คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

หาบจังหันชาวลาวเวียง

การหาบจังหันเป็นกุศโลบายที่เชื่อว่า ยิ่งหาบหนักยิ่งได้บุญมาก

ภาพที่คุ้นชินในยามเช้าตรู่ตามต่างจังหวัด คือภาพคนเฒ่าคนแก่ออกมายืนรอเตรียมอาหารใส่บาตรพระ

บรรยากาศยามเช้าที่เย็นสบาย เสียงต่างๆ รอบตัวยังคงเงียบสงบ พระสงฆ์จีวรสีเหลืองส้มออกบิณฑบาตไปยังบ้านต่างๆ เพื่อให้ชาวบ้านได้ร่วมทำบุญกัน

ที่ “บ้านหาดสองแคว” อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ ก็เป็นดังเช่นหมู่บ้านในต่างจังหวัดอื่นๆ

ซึ่งบ้านและวัดยังคงผูกพันกันเหนียวแน่นแต่การใส่บาตรยามเช้าของคนหาดสองแควไม่ธรรมดาเหมือนที่อื่นๆ

เพราะเป็นการ “ตักบาตรหาบจังหัน” ที่มีความพิเศษแตกต่างจากที่อื่น

        ก่อนอื่นขอพาไปทำความรู้จักกับ “บ้านหาดสองแคว” กันก่อน หมู่บ้านแห่งนี้มีความเป็นมายาวนาน บริเวณที่ตั้งชุมชนมีแม่น้ำสองสายไหลมาบรรจบกัน คือแม่น้ำน่านและคลองตรอน ทำให้เกิดหาดสันทรายเป็นแนวยาวจนกลายเป็นชื่อเรียกของหมู่บ้าน

       นอกจากนั้น ผู้คนในท้องถิ่นยังมีเชื้อสาย “ลาวเวียง” หรือเชื้อสายของชาวลาวจากเมืองเวียงจันท์ ประเทศลาว ที่ถูกกวาดต้อนมาในสมัยรัชกาลที่ 3 เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกองโค (ขึ้นกับ ต.คอรุม อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ ในปัจจุบัน) และได้ขยายถิ่นฐานขึ้นมาทางทิศเหนือคือบ้านหาดสองแควในปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านหาดสองแควกว่า 90% ยังคงพูดคุยกันด้วยภาษาลาวเวียง กินอาหาร และมีวัฒนธรรมแบบชาวลาวเวียงอยู่จนปัจจุบัน

 

       ส่วนการตักบาตรยามเช้าของคนบ้านหาดสองแควที่กล่าวไปแล้วว่าเป็นการตักบาตรธรรมดาที่ไม่ธรรมดานั้น เรียกว่า “การตักบาตรหาบจังหัน” หรือ "ประเพณีการการหาบสาแหรก" ซึ่งเป็นประเพณีท้องถิ่นที่กระทำสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ คำว่า “จังหัน” หมายถึงภัตตาหารที่จะถวายแด่พระสงฆ์ ในยามเช้า พระสงฆ์จากวัดหาดสองแควจะแบ่งสายกันออกเดินบิณฑบาตไปตามหมู่บ้าน เดินไปจนสุดเส้นทางแล้วก็จะเดินกลับโดยยังไม่มีชาวบ้านคนใดออกมาใส่บาตร ขณะที่พระเริ่มเดินกลับนี่เอง ชาวบ้านที่อยู่ท้ายบ้านจะตีเกราะเป็นสัญญาณให้ทุกบ้านรู้ เพื่อจะได้ออกมายืนรอตักบาตรและชาวบ้านที่มารอตักบาตรก็จะใส่บาตรเฉพาะข้าวสุก (ข้าวเจ้า) เท่านั้น โดยไม่มีกับข้าวใส่บาตร แต่จะนำกับข้าวคาวหวานอื่นๆ ตามไปถวายพระที่วัดภายหลัง ซึ่งการตักบาตรเฉพาะข้าวเปล่าแล้วค่อยนำอาหารไปถวายที่วัดนี้มักพบเห็นในประเทศลาว หรือจังหวัดในภาคอีสานของไทย เช่นที่ อ.เชียงคาน จ.เลย เป็นต้น ต่างกันตรงที่เป็นการตักบาตรข้าวเหนียวแทนข้าวสวย

 

ความพิเศษที่น่ารักของการตักบาตรหาบจังหันอยู่ตรงการนำกับข้าวไปถวายพระที่วัดนั่นเอง โดยเมื่อพระสงฆ์เดินกลับวัดไปแล้ว แต่ละบ้านก็จะนำสำรับอาหารหรือปิ่นโตมาวางบนแป้นไม้หน้าบ้าน จากนั้นก็จะมีคนหาบสาแหรกไม้คานสายละ 3-4 คน นำสำรับอาหารของแต่ละบ้านที่วางบนแป้นไม้เหล่านั้นหาบไปถวายพระสงฆ์ที่วัด

        คนที่ทำหน้าที่หาบสาแหรกนั้นจะเป็นใครชายหรือหญิงก็ได้ ไม่ได้กำหนดตายตัว ไม่ได้เป็นหน้าที่ประจำ ใครว่างก็หาบไป แต่ก็มีคนหาบทุกวันไม่เคยขาด จะรู้กันว่าวันนี้ใครอยู่ไม่อยู่ ใครติดธุระ ใครจะหาบแทน จะทำอย่างนี้ทุกวัน ยกเว้นวันพระที่ทุกคนจะหาบข้าวปลาอาหารไปที่วัดกันเอง โดยพระไม่ได้ออกบิณฑบาตและหลังจากที่คนหาบจังหันไปยังวัดแล้วก็จะจัดเรียงอาหารลงถาดโดยไม่ต้องถ่ายถ้วยชาม ผู้ชายจะทำหน้าที่ประเคนอาหารพระ แล้วนั่งรอจนพระฉันเสร็จ เมื่อพระให้ศีลให้พรแล้วก็จะนำอาหารมากินกัน ส่วนที่เหลือก็ส่งกลับเจ้าของเดิม ถ้าถ้วยอาหารของใครหมด คนหาบก็จะตักข้าวสุกใส่ให้จนเต็มถ้วย จากนั้นจะหาบถ้วยอาหารไปวางคืนไว้ตามแป้นไม้หน้าบ้านตามเดิมโดยไม่ผิดชามผิดบ้าน

1,407 views

0

แบ่งปัน