คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

กรณีศึกษา : วิหารโคม

กรณีศึกษา : วิหารโคมคำ และเจดีย์ ในวัดพระธาตุเสด็จ ที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร กับวัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง

กรณีศึกษา : วิหารโคมคำ และเจดีย์ ในวัดพระธาตุเสด็จ ที่มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

กับวัดพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง

               วัดพระธาตุเสด็จ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่าร้อยปี เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมหลายสมัย ทั้งศิลปะสมัยสุโขทัยและศิลปะสมัยเชียงแสน อีกทั้งยังเป็นวัดที่ได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากเจ้าเมืองที่ปกครองในสมัยอาณาจักรล้านนา จนถึงสมัยปัจจุบัน จึงทำให้โบราณสถานทุกชนิดยังคงความสวยงามและทรงคุณค่าไว้ให้ได้บูชากราบไหว้เป็นที่พึ่งทางจิตใจให้กับชาวบ้านบริเวณนั้น อีกทั้งยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

              วัดพระธาตุเสด็จ  เป็นที่ประดิษฐานเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า  ตามตำนานพระธาตุนครลำปางเล่าว่า   วัดในจังหวัดลำปางที่เชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอยู่  ๒ วัด คือ วัดพระธาตุลำปางหลวง และวัดพระธาตุเสด็จ  การบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ  สถานที่ทั้งสองแห่งนี้มีมาหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้  218 ปี

                       ต่อมา พ.ศ.1223 พระนางจามเทวีเสด็จมายังเขลางค์บรรพต เพื่อจะสร้างพระนครขึ้นใหม่ให้เจ้าอนันตยศพระโอรสพระองค์เล็กทรงปกครอง ตามคำแนะนำของมหาพรหมฤาษี และเมืองนี้ปรากฏชื่อว่า  ศรีนครชัย   ที่มหาพรหมฤาษี  ให้ชื่อเช่นนี้  ก็เพราะพระธาตุพระพุทธเจ้าได้ประดิษฐานอยู่ทั้ง 2  ข้างของตัวเมือง  คืออยู่ที่เมืองลัมภะกัปปะนครดวงหนึ่ง  อยู่ที่เหนือเมืองชื่อดอนโผยงหนึ่ง   พระนางจามเทวีได้เสด็จไปนมัสการพระธาตุลัมภกัปปะนคร (พระธาตุลําปางหลวง) แล้วมานมัสการพระธาตุดอนโพยง (พระธาตุเสด็จ) และได้ทอดพระเนตรพระธาตุแสดงปาฎิหาริย์ ทรงเกิดปี ติยินดี และทรงศรัธาเลื่อมใสยิ่งนัก

               พงศาวดารหอคำนครลำปาง  กล่าวถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองและเศรษฐกิจในยุคที่พระเจ้าหอคำดวงทิพย์บูรณะพระธาตุเสด็จ ใน พ.ศ. 2362

              ต่อมาใน พ.ศ. 2366 ได้ทรงสร้างวิหารสุวรรณโคมคำ  วัดพระธาตุเสด็จ พร้อมกับสร้างพระประธานในวิหาร และเขียนลวดลายประดับเสาวิหารด้วยการลงรักปิดทอง  วิหารนี้จึงเรียกชื่อตามสถาปัตยกรรมลานนาว่า  วิหารลายคำ  พงศาวดารเจ้าเจ็ดตนกับหอคำมงคลกล่าวถึงตอนที่พระเจ้าหอคำดวงทิพย์  สร้างวิหาร สุวรรณโคมคำวัดพระธาตุเสด็จว่า ตราบต่อเท้าอักขระป๋าเวณีเดือนห้าเป็งมารอดแล้ว เจ้าก็เอารี้พลโยธาอากะราชเทวีราชมนตรีภายใต้ทั้งภายนอกและภายในเสด็จแล้ว เจ้าก็แต่งห้างเครื่องครัวทาน มีมหาอัตถะบริขารตานตุงแป้นสองผืน ปูชายังภะคะวาต๋น สร้างใหม่ภายมหาวิหาร  เจ้าก็เปิกบาย  แลจำศีลกิ๋นตานโอกาสหยาดน้ำยังมหาวิหารอันต๋นได้สร้างใหม่จิ่งใส่จื่อว่า วิหารโคมคำ พระพุทธรูปเจ้าต๋นสร้างใหม่  ใส่ชื่อว่า พระพุทธรูปพระธาตุเสด็จ  ก็มีวันนั้นแล (คณะศิษยานุศิษย์, 2546, น. 10)

 

        จากข้อมูลที่กล่าวมาทำให้ทราบได้ว่าวัดพระธาตุเสด็จและวัดพระธาตุลำปางหลวงมีความเกี่ยวข้องกันเนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าตามตำนานพระธาตุนครลำปาง อีกทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับพระนางจามเทวี เนื่องจากพระนางจามเทวีได้ทรงสร้างเมืองนครลำปาง พระองค์ได้เสด็จไปนมัสการ พระธาตุลัมภกัปปะนคร แล้วมานมัสการพระธาตุดอนโพยงพระองค์ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในทั้ง 2 วัด เป็นอย่างยิ่ง ปรากฎหลักฐานในตำนานว่าพระนางจามเทวีทรงสร้างและบูรณะทั้ง 2 วัดนี้ อยู่เนื่องๆ

3,030 views

0

share

Museum in Lampang

21 March 2019
9,919
655
13 February 2023
18,922
689
04 August 2019
4,838
613
04 August 2019
7,060
662
21 March 2019
15,746
615
04 December 2019
5,305
676
02 September 2021
30,480
654
21 March 2019
7,622
593