู้สึกเมื่อตัวของเรามีน้ำหนักที่เบาขึ้น 3 เท่า (โซนนี้เป็นโซนที่ได้รับความนิยม เด็กน้อยต่อแถวสนุกไปกับการเดินเด้งดึ๋งดั๋ง) แถมมีแว่น VR (Virtual Reality) จำลองให้เห็นภาพบนดาวอังคาร
นอกจากเรียนรู้เรื่องราวในอวกาศกันแล้ว อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศหยิบความเชื่อมโยงจากดินแดนอันแสนไกล สู่เรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวันได้อย่างน่าสนใจ เช่น โซนดาวเทียม ดาวเทียมเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร ภาพถ่ายสตรีตวิว หรือระบบ GPS ที่ใช้ในการเดินทาง การสำรวจข้อมูลระยะไกล ที่ใช้ในระบบอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ล้วนมีดาวเทียมเป็นพระเอกทั้งสิ้น
อีกหนึ่งห้องกระจกที่เดินผ่านแล้วต้องหยุดดู นั่นคือ โซนห้องเรียนหุ่นยนต์ ศูนย์วิทยาการหุ่นยนต์และเทคโนโลยีอวกาศเพื่อเด็ก ห้องเรียนของเหล่านักประดิษฐ์ตัวน้อย ที่นี่สอนเด็กให้รู้และเข้าใจในพื้นฐานของการสร้างหุ่นยนต์ ตามหลักการ STEM นั่นคือการใช้ Science, Technology, Engineering และ Mathematic เด็กๆ จะได้เรียนรู้ทั้งฮาร์ดแวร์ ชิ้นส่วนกลไกในการประกอบหุ่นยนต์และซอฟต์แวร์ โปรแกรมสั่งงานหุ่นยนต์ เพราะนี่คือหนึ่งในทักษะที่มนุษย์อาจต้องมีติดตัวในอนาคต คือการสร้างหุ่นยนต์และ AI
หากใช้เวลาเดินอย่างเต็มอิ่ม แนะนำมีเวลาเริ่มต้น 2-3 ชั่วโมง กำลังดี หรือหากต้องการสำรวจแรงบันดาลใจมากกว่านั้น แนะนำใช้เวลาสนุกให้ครบทุกโซน เมื่อก้าวประตูกลับออกไป แหงนมองท้องฟ้า เราอาจค้นพบว่า จักรวาล อวกาศ ไม่ได้อยู่ไกลตัวเราอีกต่อไป
Space Inspirium อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ
เวลาทำการ : อังคาร - ศุกร์ เวลา 09.00 – 16.00 น. และ เสาร์ - อาทิตย์ เวลา 09.00 – 17.00 น.
ค่าเข้าชม : ผู้ใหญ่ 50 บาท / เด็ก 20 บาท
Travel Around