คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดพระยืน

วัดพุทธอารามแห่งนครหริภุญชัย

         จังหวัดลำพูนได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมและพุทธศาสนา ซึ่งจากตำนานในอดีตกล่าวว่าเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินล้านนา มีวัดวาอารามและโบราณสถานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวัดพระธาตุหริภุญไชย วัดจามเทวี วัดมหาวัน วัดกู่ละมัก แต่มีอยู่วัดหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองเป็นวัดที่เก่าแก่ตั้งแต่สมัยเมื่อสร้างเมืองหริภุญชัยคือ “วัดพระยืน” หรือ “วัดอรัญญิการาม” วัดพระยืนเป็นวัดประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดลำพูน เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองแห่งนครหริภุญชัย สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวีเป็นปฐมกษัตริย์ครอบครองนครหริภุญชัยองค์ที่ 1 นับอายุปัจจุบันได้ 1330 ปี  ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ.1204 พระสุเทวฤาษีได้สร้างนครหริภุญชัยขึ้น เมื่อสร้างนครได้ 2 ปีจึงได้อัญเชิญพระนางจามเทวีจากเมืองละโว้มาเสวยราชสมบัติและเมื่อพระนางจามเทวีครองราชได้ 7 ปี เมื่อปี พ.ศ.1213 พระองค์จึงได้สร้างวัดทางทิศตะวันออกของเมือง สร้างพระวิหาร พระพุทธรูปและเสนาสนะให้เป็นที่อยู่ของพระสังฆเถระ เรียกชื่อวัดนี้ว่า “อรัญญิการาม”

            ปีพุทธศักราช 1606 สมัยพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์องค์ที่ 32 แห่งนครหริภุญชัยมีผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุผุดขึ้นมาจากพื้นดินกลางเมืองเปล่งรัศมีต่าง ๆ พระองค์จึงมีบัญชาให้เสนาอำมาตย์ทั้งหลายสร้างพระสถูปปราสาทสูง 12 ศอกมี 4 เสาประตู 4 ด้านตรงผอบที่พระบรมสารีริกธาตุผุดขึ้นนั้นภายหลังเรียกว่า “พระบรมธาตุหริภุญชัย” และพระเจ้าอาทิตยราชทรงหล่อพระมหาปฏิมากรทองสัมฤทธิ์สูง 18 ศอกเสร็จแล้วได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดทางทิศตะวันออกหลังพระวิหารวัดอรัญญิการามและสร้างปราสาทสถูปเป็นที่ประดิษฐานพระมหาปฏิมากร(พระพุทธรูปยืน)นั้นด้วย เรียกชื่อว่า “วัดพุทธอาราม”

ในปี พ.ศ.1912 พระยากือนาและพระมหาสุมณะเถระได้สร้างพระพุทธรูปยืนด้านตะวันออกด้วยศิลาแลงเมื่อปีระกา เดือนยี่ออก 3 ค่ำวันอังคาร ซึ่งปรากฏตามหลักศิลาจารึกความว่า “พระมหาเถระเป็นเจ้า จึงให้แรกสร้างพระยืนเป็นเจ้าในปีระกา เดือนยี่ออก 3 ค่ำวันไตยกาบเส็ด วันเม็งอังคาร เมื่อจักได้สร้างศักราชได้เจ็ดร้อยสามสิบเอ็ดฯ….ถัดนั้นท่านเป็นเจ้าให้แรกมาฆะ คือประชัยรากพระพุทธรูปยืนทั้ง 3 ตน อันมาหนด้านใต้ ด้านเหนือ เมื่อวันหนวันตกนั้น ปีระกาเดือน 3 แรม 4 ค่ำฯ…วันศุกร์ศักราชได้เจ็ดร้อยสามสิบเอ็ดโสด กระทำพระยืนเป็นเจ้าในปีระกามาแล้วในปีจอ”

 

