คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

แหวนตีมือโบราณไทพวน

“แหวนตีมือโบราณไทพวน” เจ้าตำรับตีเงินเข้านิ้วแห่งสยาม

โดยสังเขป “แหวนตีมือโบราณไทพวน” เจ้าตำรับตีเงินเข้านิ้ว

อ้างอิงข้อมูลทางบรรณานุกรมของห้องสมุดแห่งชาติ ในเหตุการณ์ไทยเสียเมือง ร.ศ. ๑๑๒ กรณีพิพาทไทย-ฝรั่งเศส การที่ฝรั่งเศสได้นำกองทหารเข้ายึดครองแคว้นสิบสองจุไทย ด้วยการกล่าวอ้างว่าเพื่อช่วยปราบฮ่อแล้วไม่ยอมถอย ครั้นเมื่อการปราบฮ่อครั้งที่ ๔ ผ่านพ้นไป ฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองดินแดนสิบสองจุไทยไว้ ฝ่ายไทยได้ส่งทหารเข้ายึดครองหัวเมืองทั้งห้า รวมเมืองพวนเป็นเมืองที่หก เขตหลวงพระบางรวมทั้งเขตแดนทุ่งเชียงคำประกอบกับที่สยามมีอาณาเขตไม่แน่ชัด จึงถูกฝรั่งเศสบีบทางการเมืองและการทหารจนต้องเสียดินแดนบางส่วนครั้งแรกในสมัยนี้เอง คือพื้นที่สิบสองจุไทย และเมืองพวนเป็นเนื้อที่ ๘๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศสเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๔๓๑ เป็นปฐมเหตุแห่งการเกิดเหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ทำให้ไทยต้องเสียเมืองหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ ดินแดนสิบสองจุไทยและเมืองพวน (เมืองแห่งช่างตีเงิน)

หลังเหตุการณ์บ้านเมืองสงบ จึงเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ หลวงธรรมรงค์ จึงได้ระดมช่างฝีมือทุกชนเผ่าที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องเงิน ชาวพวนที่อพยพมาจากเมืองพวนบางส่วน ได้มาอาศัยใบบุญบารมีพระชายาดารารัศมี ซึ่งเป็นบุตรตรีของเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์สุดท้าย ในรัชกาลที่ ๕ จึงได้นำเหรียญเงินตรามาตีเป็นแหวน เรียกว่า “ตีเงินเข้านิ้ว” ซึ่งเป็นการตีตามแบบฉบับดั้งเดิมโบราณกาลแท้ กระบวนการดั้งเดิมที่คงสื่บทอดจากรุ่นสู่รุ่น นั้นคือ “จะต้องตีโดยไม่ผ่านไฟ ไม่ผ่านการหลอมละลาย” โดยความเชื่อที่สืบมาได้กล่าวไว้ว่า เงินหนึ่งร้อยบาทถ้าขาดไปแม้หนึ่งสตางค์แดงเดียว เงินจำนวนนั้นก็ไม่อาจเต็มร้อยได้ เพราะฉะนั้นเงินตราแม้เพียง หนึ่งสตางค์แดงเดียว ก็มีอำนาจในการเติมเงินให้เต็มร้อยได้ ถ้านำมาตีให้เป็นแหวนแบบโบราณ จึงเรียกว่า “ตีเงินเข้านิ้ว เข้ามือ” เงินจะอยู่นิ้วอยู่มือเต็มนิ้วเต็มมือ ถ้าถูกไฟเงินจะตาย จะเขียวจะดำ “ต้องตีสด " เท่านั้นจากแรงของช่างตีเงินเท่านั้น เงินจะได้ไม่ตาย ยังคงรักษาเนื้อเงิน ให้มีอำนาจในการเติมเต็ม อย่างเช่น สามารถเก็บรายละเอียดบนขอบเหรียญ ได้ทั้งนอกและใน เรียกว่าเก็บเลข พ.ศ. และสกุลเงินนั้นได้

ช่าง “ตีเงินเข้านิ้ว” จะสืบทอดฝีมืองานช่างจากรุ่นสู่รุ่น ต้องเป็นผู้มีศีล 5 จิตเป็นกุศลธรรม ผู้เป็นครูอาจารย์หรือบิดา ถึงจะยอมสอนให้  และช่างส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่กับเจ้าขุนมูลนาย เหล่าราชนิกุล ถึงจะประชาชนทั่วไปจึงไม่ค่อยได้เห็นงานแบบนี้สักเท่าไหร่นัก

4,105 views

2

แบ่งปัน