คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

ตลาดริมน้ำคลองแดน

สามคลองสองเมือง Slow life in “ชุมชนวิถีพุทธ”

            มาทำความรู้จักประวัติความเป็นมาของ "ตลาดริมน้ำคลองแดน" กันก่อนค่ะ 

           "ตลาดริมน้ำคลองแดน"  เริ่มจากชาวบ้านที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานเพื่อใช้บริเวณคุ้งน้ำในการทำการค้าขาย แลกเปลี่ยนสินค้า ซึ่งที่นี่เป็นเส้นทางการคมนาคมทางน้ำที่สำคัญ เพราะตั้งอยู่ระหว่างพื้นที่ทะเลสาบกับอ่าวไทย โดยเมื่อพ.ศ. 2406 พบว่า บริเวณสามแยกแนวบรรจบของ คลองระโนด , คลองชะอวด และคลองปากพนังมีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอย่างหนาแน่น ซึ่งส่งผลให้ความเจริญรุ่งเรืองทางการค้ามีมากขึ้น จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2516 มีการสร้างทางหลวงสาย 408 และเริ่มใช้งานทำให้ความนิยมในการขนส่งทางน้ำลดน้อยลง

            ตลาดน้ำคลองแดน ได้ชื่อว่าเป็น “ชุมชนวิถีพุทธคลองแดน”  เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยมีคลองสามสายมาบรรจบกัน  คือ  คลองระโนด  คลองชะอวด  คลองปากพนัง  เป็นจุดแบ่งเขตแดนระหว่างจังหวัดสงขลากับจังหวัดนครศรีธรรมราช  ตลาดน้ำคลองแดนเลยมีสโลแกนที่ว่า  “สามคลอง สองเมือง”  สำหรับนักท่องเที่ยวหรือผู้ที่มาเยี่ยมชมตลาดน้ำคลองแดนก็จะได้สัมผัสกับการดำเนินชีวิตแบบวิถีพุทธ เยี่ยมชมศิลปวัฒนธรรมแบบชาวใต้ เยี่ยมชมการแสดงมโนราห์  หนังตะลุง  การร้องเพลงเล่นดนตรีสด นอกจากนี้ยังได้เลือกซื้อสินค้าอาหารพื้นบ้าน  ของที่ระลึกจากตลาดน้ำคลองแดนไปเป็นของฝากอีกด้วย

            ตลาดริมน้ำคลองแดนสนับสนุนให้คนในท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาชุมชนไปพร้อมกับการได้รับผลตอบแทนในเชิงเศรษฐกิจ โดยเปิดโอกาสให้คนในท้องถิ่นหรือชาวบ้านมาขายของ ขายอาหาร หรือเปิดเป็นโฮมสเตย์ไว้บริการให้นักท่องเที่ยวที่สนใจจะเข้ามาสัมผัสบรรยากาศวิถีชนบท  วิถีคลอง  ไม่ว่าจะเป็นโฮมสเตย์ในรูปแบบของบ้านริมน้ำ  เรือนไม้ไทย  หรือระเบียงไทย  ถือเป็นการอนุรักษ์  สืบสานวัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่ง  รวมถึงขายของที่ระลึกซึ่งเป็นฝีมือของคนในท้องถิ่น สร้างรายได้เข้าสู่ครัวเรือน  

ไปเที่ยวตลาดน้ำคลองแดน ถ้าไม่ได้ทำกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ถือว่า “มาไม่ถึงตลาดน้ำคลองแดน”  นะค่ะ              

  • เรือพาย  ตลาดน้ำคลองแดนมีเรือพายหลายลำ ให้นักท่องเที่ยวพายเล่นหรือหัดพายโดยไม่คิดค่าบริการ
  • เรือแจว  นัดท่องเที่ยวสามารถใช้บริการเรือแจว เพื่อรับบรรยากาศการนั่งเรือชมวิว ชมธรรมชาติสวยๆได้ 2 เส้นทาง

            -  เส้นทางที่ 1  ไปวัดสิกขารามชมทิวทัศน์ดงตาลโตนด  -  ทางคลองระโนด

            -  เส้นทางที่ 2  ไปวัดคลองแดน  ทางคลองชะอวด

  • เรือหางยาว  ล่องเรือหางยาวชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ริมฝั่งคลอง  แวะชมหมู่บ้านชาวเลท่าเข็น และสามารถลงเล่นน้ำได้ตามอัธยาศัย
  • ชมการแสดงท้องถิ่นของภาคใต้  เช่น  มโนราห์  หนังตะลุง  หรือการร้องเพลงเล่นดนตรีสด
  • นมัสการหลวงพ่อพร้อม   หลวงพ่อชุม และพระทองโบราณ

 

 

 

       ตลาดน้ำคลองแดน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เปิดบริการให้นักท่องเที่ยวได้มาสัมผัสกับวิถีชาวพุทธของชาวคลองแดน  และแวะมาเลือกซื้อสินค้าอาหารพื้นบ้าน  ของที่ระลึกได้         ทุกๆวันเสาร์เวลา  15:30 – 20:00  น.

 

                                         ***  อย่าลืม !! แวะมาเที่ยวตลาดริมน้ำคลองแดนกันเยอะๆนะค่ะ  รับรองไม่ผิดหวังแน่นอนค่ะ  ***

 

 

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย   :   นางสาวเจนจิรา  ชูทอง รหัสนิสิต 571071243    วิชาเอกการประกอบการและการจัดการ  ชั้นปีที่ 4  

มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

เบอร์โทร  :  0950277904

ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก   https://travel.kapook.com/view114823.html

19,058 views

2

share

Museum in Songkhla

25 December 2019
36,275
673
04 July 2019
11,284
683
15 September 2023
7,959
628
04 July 2019
12,239
632
04 July 2019
5,625
601
04 July 2019
11,949
613