คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

หอไตรวัดมหาชัย

หอไตรวัดมหาชัย ความงดงามและความทรงจำ

        “ฟังเด้อเจ้าแม่เฒ่าสายไหม สิเว้าเรื่องหอไตรวัดธาตุ งามสะอาดในทีปชมพู ญาครูแสงเป็นผู้ก่อสร้าง” บทกลอนลำภาษาท้องถิ่นที่เคยถูกร้องขับขานเมื่อครั้งปู่ย่าตายายยังเป็นเด็ก เป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นความ “ออนซอน” หรือความประทับใจในความงดงามต่อหอไตรวัดมหาชัยของผู้คนในอดีตที่ได้นำมาถ่ายทอดผ่านกลอนลำ

        หอไตรวัดมหาชัยที่ปรากฏอยู่ในบทกลอนลำบทนี้ ตั้งอยู่ภายในอาณาบริเวณของวัดมหาชัย อำเภอเมืองจังหวัดหนองบัวลำภู แต่เดิมผู้เฒ่าผู้แก่ในอดีตเรียกขานวัดมหาชัยกันว่า "วัดธาตุ" เพราะปรากฏร่องรอยของพระธาตุโบราณที่ปัจจุบันได้พังลงเป็นซากกองอิฐกองดินขนาดใหญ่อยู่ภายในวัด วัดมหาชัยแห่งนี้เดิมทีเป็นวัดร้างและไม่ปรากฏว่าถูกสร้างมาตั้งแต่สมัยใด จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ.2446 พระวิชโยดมกมุธเขต เจ้าเมืองกมุธาสัย (จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) ได้อาราธนาพระอาจารย์แสง ธมฺมธีโร พระสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติมาอยู่จำพรรษาที่วัดร้างทางทิศตะวันตกของหนองบัว (หนองน้ำขนาดใหญ่กลางเมืองหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) พระอาจารย์แสง ธมฺมธีโรท่านได้สร้างเสนาสนะต่างๆ รวมทั้งฟื้นฟูวัดร้างแห่งนี้ให้กลับมาเป็นวัดอีกครั้ง จึงถือได้ว่าวัดมหาชัยแห่งนี้เป็นวัดสังกัดคณะธรรมยุติกนิกายแห่งแรกในมณฑลอุดร

        ช่วงประมาณปี พ.ศ.2450–พ.ศ.2458 จะเป็นปีใดก็ไม่ชัดเจนนัก พระอาจารย์แสง ธมฺมธีโร ได้สร้างหอไตรขึ้นภายในวัดมหาชัย ซึ่งเป็นอาคารเครื่องไม้ยกพื้นสูง ปลูกสร้างอยู่กลางสระน้ำขนาดเล็กเพื่อป้องกันคัมภีร์ใบลานไม่ให้ถูกทำลายจากพวกมด มอด แมลงต่างๆ หอไตรวัดมหาชัยมีเสาจำนวนมากถึง 30 ต้น หลังคาเป็นทรงจั่วตามแนวขวางมีกันสาดต่อเชื่อมลงมา มีทางเข้าทางเดียวคือทางทิศใต้โดยมีสะพานเชื่อมระหว่างหอไตรกับริมฝั่ง ภายในหอไตรมีห้องเก็บคัมภีร์ใบลานหนึ่งห้องมีประตูเข้าออกทางเดียวคือทางทิศใต้และมีหน้าต่างขนาดเล็กทางทิศตะวันออกและตะวันตกอย่างละช่อง ส่วนทางทิศเหนือเป็นผนังทึบ ภายนอกห้องเก็บคัมภีร์มีระเบียงที่สามารถเดินวนรอบห้องเก็บคัมภีร์ได้

       

