คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

สะพานดำเมืองลำปาง

          สะพานดำหรือสะพานรถไฟจังหวัดลำปางที่พาดผ่านระหว่างสถานีรถไฟนครลำปาง มุ่งสู่สถานีรถไฟบ่อแฮ้ว ลักษณะของสะพานดำนั้นเป็นสะพานเหล็ก บริเวณด้านข้างนั้นเป็นทางเดินที่ทำด้วยไม้ สะพานดำสร้างขึ้นในช่วงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเข้ามาเพื่อเคลื่อนพลผ่านประเทศไทย และได้ตั้งกองบัญชาการที่ลำปาง เข้าทำการยึดอาคารสถานที่ในกิจการของ ทั้งชาวอังกฤษ อเมริกัน และชนชาติอื่น ๆ ทำให้คนเหล่านั้นได้ทำการลี้ภัยออกไป ขณะที่ประเทศไทยสมัยนั้น เป็นคู่สงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร จึงถูกฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีเมือง ด้วยการทิ้งระเบิดในพื้นที่ต่าง ๆ หลายๆครอบครัวที่อาศัยอยู่ในเมือง ได้ทำการย้ายไปอยู่นอกเมืองชั่วคราวเพื่อหลบภัยสงคราม บางร้านที่อยู่ในเมืองก็ต้องพรางอาคารด้วยยอดมะพร้าว หรือเอาสีดำมาทาตัวตึก สะพานก็เหมือนกันอาจจะทาสีดำเพื่ออำพรางไม่ให้โดนระเบิดก็ได้ ดังนั้นการทาสีดำของสะพานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเป็นที่มาของ สะพานดำหรือสะพานรถไฟในปัจจุบัน

          ในอดีตนั้นสะพานดำแห่งนี้มีความสำคัญในด้านการคมนาคม ใช้เดินทางระหว่างผู้คน การค้าขายโดยเส้นทางรถไฟ  ในปัจจุบันนี้สะพานดำได้มีความทรุดโทรม โดยเฉพาะบริเวณทางเดินไม้ได้ผุพังตามกาลเวลา ทางสถานีรถไฟจึงมีการติดป้ายไว้ว่าสะพานชำรุด

          จากการพูดคุยกับชาวบ้านที่อาศัยในบริเวณนั้นในอดีตสะพานดำนอกจากจะเป็นสะพานสำหรับการเดินทางโดยรถไฟแล้วยังเป็นที่สัญจรทางเท้าของชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยฝั่งทางนาก่วมเหนือ(ทางฝั่งสถานีรถไฟนครลำปาง) มักจะเดินทางข้ามไปยังบ้านบ่อแฮ้ว บ้านทับหมาก บ้านดง และจะมีชาวบ้านที่อยู่บริเวณฝั่งบ่อแฮ้ว นำพืชผักสวนครัว หรือข้าวของต่างๆมาวางขายที่ตลาดเก๊าจาว (ตลาดรัตน์) ซึ่งเป็นตลาดตอนเช้า อยู่ติดกับทางรถไฟและสะพานดำ โดยชาวบ้านจะเดินเลาะด้านข้างของสะพานดำ สัญจรกันไปมา แต่ในเวลาที่รถไฟผ่านมา ในขณะที่ชาวบ้านข้ามสะพานก็จะมีความน่าวิตกเป็นอย่างมาก เนื่องจากชาวบ้านต้องพยายามเกาะเกาะราวเหล็กด้านข้างให้แน่นที่สุด ทำให้การสัญจรนั้นอันตรายและลำบากต่อชาวบ้าน แต่ในปัจจุบันมีการสร้างสะพานปูนข้ามแม่น้ำใกล้ๆกับสะพานดำ ชื่อว่าสะพานสบตุย จึงทำให้สะพานดำไม่ค่อยได้ถูกใช้สัญจรโดยชาวบ้าน เนื่องจากมีเส้นทางสะพานสัญจรแห่งใหม่ที่สะดวก ไม่อันตราย และสามารถนำยานพาหนะข้ามไปมาได้อีกด้วย ประโยชน์ของสะพานดำของชาวบ้านในบริเวณนั้นจึงหมดคุณค่าไป แต่ก็ยังมีความสำคัญต่อการเดินทางโดยรถไฟ ซึ่งเป็นเส้นทางการติดต่อค้าขาย และการเดินทางไปมาระหว่างผู้คนที่ขึ้นรถไฟสถานีเชียงใหม่มุ่งสู่สถานีหัวลำโพง

          เนื่องจากสะพานดำไม่ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ก็ยังมีผู้ที่สนใจเห็นถึงความสวยงามของสะพานดำได้เดินทางเข้าไปถ่ายรูปกันเป็นจำนวนมากรวมถึงการถ่ายภาพพรีเว็ดดิ้ง ถึงแม้ว่าสะพานดำจะไม่ได้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ผู้คนให้ความสนใจ แต่สะพานดำยังมีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งหลังจากที่มีการสร้างทางรถไฟสายเหนือเสร็จ รวมถึงสะพานดำ ก็ส่งผลให้เศรษฐกิจของลำปางดำเนินไปในทางที่ดี ซึ่งในอดีตมีพ่อค้าชาวจีนได้อพยพเข้ามาอาศัยแล้วทำการค้าขายเป็นจำนวนมาก ซึ่งในอดีตนั้นลำปางไม่สามารถปลูกข้าวเพื่อเป็นสินค้าส่งออกไปยังกรุงเทพได้เนื่องจากขาดน้ำ แต่เป็นเส้นทางด้านคมนาคม ขนส่งโดยรถไฟ ทำให้พ่อค้าชาวจีนได้ทำการตั้งโรงสีและโรงเลื้อย เพื่อนำข้าวนั้นมาสี และส่งต่อไปยังกรุงเทพ จะสังเกตเห็นได้จากโรงสี และโรงงาน ที่ตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟสบตุ๋ย

17,442 views

2

share

Museum in Lampang

21 March 2019
9,928
655
13 February 2023
18,947
689
04 August 2019
4,840
613
04 August 2019
7,076
662
21 March 2019
15,758
615
04 December 2019
5,314
676
02 September 2021
30,552
654
21 March 2019
7,631
593