คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

วัดภูมินทร์

วัดภูมินทร์ (ภาพกระซิบรักบันลือโลก)

วัดภูมินทร์ (Wat Phumin) จังหวัดน่าน เดิมชื่อว่าวัด “พรหมมินทร์” สร้างใน พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่าน มีความโดดเด่นกว่าวัดอื่นๆ ตรงที่เป็นวัดทรงจตุรมุขที่เป็นทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร และพระเจดีย์ประธานในอาคารเดียวกัน ซึ่งกรมศิลปากรสันนิษฐานว่าเป็นพระอุโบสถทรงจตุรมุขแห่งแรกในประเทศไทย

สำหรับอุโบสถทรงจตุรมุขนี้ จะเห็นนาค 2 ตัวเอาหลังหนุนบันไดไว้ตามความเชื่อเกี่ยวกับนาคในพระพุทธศาสนาว่า “เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระองค์ได้เสด็จผ่านบันไดแก้วที่เทวดาเนรมิตขึ้นและมีพญานาค 2 ตัวหนุนหลังเอาไว้” โครงสร้างของหลังคาถูกค้ำด้วยเสาไม้สัก 12 ต้น ลงรักปิดทองเคลือบเงาเป็นรูปดอกไม้และช้าง ใจกลางพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย 4 องค์ ประทับนั่งบนฐานชุกชี ปางมารวิชัย ซึ่งพระกรรณ(หู) และพระนาสิก (จมูก) ของพระพุทธรูปได้รับอิทธิพลจากศิลปะลาว หันพระพักตร์ออกไปสู่ประตูทั้งสี่ทิศ หันเบื้องพระปฤษฏางค์(หลัง) ของแต่ละองค์เข้าหากันที่ตรงกลางของพระอุโบสถ

อีกจุดหนึ่งที่น่าใจและควรชี้ชวนกันไปชมคือ จิตรกรรมฝาผนังหรือ “ฮูบแต้ม” ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 3 เรื่อง ได้แก่ พุทธชาดก ตำนานพื้นบ้าน และความเป็นอยู่ของชาวน่านในอดีต ตลอดผนังทั้ง 4 ด้าน วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ. 2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อมนานถึง 7 ปี ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมืองในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ เช่น ภาพของ “ปู่ม่าน ย่าม่าน” ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน ผู้ชายสักหมึก ผู้หญิงแต่งกายไทลื้ออย่างเต็มยศ ภาพวาดของหนุ่มสาวคู่นี้มีความประณีตมาก และได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์ มีการใช้สีแดง ฟ้าดำ น้ำตาลเข้มเป็นปื้นใหญ่ๆ คล้ายภาพสมัยใหม่

วัดภูมินทร์ได้รับเกียรติให้ตีพิมพ์ลงในธนบัตรที่ใช้ในประเทศ สมัยรัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2485) โดยการออกแบบของพระอุโบสถ และพระวิหาร รวมอยู่ในอาคารเดียวกันเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงามและแปลกตาควรคู่กับจังหวัดน่าน

 

ข้อมูลจาก : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร    

ข้อมูลติดต่อ :  โทรศัพท์ 0 2408 7671  www.archae.su.ac.th/

 

20,646 views

0

share

Museum in Nan

02 July 2019
16,088
680
19 November 2019
32,279
721
02 July 2019
3,983
650
02 July 2019
4,214
711
02 July 2019
3,523
385
02 July 2019
6,712
415
16 August 2019
4,253
243