คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เนินประวัติศาสตร์

ประวัติความเป็นมา
          เป็นบริเวณที่ตั้งของพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ในอดีต ซึ่งพระยารัตนเศรษฐี (คอซิมก๊อง) เจ้าเมืองระนอง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จเลียบแหลมมลายู ในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ โดยทรงประทับแรมที่พระที่นั่งดังกล่าวเป็นเวลา ๓ ราตรี สมัยพระยาดำรงสุจริตมหิศรภักดี (คอยู่หงี่) เป็นเจ้าเมืองระนอง ได้ดัดแปลงพระที่นั่งรัตนรังสรรค์เป็นรูปเรือนตึก ๒ ชั้น แล้วใช้เป็นศาลากลางของเมืองระนอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพักแรม ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ ๒ ครั้ง ใน พ.ศ. ๒๔๕๒ พักอยู่ ๔ ราตรี และ พ.ศ. ๒๔๖๐ พัก ๓ ราตรี สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ ก็ได้ประทับแรม ๑ ราตรี

ลักษณะทั่วไป
          เป็นเนินดินไม่มีสิ่งก่อสร้างปรากฏเนื่องจากพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ถูกรื้อถอนไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ เพื่อก่อสร้างศาลากลางจังหวัดหลังใหม่ แต่ก็ยังปรากฏร่องรอยเป็นบันไดทางขึ้นและบริเวณให้เห็น

หลักฐานที่พบ
          บันไดทางขึ้นฐานปืนใหญ่และต้นมะขามที่รัชกาลที่ ๕ ทรงปลูกไว้จำนวน ๒ ต้น ส่วนองค์พระที่นั่งนั้นยังปรากฏภาพถ่ายเป็นหลักฐาน ซึ่งเก็บรักษาไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงบันทึกถึงพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ว่า ใช้ไม้พื้นเมืองทั้งหมด กรอบฝาใช้ไม้แก่นตัวฝาทำด้วยไม้ระกำ เพดานใช้ไม้ลอกประกอบอย่างดี บานประตูหน้าต่างอย่างฝรั่ง หลังคาแปดเหลี่ยมมุงด้วยกระเบื้องไม้ ส่วนหลังอื่นๆ มุงจากมีบราลีบนหลังคาทำอย่างวิจิตรสอดสีเขียวสีแดงปิดทองพื้นชั้นล่างปูกระเบื้องหน้าวัวชั้นบนเป็นพื้นกระดานใช้โคมใหญ่โคมแขวนเป็นระย้ามีโคมเงาะติดฝาทุกเสามีเครื่องประดับตกแต่งทุกห้องทุกอย่างทำอย่างประณีตให้งามและถาวร บริเวณชั้นล่างเป็นพื้นดินแต่ราบเรียบก่ออิฐเป็นขอบ ปลูกต้นไม้เป็นหย่อมๆ ทำเป็นเขาจำลองและตุ๊กตารูปสัตว์ มีกระถางต้นไม้แบบจีนวางรายตามทางและหน้าท้องพระโรง และเมื่อรัชกาลที่ ๖ เสด็จประทับแรม ณ พระที่นั่งรัตนรังสรรค์ ได้บันทึกไว้ว่า ตั้งอยู่บนยอดเขาและมีต้นไม้ล้อมรอบทุกด้าน เป็นที่น่าสบายอย่างยิ่ง ตัวพระที่นั่งเป็นเรือนตึก ๒ ชั้น รูปยาวไปตามรูปยอดเขารับลมเย็นสบายดีนัก สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ได้กล่าวถึงพระที่นั่งรัตนรังสรรค์ไว้ว่า มีท้องพระโรงหลังหนึ่ง ที่อยู่ข้างในใหญ่หลังหนึ่ง ยกเป็นห้องนอนสูงขึ้นไปหลังหนึ่งที่หลังเล็กซึ่งเป็นที่นอน และที่หลังแปดเหลี่ยม แลดูเห็นเมืองระนองทั่วทั้งเมือง

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดระนอง https://www.m-culture.go.th/ranong/ewt_news.php?nid=22&filename=index

จัดหาข้อมูลโดย นางสาวอันนานี รีจิ

1,622 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดระนอง