คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

ผ้าทอไทลื้อ

เอกลักษณ์ผ้าทอชาวไทลื้อ

ผ้าทอไทลื้อ

เอกลักษณ์ผ้าทอชาวไทลื้อ

               ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ วัดหย่วน เริ่มก่อตั้งปี พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยพระครูสุภัทร พรหมคุณ เจ้าอาวาสวัดหย่วน  เป็นศูนย์แสดงผลงานทางศิลปวัฒนธรรม ของชาวไทลื้อ รวบรวมสิ่งของต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทลื้อ โดยเฉพาะผ้าทอของชาวไทลื้อ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้า เนื่องจากการทอผ้าได้เริ่มสูญหายไปจากหมู่บ้าน ชาวไทยลื้ออำเภอเชียงคำยังคงอนุรักษ์วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้อย่างดี เช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย รูปทรงบ้านเรือน อาหารการกิน เป็นต้น และภายในยังเป็นศูนย์ฝึกอาชีพของชาวไทลื้อ ในเรื่องของการทอผ้า โดยเฉพาะผ้าที่มีลวดลายและสีสันสดใสที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทลื้อ เช่น ลายดอกขอเครือ ลายดอกขอ ลายม้า และลายดอกตั้ง เป็นต้น

          ไทลื้อจะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในเรื่องการทอผ้า โดยเฉพาะชุดไทลื้อของอำเภอเชียงคำจะเป็นอัตลักษณ์ มีเสื้อปั๊ด ผ้าถุงลายผักแว่น น้ำไหลผักแว่นเป็นชุดที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยลื้อเชียงคำ ทอด้วยเทคนิคเกาะ มีลายประกอบทอด้วยเทคนิคขิด เสื้อผ้าของชาวไทลื้อจะมีการทอลวดลายที่บ่งบอกถึงฐานะทางสังคมของผู้ส่วมใส่ โดยผ้าของไทลื้อแยกออกเป็น ๒ ประเภทคือ ผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมและผ้าสำหรับใช้ในครัวเรือน ผ้าที่ใช้ในครัวเรือน เช่น“ผ้าห่มต่ำก้าว” ที่ปัจจุบันหาคนทำไม่ได้แล้ว ต่ำก้าวเป็นภาษาลื้อมี ๒ ความหมาย คือ ๑.เป็นชื่อลาย ๒.เป็นวิธีการทำ “ต่ำ” แปลว่า การทอ “ก้าว” แปลว่า การง้างไม้เพื่อที่จะใส่ลายขึ้นแล้วสอดให้เกิดลวดลาย ผ้าห่มลายตาราง เรียกกันว่า “ผ้าห่มตาแสง” หรือ “ผ้าห่มสี่แป” หรือเรียกอีกอย่างว่า “ผ้าห่มตาโก้ง” เป็นผ้าฝ้ายทอยกดอก สีที่นิยมคือ สีดำ แดง ขาว  ทอให้เกิดเป็นลายตารางสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ลวดลายมีขนาดเล็กสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เป็นการทอที่ยากลายใหญ่ซับซ้อน ราคาแพง ปัจจุบันไม่นิยมใช้ แต่ก็ยังคงมีการทออยู่บ้าง ทางศูนย์ได้นำเอาลวดลายมาประยุกต์ใช้ในผ้าแบบต่างๆ

           ผ้าที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม ตามความเชื่อ เช่น “ผ้าเช็ดหลวง” ลักษณะคล้ายตุง ชาวไทลื้อจะทำผ้าเช็ดหลวงเพื่อถวายเช่นเดียวกับการถวายตุง โดยแขวนไว้ในวิหาร สันนิษฐานว่าโครงสร้างและลวดลายของผ้าเช็ดหลวงนี้ สืบเนื่องมาจากความเชื่อดั้งเดิมของชาวไทลื้อก่อนที่จะมานับถือศาสนาพุทธ และได้นำมาปรับใช้ในพิธีกรรมการถวายทานเป็นพุทธบูชาเพื่ออุทิศให้แก่บรรพบุรุษ “ผ้าจีวรพระเจ้า” หรือ “ผ้ามุณจนะ” ทอถวายเป็นพุทธบูชาในช่วงเทศกาลออกพรรษา และในงานตั้งธรรมเทศน์มหาชาติ

               ภายในห้องจัดแสดงมีวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้าแบบต่างๆ ที่ชาวไทลื้อใช้ และอุปกรณ์ที่นำมาจัดแสดงส่วนใหญ่ ได้มาจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านที่บริจาคให้แก่ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ

28,378 views

2

share