          วัดพระยืนในอดีตเคยรุ่งเรืองมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของเมืองหริภุญชัย ด้วยวัดพระยืนเป็นวัดสำคัญทางทิศตะวันออกของเมืองมีบ้านเรือนศรัทธาผู้อุปฐากประมาณ 70 หลังคาเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา พระภิกษุที่จำพรรษาที่วัดนี้ส่วนใหญ่มาจากถิ่นอื่นเพื่อพำนักศึกษาเล่าเรียน โบราณสถานที่สำคัญในวัดพระยืนได้แก่เจดีย์วัดพระยืน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1606 สมัยพระเจ้าอาทิตยราช ซึ่งพระองค์ได้หล่อพระมหาปฏิมากรทองสัมฤทธิ์สูง 18 ศอกแล้วอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระยืน ต่อมาปี พ.ศ.1912 พระยากือนา กษัตริย์นครพิงค์เชียงใหม่ได้นิมนต์พระสุมณะเถระจากเมืองสุโขทัยมาจำพรรษาที่วัดพระยืน จากนั้นจึงได้ก่อสร้างพระพุทธรูปยืนเป็นศิลาแลงขนาดเท่าองค์เดิมขึ้นอีก 3 องค์ และต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2447 พระคันธวงศ์เถระ (ครูบาวงศ์) ภายหลังที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูศีลวิลาศ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนพร้อมด้วยเจ้าหลวงอินทยงยศ เจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ก่อสร้างสถูปที่พังทลายแล้วแต่องค์พระปฏิมากรสมัยที่พระเจ้าอาทิตยราชและพระสุมณะเถระกับพระยากือนาสร้าง 4 องค์นั้นยังอยู่ การก่อสร้างขึ้นใหม่ได้ก่อหุ้มพระปฏิมากรทั้ง 4 องค์เดิมไว้ภายในและได้สร้างก่อสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่อีก 4 องค์  เจดีย์วัดพระยืนที่เห็นในปัจจุบันเป็นศิลปกรรมพม่า คล้ายกับเจดีย์วัดสัพพัญญูในเมืองพุกาม สร้างบนยกพื้นสูงเป็นชั้นลดหลั่น ลานประทักษิณชั้นบนมีเจดีย์ขนาดเล็กประจำมุม เรือนธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมมีจระนำยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน เหนือเรือนธาตุเป็นหลังคาลาดรองรับชุดฐานซ้อนต่อยอดทรงระฆัง เจดีย์องค์ใหม่ที่สร้างครอบของเดิมนี้ เจ้าหลวงอินทยงยศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ให้หนานปัญญาเมืองชาวบ้านหนองเส้ง ซึ่งเป็นช่างประจำคุ้มหลวง เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่แทนองค์เดิมที่เหนือซุ้มขึ้นไปได้พังทลายลง

          หลักศิลาจารึก ที่ขุดพบในวัดพระยืน สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 600 กว่าปีสร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสุมณะเถระกับพระยากือนาได้ร่วมกันก่อสร้างพระพุทธรูปยืนขึ้นอีก 3 องค์ ศิลาจารึกนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เคยเสด็จมาทอดพระเนตรและได้นำกระดาษสาและแท่งคาร์บอนฯมาขูดเพื่อปรากฏตัวอักษรนำไปศึกษาซึ่งพระองค์ให้ความสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ภายในวัดพระยืนยังมีพระอุโบสถที่เก่าแก่ ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนาเมื่อปี พ.ศ.1929 ต่อมาพระมงคลญาณมุณี เจ้าคณะจังหวัดลำพูนและเจ้าอาวาสวัดพระยืนได้ทำการบูรณะขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2472 ซึ่งปัจจุบันพระอุโบสถแห่งนี้ยังปรากฏภาพเขียนสีที่บริเวณด้านข้างและมีลวดลายที่หน้าบันอย่างสวยงาม ซึ่งคงสภาพเดิมเมื่อกว่า 70 ปีที่แล้ว  ด้วยคุณค่าของศิลปกรรมเก่าแก่ที่มีการอนุรักษ์รักษาไว้เป็นอย่างดีของชาวบ้านวัดพระยืน อีกทั้งในบริเวณวัดยังเงียบสงบร่มรื่น จึงไม่แปลกใจเลยที่วัดพระยืนแห่งนี้ได้กลายเป็นวัดที่หลายคนใฝ่ฝันเดินทางมาศึกษาถึงประวัติและเยี่ยมชมความสวยงามของศิลปกรรมสมัยเมื่อ 600 กว่าปีก่อนอย่างมากมาย

ขอบคุณเนื้อเรื่องจาก

www.sites.google.com/site/watinlamphun/wad-phrayun

4,337 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดลำพูน