คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดโบราณทุ่งยั้ง

วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง เป็นสถานที่เก่าแก่ เป็นเมืองอดทนสมัยกรุงสุโขทัย มีโบราณสถานที่งดงาม

     วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ตั้งอยู่ในตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ 5 กิโลเมตร เป็นวัดสำคัญประจำเมืองทุ่งยั้ง ซึ่งในเมืองทุ่งยั้งถือได้ว่าเป็นเมืองที่มีผู้คนมาอยู่อาศัยอย่างยาวนาน ภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญมากมาย

     วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งแห่งนี้ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย คือ สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาที่1(พระยาลิไทย) ชาวบ้านทั่วไปเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดบรมธาตุ แต่ส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า วัดทุ่งยั้ง กรมศิลปกรได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้วัดนี้เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2478 และเขียนชื่อวัดนี้ว่า วัดมหาธาตุ เป็นชื่อทางการ การสร้างพระบรมธาตุ กล่าวว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่1(พระยาลิไทย) ผู้ปกครองได้เชิญพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาบรรจุไว้ในถ้ำใต้ดินโดยขุดลงไปเป็นถ้ำแล้ก่อพระธาตุไว้ โดยลักษณะเดิมของพระบรมธาตุเมืองทุ่งยั้งคงเป็นรูปเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ แต่ต่อมามีการบูรณะเพิ่มเติมโดยพญาตะก่า พ่อค้าไม้ ชาวพม่าในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงก่อนปี พ.ศ. 2444 เป็นลักษณะเจดีย์พม่า จนใน พ.ศ.2451 ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทำให้ยอดพระบรมธาตุเจดีย์หักพังลงมา หลวงพ่อแก้วสมภารวัดพระบรมธาตุในขณะนั้นได้เป็นหัวหน้าปฏิสังขรณ์ซ่อมเพิ่มเติม

     ภายในวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง วิหารหลวงขนาดใหญ่ หน้าพระบรมธาตุเจดีย์ทุ่งยั้ง  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ว่า วิหารหลวงเป็นของเก่า ที่หน้าบรรณจำหลักเมือง รามเกียรติ์ แต่สึกกร่อนไปมากแล้วเห็นจะบูรณปฏิสังขรณ์ฝาผนังภายในวิหารหลวง เขียนเรื่องสังข์ทอง เป็นฝีมือช่างกรุงยังปรากฏอยู่ เหตุที่เขียนเรื่องสังข์ทอง เพราะมีคำปรัมปราเมืองเหนือกล่าวกันว่าเมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองท้าวสามล ในเรื่องสังข์ทอง ซึ่งเขียนในสมัยแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ พ.ศ.  2283ในสมัยอยุธยา

     อยุธยา  โบสถ์ ไม่ว่าจะไปวัดไหนๆ ที่มีวิหารหลวงหลังใหญ่ ด้านหลังมีพระธาตุเจดีย์มักจะมีโบสถ์หลังเล็กๆ ขนาดโบสถ์ที่สร้างอยู่ข้างวิหารหลวง ใบเสมาให้เล็กเท่ากับขนาดของโบสถ์

     หลวงพ่อหลักเมือง องค์พระประธานประดิษฐานในพระวิหารหลวง สร้างใน 2283 พระเจ้าบรมโกศทรงให้สร้างในคราวที่ทรงบูรณะปฎิสังขรณ์วัดบรมธาตุเมืองทุ่งยั้ง เป็นพระพุทธรูปศิลปะแบบอู่ทองในสมัยสุโขทัย ชาวบ้านนิยมเรียกชื่อหลวงพ่อหลักเมืองว่าหลวงพ่อปรานเฒ่าและหลวงพ่อโต เชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะชองประชาชน เพราะได้รับสิ่งพึ่งปรารถนาตามแต่จิตอธิฐาน

     ปัจจุบันแผ่นดินทุ่งยั้งนี้ ถือได้ว่าเป็นเมืองที่ผู้คนอยู่อาศัยติดต่อกันมาอย่างยาวนาน มีการตั้งถิ่นฐานผสมกับคนในพื้นถิ่นเดิมจนเป็นข้อสังเกตได้ว่า คนทุ่งยั้งได้รับเอาอิทธิพลวัฒนธรรมร่วมเข้ามา เช่น มีสำเนียงภาษาการออกเสียงเหมือนกับคนจังหวัดสุโขทัย เมืองทุ่งยั้งเป็นเมืองเก่าเพราะว่าเคยเป็นเมืองอดทนของกรุงสุโขทัยภาษาการพูดจึงเหมือนกับจังหวัดสุโขทัย มีโบราณสถาน โบราณวัตถุที่งดงาม วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนอุตรดิตถ์ และในทุกๆปี วันพระบรมธาตุทุ่งยั้งมีงานประจำปีคือ งานอัฐมีบูชาคืองานที่มีการจำลองถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระพุทธเจ้า เป็นการน้อมรำลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ถือเป็นพิธีกรรมอันยิ่งใหญ่ และเป็นความภาคภูมิใจของคนทุ่งยั้งและชาวอุตรดิตถ์เป็นอย่างมากเนื่องจากการจัดพิธีอัฐมีบูชาจัดขึ้นครั้งแรกที่วัดพระบรมพระธาตุทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์แห่งเดียวในโลกและเป็นต้นแบบเพื่อเป็นแนวทางการจัดพิธีกรรมในจังหวัดอื่นๆ อาทิเช่น วัดใหม่สุคนธาราม จังหวัดนครปฐม เชิญชวนมาชมความเก่าแก่ของวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้งแห่งนี้

ภาพและเนื้อหาโดย นางสาววลัยพร  ขันทะรักษ์ 

5,242 views

0

แบ่งปัน