คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

หมู่บ้านตำนานหงส์

หมู่บ้านวังหงส์ จังหวัดแพร่

 

            “ ตระกูลหงส์เป็นตำนาน สองวิหารงามสง่า  พระธาตุดอยโดนคนศรัทธา  ชาวประชาสามัคคี ”เป็นคำขวัญของหมู่บ้านของฉันเอง วังหงส์เป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีประชากรประมาณ 3,000  กว่าคน ซึ่งมีทั้งหมด  7  อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ 17  กิโลเมตร หมู่บ้าน บ้านวังหงส์ตั้งขึ้นมาก่อนปี 2440 มีอายุกว่า 200  ปี บรรพบุรุษของชาววังหงส์ตามประวัติการเล่าขาน อพยพมาจากตำบลในเวียง อำเภอเมือง  คือบ้านน้ำคือ บ้านเชตวัน บ้านประตูมาร   หมู่บ้านของฉันมีโรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนเล็กๆ มีนักเรียนไม่มากมายนักเนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่เดินทางเข้าไปเรียนหนังสือในตัวจังหวัดกัน ดังนั้นจึงมีนักเรียนจากหมู่บ้านใกล้เคียงมาร่วมเรียนด้วยกัน ซึ่งนับว่าเป็นผลดีเลยทีเดียว เนื่องจากทำให้มีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น   การเรียนการสอนก็คล่องขึ้น ตำบลวังหงส์มีวัดอยู่  2  วัด ซึ่งเรียกกันว่า วัดวังหงส์ใต้ และวัดวังหงส์เหนือ ซึ่งจะแบ่งกันตามศรัทธาของประชาการในหมู่บ้าน แต่ตามหลักความจริงแล้วนั้น ทั้งวัดวังหงส์เหนือ และ วัดวังหงส์ใต้  เวลามีงานต่างๆ ทุกคนในตำบลวังหงส์ก็ช่วยงานกันได้ทั้ง 2 วัด  ตำบลวังหงส์ยังมีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ หรือเรียกง่ายๆติดปากว่า  พืชสวนแพร่ อยู่ห่างจากหมู่บ้านเพียง  5  กิโลเมตร บริเวณป่าสงวนแห่งชาติห้วยขี้เบี้ย ซึ่งเป็นศูนย์แปลงทดลองและผลิตพันธ์ไม้ผล  และเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำสวนผลไม้ ไม้ยืนต้น พันธ์ไม้ดอกไม้ประดับ ให้กับประชาชนทั่วไป และจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวที่พืชสวนของเราจะมีดอกไม้บานสะพรั่ง พร้อมต้อนรับผู้คนที่เข้าไปเยี่ยมชมพืชสวนอีกด้วย  และยังมีพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คือ พระธาตุดอยโตน ซึ่งอู่ในเขตของหมู่ที่  5  ตำบล   วังหงส์ พระธาตุดอยโตนนี้ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2522  เป็นการสร้างขึ้นมาด้วยแรงศรัทธาและแรงสามัคคีของชาวบ้านในตำบลวังหงส์อย่างแท้จริง พระธาตุดอยโตนล้อมรอบไปด้วยป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีอากาศที่ดี เย็นสบาย และยังมีพระเจ้าทันใจซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อ ถ้ามาตั้งจิตอธิฐานขอพรก็จะสมปรารถนา ทุกๆปีจะมีประเพณีขึ้นธาตุ สืบชะตา กินสลากภัตต์  ทำบุญให้ผู้ล่วงลับไปแล้วและงานที่จัดนั้น  ก็   แสดงถึงความสามัคคีของคนในหมู่บ้านที่ร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานขึ้น

และที่สำคัญที่สุดที่ฉันอยากจะเล่าถึงคือ   “ อนุสรณ์สถานตำนานหงส์ ” ซึ่งจะเป็นการเกี่ยวพันถึงชื่อหมู่บ้านของฉัน  บ้านวังหงส์ดั้งเดิมมีพื้นที่ใกล้หนองน้ำขนาดใหญ่ใสสะอาดและลึกมาก มีป่าไม้ล้อมรอบเขียวชอุ่มตลอดปี ทำให้มีสัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่ ตามตำนานเล่าว่า มีหงส์สีขาวบริสุทธิ์ รูปร่างสวย สง่างาม อยู่  2  ตัว เป็นหงส์ตัวผู้และหงส์ตัวเมีย มาเล่นน้ำในหนองน้ำแห่งนี้และมียายแก่มาเก็บผักใกล้หนองน้ำได้เห็นหงส์คู่นี้ ลอยเคียงคู่เล่นน้ำอย่างมีความสุข เหมือนเป็นคู่รักที่ไม่มีวันพรากจากกัน เป็นภาพที่ประทับใจมาก ยายจึงรีบกลับบ้านและเล่าให้ชาวบ้านฟัง เมื่อชาวบ้านได้ยินก็อยากเห็นหงส์คู่นั้นมาก รุ่งขึ้นจึงพากันออกไปแอบดูหงส์คู่นั้น ทุกคนต่างก็ได้ชื่นชมกับหงส์ขาวคู่นั้น เมื่อชาวบ้านพากันมองดูหงส์ด้วยความชื่นชม หงส์ขาวคู่นั้นกลับตกใจกลัว จึงพากันบินออกไปจากหนองน้ำแห่งนั้นไปทันที  ภาพของหงส์ขาวคู่นั้นยังติดตา ติดใจชาวบ้านที่ได้พบเห็น จึงชวนกันตั้งชื่อหนองน้ำแห่งนั้นว่า  หนองหงส์

และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านหนองหงส์   ต่อมาในปี พ.ศ.2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  5  ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองท้องถิ่นที่ออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น บ้านวังหงส์ จึงเรียกมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อตั้งชื่อว่าบ้านวังหงส์แล้ว ชาวบ้านก็ร่วมใจกันปั้นรูปหงส์  2  ตัว ให้อยู่คู่กันไว้  บนฝั่งใกล้ๆ กับหนองหงส์เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นที่สักการบูชาของชาวตำบลวังหงส์ เมื่อถึงวัน พญาวัน ในเทศกาลปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์ ของทุกๆ ปี ชาวบ้านต่างก็พากันไปดำหัวหงส์  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2525  ชาวบ้านต่างร่วมแรงร่วมใจสร้างศาลาเพื่อเป็นที่ตั้งของหงส์ขาวคู่ โดยฝีมือการปั้นของพ่อสล่านนท์ และพ่อสล่ากี เพื่อทดแทนรูปปั้นหงส์เดิมที่ชำรุด มีการเล่าสืบต่อกันมาว่าก่อนที่จะมีการปั้นรูปหงส์คู่นั้น มักจะมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในหมู่บ้าน เมื่อสร้างหงส์คู่ขึ้นมาใหม่และได้จัดพิธีบวงสรวงชาวบ้านก็อยู่ด้วยความสงบสุขตลอดมา ซึ่งจะมีการจัดงานขึ้นทุกวันที่  16  เมษายน ของทุกๆปี  ชาวตำบลวังหงส์ได้จัดให้มีพิธีกรรม ป๋าเวณีดำหัวหงส์ ซึ่งเป็นประเพณีที่งดงามและทรงคุณค่าต่อจิตใจของพวกเราชาววังหงส์ จะมีขบวนแห่ของแต่ละหมู่บ้าน มีการประกวดธิดาหงส์  การละเล่นของแต่ละหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านมีความสุข และภูมิใจในนประเพณีอันมีคุณค่าทางจิตใจของพวกเรา

            และมีอีกอย่างคือที่หมู่บ้านของฉันล้วนแต่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยหงส์กันทั้งนั้น อาจไม่ใช่เรื่องแปลกของคนในพื้นที่ แต่ถ้าคนจากที่อื่นได้มาฟังนามสกุลของพวกเราอาจคิดว่า แปลกจริงหนอ  ฉันจึงอยากตัวอย่างนามสกุลของคนในหมู่บ้านฉันให้ฟัง เริ่มจาก  หงส์หนึ่ง , หงส์สอง, หงส์สาม,หงษ์สี่, หงส์ห้า หงส์เจ็ด , หงส์แปด ,หงส์สิบเอ็ด, หงส์สิบสอง ,หงษ์สิบสาม, หงส์สิบสี่ , หงส์สิบเจ็ด, หงส์สิบแปด,           หงส์ยี่สิบเอ็ด ….จนถึง หงส์สามสิบเก้า และสิ้นสุดที่ ปราบหงส์  บางคนเคยบอกว่า ถ้าไม่มี  ปราบหงส์ ก็คงจะต่อไปอีกเรื่อยๆ นอกจากขึ้นต้นด้วยหงส์แล้ว ยังมี หงส์ทอง หงส์บินโบก หงส์สินสี    หงส์แก้ว หงษ์แสง   หงส์ร่อน หงส์เหิน และยังมีอีกมากมายหลายหงส์กันเลยทีเดียว  ดั่งเพลงวังหงส์ที่คุณถนอมวงสามโทนได้แต่งไว้ ( คุณวิทยา  เจตะภัย หรือ คุณถนอม สามโทน เป็นคนตำบลวังหงส์  )  ซึ่งทางหมู่บ้านของฉันจะเปิดก่อนประกาศเสียงตามสายทุกวันเช้า และเย็น จนทุกคนร้องได้กัน ซึ่งได้กลายเป็นบทเพลงประจำหมู่บ้านของพวกเราไปแล้วและเป็นบทเพลงที่ไพเราะมาก

“  วังหงส์แผ่นดินนี้ช่างสุขสม มีสายน้ำยมข้าลงเล่นมาแต่น้อย ขอบฟ้าโอบชิดจุมพิตยอดยอด

พระธาตุองค์น้อย ดอยโตนผู้คนศรัทธา วังหงส์ ค่ำลงเหมือนดั่งสวรรค์ ใต้ฟ้าแสงจันทร์ผูกพัน

รักกันนานมา พ่อเอย แม่เอยให้ลูกเกิดมา เป็นวาสนาเกิดมาในบ้านวังหงส์  วังหงส์คือตำนาน

เรื่องราวกล่าวขานโบราณว่าไว้ ว่ามีหงส์คู่ อยู่ร่วมรักจนตาย สร้างรักสร้างรักเอาไว้ สอนใจ

ให้ลูกวังหงส์  วังหงส์แผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอน แม้จำจากจร อาวรณ์เหลือเกินวังหงส์

ชาตินี้หากชีวิตข้าสิ้นลง ชาติหน้าขอเกิดวังหงส์ ตราบจนฟ้าดินมลาย....

36,837 views

16

share

Museum in Phrae

30 April 2019
6,252
591
02 July 2019
6,442
605
23 September 2019
10,951
656
08 February 2023
5,530
554
02 July 2019
4,876
603