คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ลานตาสมุนไพร ทุกใบคือยา

ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

“ไม่มีพืชใด ไม่เป็นยา” (All plants are medicine)

บันทึกการเรียนรู้ศาสตร์สมุนไพรของบรมครูแพทย์แผนไทย ชีวกโกมารภัจจ์ในสมัยพุทธกาล ที่ได้เรียนรู้จากอาจารย์สำนักตักศิลา สมุนไพรคือยาและเกี่ยวข้องกับชีวิตผู้คนในอดีตถึงปัจจุบัน

 

บนพื้นที่กว่า 140 ไร่ ส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหิดล จากพื้นที่สีเขียว สู่การจัดการเป็นแหล่งรวบรวมองค์ความรู้ แหล่งอนุรักษ์สมุนไพร และแหล่งสะสมงานวิจัยจากพืชสมุนไพรไทยจากทั่วประเทศ ปลูกรวบรวมสมุนไพรกว่า 900 ชนิด เมื่อเดินทางมาสัมผัสที่แห่งนี้ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คุณจะค้นพบว่าในโลกสมุนไพรเต็มไปด้วยความรู้และล้วนเกี่ยวข้องกับชีวิตในประจำวัน

 

และนับเป็นความภูมิใจ เมื่อสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติได้รับการรับรองเป็นสวนพฤกษศาสตร์ระดับสากลเมื่อเดือนมิถุนายน 2564 ซึ่งนับเป็นสวนพฤกษศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจาก Botanic Gardens Conservation International (BGCI) ออกแบบเพื่อเป็น “ห้องเรียนต้นแบบ” สู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติอย่างครบวงจร

ห้องเรียนสมุนไพรมีชีวิต

ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ โดดเด่นด้วยดีไซน์อาคารใบไม้ 3 ใบ ต้อนรับที่ทางเข้า การเยี่ยมชมลานสมุนไพรมีทั้งรูปแบบปั่นจักรยาน รวมถึงนั่งรถราง (Tram) ตามจุดสำคัญต่าง ๆ ซึ่งจะมีวิทยากรคอยบรรยายตลอดเส้นทาง ไม่ใช่แค่ดู ยังดม ชม ชิมได้

 

“นี่ผักคราดหัวแหวน” วิทยากรชี้ชวนให้ดูไม้ต้นเล็ก ดอกสีเหลืองเป็นตุ่มรูปไข่ ดูไปก็เหมือนหัวแหวนจริง ๆ เสียด้วย เป็นต้นไม้หน้าตาคุ้นเคย เพราะเคยเห็นขึ้นเองที่บ้าน และถูกถอนทิ้งไปเพราะคิดว่าเป็นวัชพืช “แก้ปวดฟันได้นะ ลองชิมดูสิ”

 

ลองเด็ดดอกเหลือง ๆ ส่งเข้าปาก รสชาติเผ็ด ซ่า สักพักรู้สึกชาลิ้น “มีฤทธิ์เหมือนยาชา” วิทยากรอธิบาย ฟังวิทยากรแล้วนึกเสียดายที่เคยถอนทิ้งไปเพราะไม่รู้คุณค่า ที่นี่... ลานนานาสมุนไพร เราจะทำความรู้จักกับสมุนไพรนับร้อยชนิด บ้างเคยได้ยินชื่อแต่อาจไม่เคยเห็นหน้าตา บ้างเคยเห็นหน้าตาแต่ไม่เคยรู้มาก่อนว่านี่ต้นอะไรนะ ที่นี่มี QR Code คอยอธิบายชื่อสมุนไพรให้ความรู้เหมือนมีผู้ช่วยมากระซิบบอกความรู้ข้างตัว

 

