คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

มาร์ดี..ผนังมีชีวิต

สัมผัสวิถีความผูกพันแห่งคนกับอาหาร ผ่านเรื่องเล่าบนกำแพง

          ศิลปะถูกสร้างมาเพื่อเป็นเครื่องจรรโลงใจให้ชีวิต แต่จะดีแค่ไหน หากศิลปะจะทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวแห่งชีวิตเพื่อนานาชีวิตได้ชื่นชม ฟังดูอาจเข้าใจยาก แต่ภาพ street art ขนาดใหญ่ ที่ประดับอยู่ตามผนังของสถานที่ต่างๆ ตามตัวเมืองภูเก็ต เป็นข้อยืนยันได้ดีเหลือเกินว่า ศิลปะก็สามารถเป็นนักเล่าเรื่องวัฒนธรรมได้อย่างสมบูรณ์

            เมื่อ 11 ธันวาคม 2558 องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้ภูเก็ตเป็นเมือง Gastronomy หรือ เมืองสร้างสรรค์ด้านวิทยาการอาหารของโลก เป็นหนึ่งใน 18 เมืองทั่วโลกที่ยูเนสโกเห็นถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมการทำอาหาร โดยเฉพาะจุดเด่นสำคัญที่ทำให้จังหวัดภูเก็ตได้รับรางวัลนี้ คือ ความเป็นอัตลักษณ์ของอาหารที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่น และความผูกพันของชาวภูเก็ตกับอาหารที่แน่นเฟ้นกลมเกลียวจนไม่สามารถแยกจากกันได้ ทุกช่วงชีวิตสำคัญตั้งแต่เกิดจนตายนั้นล้วนสัมพันธ์กับอาหารทั้งสิ้น  เพื่อเป็นการบอกเล่าความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตคนภูเก็ตกับอาหาร  เหล่าลูกหลานพญามังกรจึงรวมตัวกัน จัดทำโครงการ F.A.T Phuket หรือมาจาก Foot Art Old Town โดยเชิญศิลปินนักวาดภาพ ทั้งชาวไทยและต่างชาติร่วมกันรังสรรค์ภาพวาดบนผนังในเขตย่านเมืองเก่าจังหวัดภูเก็ต ทั้งหมดนี้จึงให้กำเนิด น้องมาร์ดี เด็กหญิงสามตา หูยาว หน้าบูดบึ้ง ที่ใครเห็นต้องอดยิ้มไม่ได้ ผลงานของ คุณ พัชรพล แตงรื่น หรือ Alex Face หนึ่งในศิลปินผู้ร่วมวาดนั่นเอง

น้องมาร์ดีน้อยกระจายตัวไปทั่วย่านเมืองเก่าภูเก็ต รับหน้าที่เป็นทูตทางวัฒนธรรมบนผนังได้อย่างงดงาม ภาพที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือภาพมาร์ดีในรูปร่างเต่าสีแดง ที่อยู่บริเวณปากซอยรมณีย์ ซอยเก่าแก่ในย่านตัวเมืองเก่าภูเก็ต โดยภาพนี้สื่อถึงประเพณีผ้อต่อภูเก็ต เป็นประเพณีที่ชาวภูเก็ตออกมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับ แน่นอนว่าขนมสำคัญในพิธี คือ ขนมเต่าแดงหรือ อังกู๊ ในภาษาภูเก็ต เป็นขนมทำด้วยแป้งข้างในมีไส้ถั่วเขียว ทาสีแดงตกแต่งเป็นรูปเต่า

หากมาร์ดี ในขนมเต่าแดงเป็นตัวแทนเล่าเรื่องชีวิตที่ล่วงลับ ภาพน้องมาร์ดี เข็นตะกร้า คงเป็นตัวแทนแห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ภาพนี้อยู่ที่ตลาดดาวน์ทาวน์ตลาดสดใจกลางเมือเก่า  ในภาพน้องมาร์ดีแต่งกายด้วยชุดย่าหยาสีชมพู วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวภูเก็ตในอดีต เข็นตะกร้าที่มักจะพบเห็นในตลาดยามเช้า สื่อถึงตลาดสดในยามเช้าของคนภูเก็ตซึ่งเป็นศูนย์รวมอาหารเช้าสไตล์พื้นเมืองภูเก็ต อย่าง เสี่ยวโบ๋ย (ขนมจีบ) ข้าวต้มฮกเกี้ยน โรตีน้ำแกง หรือ ขนมจีนน้ำยา      

นอกจากน้องมาร์ดี ยังมีภาพของศิลปินท่านอื่นที่น่าสนใจอย่าง ศิลปินที่ใช้ชื่อ มือบอนกับภาพนกน้อยตาโตที่กำลังจูงเต่าซึ่งสื่อถึงประเพณีเดินเต่าของคนภูเก็ตในอดีตที่มักจะไปปิกนิกริมหาดและเฝ้าดูเต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ แม้ปัจจุบันจะไม่มีแล้ว ด้วยข้อจำกัดทางการอนุรักษ์ธรรมชาติ แต่วัฒนธรรมการพกอาหารไปรับประทานริมทะเลนั้นยังคงมีอยู่ อย่างเช่น หมี่หุ้น ที่สามารถผัดห่อใบตองพกไปทานได้อย่างสบายๆ

ยังมีภาพอีกมากมายที่รอบอกเล่าเรื่องราวความรักความผูกพันของชาวภูเก็ตกับอาหาร ไม่ว่าจะเป็นภาพของคุณตาขายโอต้าว (อาหารภูเก็ตคล้ายหอยทอดแต่ใช้การผัด) คุณยายที่จัดสำรับรอไปทำบุญที่วัด ภาพหุ่นเชิดเทวดาที่จะบอกเรื่องราวตรุษจีนในภูเก็ต ภาพเสือดุแห่งโรงแรมสินทวีที่แฝงองค์ประกอบของสีสันขนมพื้นเมืองไว้ทั่วร่าง แต่การสัมผัสผ่านคำบอกเล่าที่เป็นตัวอักษรนั้น คงไม่วิจิตรเท่าได้สัมผัสด้วยสองตาของท่านเอง จึงใคร่เชิญชวนทุกท่านมาสัมผัสเรื่องราวดินแดนไข่มุกแห่งนี้ ผ่านเรื่องเล่าของหนูมาร์ดี..ผนังมีเรื่องเล่า

 

 

8,250 views

3

share

Museum in Phuket

01 September 2023
45,560
796
15 June 2023
13,842
656
02 August 2018
5,380
622
12 January 2024
66,906
667
05 July 2019
12,990
689
28 June 2019
7,792
646
17 May 2022
43,447
5,636
05 February 2019
7,271
647