        ความงดงามของหอไตรวัดมหาชัยในอดีตนั้นได้ปรากฏอยู่ในบันทึกจากความทรงจำที่เขียนด้วยลายมือของ คุณตาอุทัย ศิริสถิตย์ ซึ่งชวนให้ลองหลับตาและนึกจินตนาการถึงความงามของหอไตรตามคำบรรยายนั้น โดยท่านเขียนบรรยายไว้ว่า “บนหลังคาหอไตรประกอบด้วยนภศูรย์และบาลีพิลาศช่อฟ้า ผูกไปด้วยใบโพเงิน-โพทองและลูกกระดึง ยามลมพัดมีเสียงกระดึงได้ยินไปไกลจนรอบเมือง” รวมถึงคุณปู่ของผู้เขียนเอง เมื่อพูดถึงหอไตรวัดมหาชัยเมื่อไหร่ ท่านจะบอกและย้ำหนักหนาว่าเมื่อสมัยท่านเป็นเด็กงดงามกว่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบันมากมายนัก

        ด้วยระยะเวลาตั้งแต่แรกสร้างจนถึงปัจจุบันที่ยาวนานนับร้อยปี หอไตรวัดมหาชัยหลังนี้ก็มีการเสื่อมสภาพไปตามสังขาร แต่ก็ยังคงปรากฏร่องรอยความงดงามของฝีมือช่างพื้นบ้านที่แสดงถึงความเรียบง่าย ใสซื่อบริสุทธิ์ อยู่ทั่วทั้งหอไตร ไม่ว่าจะเป็น สีหน้า หรือที่เรียกกันว่า หน้าบัน ช่างได้แกะสลักเป็นรูปเทวดาพนมมือประทับนั่งอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วท่ามกลางสกุณาและพันธุ์พฤกษาดอกกาละกับที่สอดเกลียวกันไปมาดังลายก้านขดพร้อมทั้งประดับสอดแทรกด้วยกระจกอย่างลงตัว บริเวณประตูทางเข้าห้องเก็บคัมภีร์ใบลานก็มีไม้แกะสลักเป็นรูปลายประดิษฐ์คล้ายยอดอ่อนของพรรณไม้ที่กำลังผลิใบประดับอยู่เหนือประตู หรือแม้แต่ภายในห้องเก็บคัมภีร์ใบลาน บนเพดานยังปรากฏลายฟอกคำ ที่ประดับอยู่ทั่วทั้งเพดานแต่ปัจจุบันได้เลือนหายไปมากกว่าครึ่งแล้ว

       

        การเสื่อมสภาพของหอไตรวัดมหาชัยตามสังขารและกาลเวลายังไม่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายและเสียใจเท่ากับการที่ลวดลายไม้แกะสลักอันล้ำค่าของหอไตรอันได้แก่รูปหน้ากาลที่ประดับอยู่บริเวณมุมของหอไตรทั้งสี่ด้านและคันทวยที่ช่างได้แกะเป็นรูปนาค รองรับชายคาด้านบนเอาไว้ทุกเสาจำนวน 21 ตัวจากทั้งหมด 22 ตัว ได้ถูกโจรกรรมหายไปอย่างไร้ร่องรอยในห้วงเวลาไม่ถึงสิบปีที่ผ่านมา

        ปัจจุบัน (พ.ศ.2560) หอไตรวัดมหาชัยที่แทบจะไร้การเหลียวแลและเกือบจะเลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คนได้ถูกนำมาพูดถึงอีกครั้งในแวดวงวิชาการท้องถิ่น รวมถึงหน่วยงานราชการในท้องถิ่นได้เริ่มตื่นตัวและตระในคุณค่าและความสำคัญของหอไตรวัดมหาชัยหลังนี้ และได้อนุมัติโครงการบูรณะหอไตรวัดมหาชัย เพื่อที่จะให้มั่นคง แข็งแรง เป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้คนที่สนใจ และให้ผู้คนที่มา “เยี่ยมยาม” เมืองหนองบัวลำภูในภายภาคหน้า ได้ “งึด” และ “ออนซอน” ในความงดงามของสถาปัตยกรรมชิ้นเอกแห่งเมืองหนองบัวลำภูหลังนี้ ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับคนรุ่นปู่ย่าตายายในอดีตที่ผ่านมา

3,796 views

7

แบ่งปัน