คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

รถเดี่ยว

รถเดี่ยว เมืองแพร่

               รถเดี่ยว เป็นภาษาคำเมืองยุคแรกๆ(ปัจจุบันได้ยินคนพูดน้อยมาก)ใช้เรียก รถถีบหรือจักรยาน พาหนะที่สองล้อขับเคลื่อนด้วยแรงปั่นของมนุษย์โดยคำว่า  “รถเดี่ยว” นั้นน่าจะมีที่มาจากจักรยานยุคแรกที่ไม่มีตระแกรงท้ายที่ถูกสร้างขึ้นมาทีหลัง รถเดี่ยวคาดว่าเข้ามาแพร่หลายในสมัยต้นรัชกาลที่ 6 ถูกนำเข้ามาพร้อมๆกับทางรถไฟในช่วงปีที่แล้วเสร็จในช่วงปีพุธศักราช2450เป็นต้นมา สันนิษฐานว่าพวกมิชชันนารี กับ หมอฝรั่ง ที่มาเผยแพร่คริสต์ศาสนาละในเวลานั้นนำเข้ามา ด้วยรูปร่างที่แปลกตาของผู้คนในเมืองแพร่ ในสมัยนั้นก็เกิดความนิยมชมชอบยานพาหนะชนิดนี้ขึ้นมาส่วนใหญ่ก็จะเป็น พวกพ่อค้าคนมีอันจะกินที่วิ่งเต้นติดต่อค้าขายในชนบท ก็ต่างซื้อหาจับจองเป็นเจ้าของจักรยานกันเป็นส่วนใหญ่ นิยมรถนำเข้ามาจากประเทศอังกฤษ ยี่ห้อ “HUMBER”  มีเส้นผ่านศูนย์กลางวงล้อถึง28นิ้วทำจากเหล็กกล้าชั้นดีสามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากกว่า 250 กิโลกรัม ส่วนคหบดีในที่อยู่ในเวียงต่างก็นิยมใช้รถจักรยาน ยี่ห้อ “RALIGH ”รุ่น SPORT ติดเกียร์ ลมีเส้นผ่านศูนย์กลางวงล้อแค่ 26 นิ้ว โดยรถรุ่นนี้จะมีขนาดเล็กกว่า รถฮัมเบอร์ พ่อค้า เวลาวิ่งบนถนนก็จะมีเสียงดัง ติ๊กๆติ๊กๆ ส่วนราคาจักรยานหรือรถเดี่ยวในสมัยนั้นก็ตกอยู่คันละประมาณ 1,400-1,800 บาท เลยทีเดียว ต่อมาในช่วงปีพุธศักราช 2510 ในสมัยรัฐบาลของท่านจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีนโยบายไม่ให้นำล้อเกวียน (ล้องัว ล้อควาย) เข้ามาในตัวเมืองเป็นอันขาดทำให้การเดินทางเข้าในเวียงสมัยนั้นก็คงหนีไม่พ้นรถเดี่ยวหรือจักรยานเป็นแน่แท้ นอกจากนี้คนเมืองแพร่ก็ยังได้ประดิษฐ์คิดค้นรถสามล้อที่หน้าตาแตกต่างกับสามล้อในปัจจุบันมากเรียกว่า “สามล้ออ้อง”ซึ่งปัจจุบันไม่มีให้เห็นแล้วคงเหลือแค่รถสามล้อแบบภาคกลางให้เห็นอยู่บ้าง และในยุคที่ยังไม่ปิดป่า ยกเลิกสัมปทานป่าไม้หลังฤดูการทำนาชาวบ้านก็ได้นำจักรยานมาดัดแปลงมาบบรรทุกชาวบ้านเรียก “สิงห์ลากซุง”ไม้สักที่แปรรูปง่ายๆด้วยการใช้พร้าถากเป็นเสาสี่เหลี่ยมยาวประมาณ4-6ศอกโดยประมาณ มาแปรรูปเจาะคว้านเป็นรูป ถ้วยชาม เรียก “ไม้อ้องไม้อ่าง” ขายกันเป็นล่ำเป็นสันก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม้สักในจังหวัดแพร่มีส่วนลดจำนวนลงเป็นจำนวนมากในช่วงสัมปทานป่าไม้ ต่อมาในช่วงปีพุทธศักราช 2520 รถมอเตอร์ไซค์จากญี่ปุ่นก็เข้ามาดีตลาดรถเดี่ยวหรือจักรยานลงเป็นอันมากผู้คนในสมัยก็นิยมหันมาขี่มอเตอร์ไซค์กันมากขึ้น ทำให้รถจักรยานเหล่านี้ก็พลอยถูกมมองว่าเป็นรถคนจนทั้งๆที่ไม่กี่สิบปีก่อนหน้านั้นจักรยานก็กลับเป็นที่เชิดหน้าชูตาบ่างบอกสถานะทางครอบครัวผู้มีอันจะกินเท่านั้นที่มีสิทธิ์ได้เป็นเจ้าของ เป็นที่หน้าเสียดายมากจักรยานบางคันก็ถูกปล่อยทิ้งอยู่ตามยุ้งข้าว เล้าไก่บ้าก็ถูกขายเป็นเศษเหล็กในราคาไม่กี่ร้อย  แต่กลับกันในปัจจุบันก็หาดูรถจักรยานเหล่านี้ได้น้อยมากๆแต่ถ้าหากท่านใดเก็บรักษารถจักรยานเหล่านี้ก็ถือว่าเป็นผู้มีฐานะเลยที่เดียวเพราะจักรยานที่ท่านมีไว้ครอบครองอยู่นั้นราคาอาจที่จะอยู่ในหลักหมื่นเลยทีเดียว ดังนั้นเราก็ควรจะรักษารถจักรยานโบราณเหล่าให้นี้ใช้งานเพื่อลดภาวะโลกร้อนการจราจรติดขัดและยังเป็นการอนุรักษ์สิ่งที่มีค่าทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ให้คงอยู่กับคนเมืองแพร่สืบต่อไป

 

จากรูป เป็นรูปรถสามล้อเมืองแพร่แบบดั้งเดิมที่มีที่นั่งผู้โดยสารอยู่ด้านข้างเรียกสามล้ออ้องปัจจุบันนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว

รูปนี้คาดว่าถ่ายก่อนปีพ.ศ.2500

จากรูปเป็นรูปถ่ายในปีพ.ศ.2501พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9เสด็จพระราชดำเนินมาจังหวัดแพร่ในถนนเจริญเมืองซึ่งถือว่าเป็นย่านการค้าที่คึกคักในอดีตจะสังเกตุเห็นว่ารถสามล้อแบภาคกลางเริ่มเข้ามาแล้ว

ปัจจุบันก็ยังมีผู้คนที่อนุรักษ์รถจักรยานโบราณไว้อยู่ปแต่พบเห็นน้อยมาก

รูปจากงานสงกรานเมืองแพร่2560

4,717 views

16

share

Museum in Phrae

30 April 2019
6,272
591
02 July 2019
6,489
605
23 September 2019
10,986
656
08 February 2023
5,549
554
02 July 2019
4,887
603