จากพื้นที่ปลูกสมุนไพรด้านนอก หลบแดดมาที่ห้องนิทรรศการถาวรสมุนไพร ภูมิปัญญาไทยสู่สากล จุดสะดุดตาแรกคงเป็นโต๊ะสีขาวโค้งขนาดใหญ่ จัดแสดงเภสัชวัตถุ (ที่เรียกแบบนี้ เพราะว่ายาไทย ไม่ได้มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบอย่างเดียว แต่ยังมีสัตววัตถุ ที่มาจากสัตว์ และธาตุวัตถุที่มาจากแร่ธาตุต่าง ๆ ด้วย) ที่น่าสนุกคือมีโซนอินเตอร์แอ็กทีฟให้ผู้ชมร่วมสนุกทำแบบทดสอบค้นหาธาตุเจ้าเรือนของตัวเอง พอรู้ลักษณะธาตุเจ้าเรือนว่าเป็นแบบใด ธาตุดิน น้ำ ลม หรือไฟ ก็มาดูการดูแลสุขภาพและอาหารการกินที่เหมาะกับธาตุเจ้าเรือน

ศึกษาสมุนไพรแบบครบวงจร

อีกหนึ่งบทบาทของ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ คือการเป็นแหล่งเรียนรู้ เผยแพร่สื่องานวิชาการ และสร้างเครือข่ายการทำงานทั้งในและระดับนานาชาติ ที่นี่มีระบบการค้นหาพันธุ์พืช ศูนย์ปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพร เป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช นอกจากนี้องค์ความรู้ยังถูกเผยแพร่ผ่านรูปแบบ Webinar งานสัมนาออนไลน์ แต่ละเซ็กชันมีเนื้อหาชวนฟัง เข้าร่วมได้ทั้ง นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป เช่น “Botanical Art with the Meaning ภาพวาดทางพฤกษศาสตร์ ศาสตร์ที่มากกว่าการวาดรูป” นอกจากนี้ยังมีโซนเวิร์กช็อป ให้ผู้เข้าร่วมได้ทดลองเรียนรู้ ลงมือทำ เช่น ทำยาดมสมุนไพร ความรู้จาก Herbarium และการทำดอกไม้แห้ง ปรุงอาหารจากสมุนไพร หรือกิจกรรมที่เด็ก ๆ ชื่นชอบคือ วุ้นสมุนไพรหลากสี

 

เมื่อคุณก้าวเท้าออกจากที่นี่ คุณจะมองพืชพรรณ ต้นไม้รอบตัว ด้วยสายตาแบบใหม่ ต้นหญ้า ดอกไม้ริมทาง ที่เคยมองข้ามและมองผ่าน จะกลับมามีความหมายอีกครั้ง

…ผักคราดหัวแหวน ใช้เป็นยาชา

…ผักเชียงดา ใช้ลดน้ำตาลในเลือด บรรเทาโรคเบาหวาน

...ว่านกาบหอย มีฤทธิ์เย็น แก้ไข้ ทำน้ำดื่มได้ อร่อยด้วย

เหมือนที่บรมครูแพทย์ชีวกโกมารภัจจ์เคยกล่าวไว้ว่า “ไม่มีพืชใด ไม่เป็นยา”
 

 

สถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ อยู่ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พุทธมณฑลสาย 4 จังหวัดนครปฐม

เปิดวันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 06.00-18.00 น.

ค่าเข้าชม: เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) เข้าชมฟรี / บุคคลทั่วไป : 50 บาท / นักเรียน/นักศึกษา/บุคลากรทางการศึกษา : 30 บาท

Travel Around

  • หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) หอสมุด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ที่เก็บภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ตลอดจนสิ่งเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพื่ออนุรักษ์ให้ประชาชนได้ศึกษาค้นคว้า ชื่นชมมรดกทางศิลปวัฒนธรรม และยังมี “นิทรรศการภาพค้างติดตา: Persistence of Vision” ชวนร่วมหาคำตอบว่าภาพยนตร์เกิดขึ้นได้อย่างไร
444 views

0

แบ่งปัน