คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เศรษฐกิจชุมชนแม่ขรี

พัฒนาการเศรษฐกิจชุมชนแม่ขรี : ศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าสำคัญของพัทลุง พ.ศ. 2490 - 2550

พัฒนาการเศรษฐกิจชุมชนแม่ขรี : ศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้าสำคัญของพัทลุง  พ.ศ. 2490 - 2550

 

สุริยา  แปลงจะโปะ[1]

Suriya Plangjapon

 

          เมื่อกล่าวถึงแม่ขรีในยุคปัจจุบัน เราอาจนึกถึงภาพของเมืองที่เต็มไปด้วยย่านการค้าและย่านสถานบันเทิงที่หลากหลายที่เปรียบดั่งเมืองสวรรค์ของผู้คนที่เข้ามาในแม่ขรี ซึ่งทำให้แม่ขรีกลายเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นลำดับต้น ๆ ของจังหวัดพัทลุง ภาพความเจริญดังกล่าวอาจทำให้เราคิดไปว่าแม่ขรีเป็นเมืองศิวิไลซ์ ที่มีพัฒนาการความเป็น “เมือง” มายาวนานไม่ต่างอะไรไปจากเมืองใหญ่ ๆ เช่น เมืองหาดใหญ่ เมืองบางแก้ว เมืองควนเนียง แต่จากการค้นคว้าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า แม่ขรีมิใช่เมืองที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เมื่อเปรียบเทียบกับ ชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง เช่น ชุมชนตะโหมดซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในขณะที่เมืองเหล่านี้ ปรากฎร่อยรอยทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่แสดงให้เห็นถึงการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาอย่างน้อยที่สุดก็หลาย 100 ปี แต่แม่ขรีกลับไม่มีร่อยรอยของการก่อตั้งถิ่นฐานชุมชน หรือ อาณาจักรโบราณในพื้นที่แต่อย่างใด

         ชุมชนแม่ขรีเป็นชุมชนหนึ่งที่เกิดจากเส้นทางการค้าขายของชาวอินเดียหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงทศวรรษ 2480 ก่อนหน้านี้ชุมชนแม่ขรีไม่มีการตั้งถิ่นฐานของผู้คน ยังเป็นเเค่เพียงทุ่งหญ้าสลับกับต้นไม้ ทางทิศเหนือของทุ่งมีลำคลอง ทำให้ชาวปลักปอมกับชาวตะโหมดซึ่งตั้งชุมชนอยู่ทางทิศตะวันตกใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงวัว และเป็นเส้นทางผ่านเพื่อเดินทางจากบ้านตะโหมด และบ้านปลักปอม ไปขึ้นรถไฟที่สถานีบางแก้วหรือไปค้าขายที่ตลาดบางแก้ว (สภาลานวัดตะโหมด 2543 : 16)        

           ต่อมา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แม่ขรีมีการพัฒนาตนเองมาอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว  จนกลายเป็นชุมชนเมืองที่มีประชากรหนาแน่น โดยมีความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจังหวัดพัทลุงรองจากอำเภอเมือง ทำให้แม่ขรี“กลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการค้า การคมนาคม”การศึกษาของชุมชนใกล้เคียง มาจนถึงปัจจุบัน

          พัฒนาการชุมชนแม่ขรี : บทบาทเมืองศูนย์กลางการค้า ช่วง พ.ศ. 2490 - 2550

           ระบบเศรษฐกิจการค้าของชุมชนแม่ขรี ก่อน ทศวรรษ 2490 เป็นระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ โดยมีระบบการผลิตที่หลากหลาย ในช่วงนี้เป็น การผลิตเพื่อกินเพื่อใช้ แต่ส่วนเกินจากการกินก็จะนำไป ซื้อขายแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่น ในช่วงแรกของการก่อตั้งชุมชนปลายทศวรรษ 2480 ผู้คนใน แม่ขรีจะนำผลผลิตทางการเกษตรมีทั้ง ข้าว ยางพารา ผลไม้ต่าง ๆ ไปขายที่ตลาดบางแก้ว เช่นเดียวกับนายจาบ ชนะสิทธิ์ ได้สร้างธุรกิจของตนเองในแม่ขรีโดยการรับซื้อ “ขี้ยาง” ไปขายที่ตลาดบางแก้ว (สุรีรัตน์  ศิริสวัสดิ์ และ คณะ 2555 : 315 ) จนในปี พ.ศ. 2497 เป็นต้นมา กำนันสมพร ชนะสิทธิ์ ได้จัดตั้งตลาดถาวรขึ้นในแม่ขรี ทําให้มีผลผลิตมาแลกเปลี่ยนมากชนิด และผู้คนจากชุมชนอื่น ๆ ต่างเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันหนาแน่น จนทำให้ชุมชนเกิดการขยายตัวและเจริญรุ่งเรืองขึ้นของชุมชนอย่างรวดเร็ว


          

 

การค้าของชุมชนแม่ขรีช่วงทศวรรษ 2500

จนในทศวรรษ 2530 - 2550 เกิดการขยายตัวทางการค้ามากขึ้นภายในชุมชนประกอบภาคการเกษตรก็มีผลผลิต ราคาที่สูงขึ้น อันเป็นผลมาจากปัจจัยด้านต่าง ๆ เช่น ลักษณะทางภูมิศาสตร์  บทบาทผู้นำชุมชน  การเมืองท้องถิ่น  เส้นทางคมนาคม เป็นต้น จนทำให้แม่ขรีกลายเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญของชุมชน ทั้งการเป็นศูนย์กลางรับซื้อผลผลิตการเกษตร แหล่งรวมสินค้าเครื่องใช้ในครัวเรือน อุปกรณ์การทำเกษตร ที่พร้อมจะสนองต่อผู้บริโภคในทุก ๆ ด้าน แม่ขรีจึงเจริญรุ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา(ประมวล มณีโรจน์ (ผู้ให้สัมภาษณ์) สุริยา  แปลงจะโปะ (ผู้สัมภาษณ์) ที่บ้านเลขที่ 55 ม.11 ตำบลโคกสัก อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559)

 

การค้าของชุมชนแม่ขรีช่วงทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา

 

บทความของ นายสุริยา แปลงจะโปะ 140 ม.7 ต.คลองใหญ่ อ.ตะโหมด จ.พัทลุง 93160 โทร 0807138348

7,283 views

0

แบ่งปัน