คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

ประตูเมืองโบราณ

เมืองหริภุญชัย

ประตูเมืองโดยรอบนั้นเดิมมีทั้งหมด 6 แห่ง คือ

ประตูท่าขาม ซึ่งเป็นประตู ใหญ่ด้านหน้าเมือง หันออกสู่แม่นํ้ากวงซึ่งเป็นแม่นํ้าสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชาวลำพูนมาแต่โบราณ ถัดขึ้นไปทางทิศเหนือของประตูท่าขาม เป็นประตูเล็กๆ อยู่ด้านวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร คือ ประตูท่าสิงห์ ถัดจากประตูท่าสิงห์ ขึ้นไปทางทิศเหนือ คือ ประตูท่านาง แต่เดิมตรงประตูนี้มีสะพานไม้ขนาดเล็ก ทอดไปยังฝั่งตรงกันข้าม

ด้านทิศเหนือของตัวเมืองมี ประตูช้างสี ความเป็นมาของชื่อ ประตูเมืองคือเมื่อครั้งที่พระเจ้ามหันตยศและ พระเจ้าอนันตยศพระราชโอรสของพระนางเจ้าจามเทวีได้ช้างสำคัญคู่พระบารมีชื่อ “ผู้กํ่างาเขียว” เข้าเมืองทางประตูด้านทิศเหนือของพระนคร ขณะที่ช้างเดินผ่านประตูเข้าไป ช้างได้เอาสีข้างสีกับประตูเมืองจึงเป็นเหตุให้ประตูนี้ได้ชื่อว่า ประตูช้างสี มาตราบเท่าทุกวันนี้

ส่วนทางด้านตะวันตกคือ ประตูมหาวัน หมายถึงการผ่านเข้าออกเมืองโดยไม่ต้องหาวันดี เป็นประตูมหาฤกษ์ มหาชัย ส่วนฐานที่ก่อด้วยศิลาแลง

ทางด้านทิศใต้ของตัวเมืองคือ ประตูลี้ หมายถึงประตูทางหลบลี้ภัย ปัจจุบันไม่หลงเหลือสภาพของประตูเมืองให้เห็นแล้ว

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนกำแพงเมือง ลำพูนเป็นโบราณสถาน เมื่อวันที่  7  มีนาคม  พ.ศ.2478

 

ขอขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพถ่าย

เทศบาลเมืองลำพูน

 

5,723 views

0

share

Museum in Lamphun