สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน
การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%
จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น
ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน
เมืองลองมีชื่อเสียงด้านความสุดยอดของผ้าซิ่นตีนจก ที่มีความงดงามมายาวนานกว่า 200 ปี ซึ่งในอดีตเมืองลองเป็นเมืองของชาวไทยวนหรือชาวไทยโยนก ชาวไทยวนมีศิลปะการทอผ้าในแบบของตนเอง ผ้าตีนจกเมืองลอง เป็นงานฝีมือที่มีความประณีตสวยงามและมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ผู้หญิงไทยวนนิยมแต่งกายด้วยผ้าซิ่นทอชนิดต่างๆ โดยผ้าที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นก็คือ ผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งในอดีตนั้นจะทอขึ้นเพื่อใช้ในโอกาสพิเศษเท่านั้น
ผ้าจกเมืองลอง เป็นผ้าทอที่มีลวดลายและสีที่งดงาม ซึ่งในอดีตนั้นส่วนใหญ่เป็นการทอเพื่อนำมาต่อกับผ้าถุงหรือที่ชาวบ้านภาคเหนือ เรียกว่า “ซิ่น” ทำเป็นเชิงผ้าถุงหรือตีนซิ่น ผ้าซิ่นที่ต่อเชิงด้วยผ้าทอตีนจก มีชื่อเรียกว่า “ซิ่นตีนจก” ทำให้ผ้าซิ่น มีความสวยงามแสดงถึงฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สวมใส่
“ตีนจก” เป็นผ้าทอมือของชาวบ้านที่ทอขึ้น เพื่อนำไปต่อเชิงผ้าถุง ทำให้ผ้าถุงหรือที่ชาวภาคเหนือเรียกว่า “ซิ่น” สวยงามมีเอกลักษณ์ขึ้น
คำว่า "ตีนจก" เป็นการรวมสองคำเข้าด้วยกัน คือคำว่า "ตีน" และคำว่า “จก”
คำว่า “ตีน” มาจาก ตีนซิ่น หมายถึง เชิงของผ้าถุง
คำว่า “จก” เป็นคำพื้นเมืองภาคเหนือ หมายถึง การล้วง เพราะในการทอผ้าชนิดนี้จะมีลักษณะการทอลวดลายบนผืนผ้าโดยใช้ขนเม่น หรือไม้แหลมจกหรือล้วงเส้นด้ายสีต่างๆ ขึ้นบนและลงล่าง ให้เป็นลวดลายตามต้องการ ผ้าที่ทอจึงมีชื่อว่า “ผ้าจก” เมื่อนำไปต่อเป็นเชิงผ้าถุงจะเรียกว่า “ซิ่นตีนจก”
ผ้าซิ่นตีนจกเมืองลอง เป็นงานฝีมือที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ส่วนใหญ่ออกแบบจัดวางลวดลายอย่างอิสระ เช่น ลายหลักที่อาจเป็นได้ทั้งลายหลักและลายประกอบ ส่วนลายประกอบก็อาจเป็นลายหลักได้ ลวดลายผ้าซิ่นตีนจกเมืองลอง มีการกำหนดลวดลายไว้คือ มีลายหลักและลายประกอบ
1) ลายหลัก
ลักษณะลายดอก
ลายดอกของผ้าจกเมืองลองนั้นจะมีลายที่เป็นลวดลายโบราณอยู่ 12 ลาย คือ ลายนกคู่กินน้ำ ร่วมต้น ลายสำเภาลอยน้ำ ลายนกแยงเงา (นกส่องกระจก) ลายขามดแดง ลายขากำปุ้งลายขอไล่ ลายหม่าขนัด (สับปะรด) ลายจันแปดกลีบ ลายดอกจัน ลายขอดาว ลายขอผักกูด และลายดอกขอ
ลักษณะลวดลายหลักที่เป็นลายต่อเนื่อง
ลายต่อเนื่องของผ้าจกเมืองลองนั้น มีลายที่เป็นลายโบราณอยู่ 7 ลาย คือ ลายใบผักแว่น ลายแมงโป้งเล็น ลายโคมและช่อน้อยตุงชัย ลายขอน้ำคุ จันแปดกลีบ ลายเครือกาบหมวก ลายโก้งเก้งซ้อนนก และลายพุ่มดอกนกกินน้ำร่วมต้น
2) ลายประกอบ
ลวดลายประกอบเป็นลายขนาดเล็ก ๆ หรือลายย่อยอื่น ๆ ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ผ้าตีนจกมีความสมบูรณ์ มีอยู่หลายลาย ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะของลวดลาย ได้ 6 ประเภท คือ
- ลักษณะลวดลายประกอบที่ได้รับแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบจากพืช
- ลักษณะลวดลายประกอบที่ได้รับแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบจากสัตว์
- ลักษณะลวดลายประกอบที่ได้รับแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบจากรูปทรงเรขาคณิต
- ลักษณะลวดลายประกอบที่ได้รับแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบจากการประยุกต์
- ลักษณะลวดลายประกอบที่ได้รับแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบจากสัตว์ผสมรูปแบบจากรูปทรงเรขาคณิต
- ลักษณะลวดลายประกอบที่ได้รับแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบจากสัตว์ผสมรูปแบบจากการประยุกต์
โดยลายประกอบทั้ง 6 ประเภทนี้ มีอยู่มากมาย เพราะได้ถูกดัดแปลงและประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่อยู่เรื่อย ๆ เช่น ลายกาบหมาก ลายหางสะเปาต้นสน ลายสร้อยพร้าว ลายเม็ดแมงลัก ลายบัวคว่ำ บัวหงาย ลายดอกพิกุลจัน ลายหางสะเปานก ลายนกคุ้ม ลายขามด ลายต่อมเครือลายหางสะเปาดอกต่อม ลายฟันปลา ลายขอไล่ ลายเครือขอ ลายมะลิเลื้อย ลายเถาไม้เลื้อย ลายผีเสื้อ เป็นต้น