คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

สลากย้อม

งานบุญเดือนสิบ

     เป็นพิธีทานสลากพิเศษของชาวไทยอง จะประดิษฐ์จากต้นไม้หรือ กิ่งไม้สูงประมาณ 4-5 วา มีร่มกางที่ปลายยอด แขวนเครื่องปัจจัยไทยทาน ซึ่งเครื่องไทยทานนั้นจะเป็นเครื่องประดับ ของมีค่า เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน การทานสลากจะเริ่มต้นตั่งแต่วันเพ็ญเดือนสิบ (เดือน 12 เหนือขึ้น 15 ค่ำ)

     ตามตำนานเล่าว่า ครอบครัวที่จะทานสลากย้อมได้จึงเป็นครอบครัวที่ พอจะมีฐานะและมีลูกสาวอายุ 20 ปีขึ้นไป มีความพร้อมที่จะแต่งงานมีครอบครัว

     ต้นสลากย้อม แต่ละต้นที่นำมาร่วมประเพณีทานสลากภัตประจำปีของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จึงถูกทำขึ้นในนามของวัดและศรัทธาวัด มีกระบวนการในการจัดทำต้นสลากย้อมโดยวัดและคณะศรัทธา ไม่มีหญิงสาวที่อายุ 20 ปี เป็นเจ้าของสลากย้อมเหมือนในอดีต หรือแม้กระทั่งกำฮ่ำ หรือค่าวฮ่ำ (คำพูดที่กล่าว หรือพรรณนาถึงเรื่องราวที่จะสื่อความหมาย) ซึ่งพรรณนาถึงความตั้งใจและปรารถนาของเจ้าของต้นสลากย้อมให้ผู้คนได้รับรู้และชื่นชม

     ปัจจุบันจะมีก็แต่การนำค่าวฮ่ำที่มีแต่ในอดีตมาอ่านประกวดกัน เพื่ออนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการทานสลากย้อมเพียงส่วนหนึ่ง ดังนั้นประเพณีการทานสลากย้อมตามแบบอย่างโบราณกาลคงจะเป็นเพียงตำนานเล่าขานกันสืบไป

ขอขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพถ่ายจาก

เทศบาลเมืองลำพูน

7,550 views

0

share

Museum in Lamphun